เนื้อหาและการใช้คำสื่ออารมณ์ขันในรายการ “เทยเที่ยวไทย”
คำสำคัญ:
การใช้คำ, อารมณ์ขัน, ภาษาและการสื่อสารบทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งศึกษาเนื้อหาและการใช้คำที่สื่ออารมณ์ขันในรายการเทยเที่ยวไทย ข้อมูลเก็บรวบรวมจากเว็บไซต์ยูทูป (www.youtube.com) ตั้งแต่เดือนมกราคม 2558 ถึงเดือนมีนาคม 2558 รวมจำนวน 13 ตอน ผลการศึกษาพบว่า รายการเทยเที่ยวไทยมีเนื้อหาที่สื่ออารมณ์ขันแบ่งได้ 7 หัวข้อ ได้แก่ เนื้อหาเกี่ยวกับรูปร่างหน้าตา เพศ วัย นิสัย พฤติกรรม ชื่อของบุคคล และสติปัญญา ซึ่งเนื้อหาเหล่านี้สอดคล้องกับประเภทของรายการที่มุ่งเสนอเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับการท่องเที่ยวส่วนการใช้คำพบว่า รายการเทยเที่ยวไทยมีความโดดเด่นด้านการใช้คำต่างๆ มาพลิกแพลงเพื่อให้เกิดอารมณ์ขัน แบ่งได้ 7 ชนิด ได้แก่ การใช้คำคล้องจองการใช้คำพ้อง การใช้คำผวน การใช้คำกำกวม การใช้คำภาษาต่างประเทศ การใช้คำที่ไม่สัมพันธ์กับบริบทและการใช้คำซ้ำ กล่าวได้ว่าเนื้อหาและการใช้คำในรายการเทยเที่ยวไทยสามารถสื่ออารมณ์ขันได้อย่างสอดคล้องและลงตัว จึงส่งผลให้รายการนี้ครองใจผู้ชมติดต่อกันมานาน
References
กาญจนา เจริญเกียรติบวร. (2548). การวิเคราะห์วาทกรรมเรื่องตลกภาษาไทย. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ธิติสรณ์ ศรีธาดา. (2542). การใช้ภาษาในการแสดงตลก : การศึกษาวิเคราะห์. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.
นภัสสรณ์ นาคแก้ว. (2556). การปนภาษาอังกฤษในภาษาไทย : กรณีศึกษาราย การเทยเที่ยวไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2554. กรุงเทพฯ : ศิริวัฒนอินเตอร์พริ้น.
รายการเทยเที่ยวไทย. (2558, วัน เดือน). เกมโชว์แฟนพันธุ์เทย Special [แฟ้มข้อมูล วีดิทัศน์]. จาก http://youtube.com/
รายการเทยเที่ยวไทย. (ม.ป.ป.). พาเที่ยวกาญจนบุรี [แฟ้มข้อมูลวีดิทัศน์]. จาก http://youtube.com/
รายการเทยเที่ยวไทย. (ม.ป.ป.). พาเที่ยวเกาะช้าง [แฟ้มข้อมูลวีดิทัศน์]. จาก http://youtube.com/
รายการเทยเที่ยวไทย. (ม.ป.ป.). พาเที่ยวงานปาร์ตี้ปีใหม่บ้านป๋อมแป๋ม [แฟ้มข้อมูลวีดิทัศน์]. จาก http://youtube.com/
รายการเทยเที่ยวไทย. (ม.ป.ป.). พาเที่ยวชลบุรี [แฟ้มข้อมูลวีดิทัศน์]. จาก http://youtube.com/
รายการเทยเที่ยวไทย. (ม.ป.ป.). พาเที่ยวดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ [แฟ้มข้อมูลวีดิทัศน์]. จาก http://youtube.com/
รายการเทยเที่ยวไทย. (ม.ป.ป.). พาเที่ยวเนเธอร์แลนด์ [แฟ้มข้อมูลวีดิทัศน์]. จาก http://youtube.com/
รายการเทยเที่ยวไทย. (ม.ป.ป.). พาเที่ยวปราจีนบุรี [แฟ้มข้อมูลวีดิทัศน์]. จาก http://youtube.com/
รายการเทยเที่ยวไทย. (ม.ป.ป.). พาเที่ยวมอบผ้าห่มต้านภัยหนาวจังหวัดเลย [แฟ้มข้อมูล วีดิทัศน์]. จาก http://youtube.com/
รายการเทยเที่ยวไทย. (ม.ป.ป.). พาเที่ยวเลย [แฟ้มข้อมูลวีดิทัศน์]. จาก http://youtube.com/
รุ่งอรุณ ฉัตรวิฆเนศ. (2553). ศักยภาพของมุกตลกและอารมณ์ขันในรายการโทรทัศน์. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สฤษดิคุณ กิติยากร. (2550). พจนานุกรมไทย-อังกฤษ (English-Thai Dictionary). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักวิจัยมติชน. (2540). รายงานพิเศษ. มติชนสุดสัปดาห์. 17 (862), 77.
อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์. (2536). อารมณ์ขันในสื่อมวลชน. กรุงเทพฯ : โครงการหนังสือชุดวิจัยและพัฒนานิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Hobbes, T. (1651). Leviathan. (Facsimile ed.). London : Crooke. อ้างถึง ใน กาญจนา เจริญเกียรติบวร. (2548). การวิเคราะห์วาทกรรมเรื่องตลกภาษาไทย. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Morreal, J. (1987). The philosophy of laughter and humor. New York : State University of New York Press.
Suls, J. M. (1972). A Two-stage model for the appreciation of jokes and cartoons : an information-processing analysis”. In Goldstein & McGhee (Eds). The Psychology of Humor, pp. 81-100. อ้างถึง ใน กาญจนา เจริญเกียรติบวร. (2548). การวิเคราะห์วาทกรรมเรื่องตลก ภาษาไทย. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.