กระบวนการสร้างสรรค์ศิลป์ การขับเสภาละคร เรื่อง ขุนช้าง ขุนแผน ตอน ขุนแผนพานางวันทองหนี ภาคภาษาอังกฤษ

ผู้แต่ง

  • นพคุณ สุดประเสริฐ คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

กระบวนการสร้างสรรค์ศิลป์, ขับเสภา, ละครเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนแผนพานางวันทองหนี, ภาคภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง กระบวนการสร้างสรรค์ศิลป์ การขับเสภาละครเรื่อง ขุนช้าง ขุนแผน ตอน ขุนแผนพานางวันทองหนี ภาคภาษาอังกฤษ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสร้างสรรค์ศิลป์ การขับเสภาละครเรื่อง ขุนช้าง ขุนแผน ตอน ขุนแผนพานางวันทองหนี ภาคภาษาอังกฤษและเพื่อศึกษาเชิงวิเคราะห์บทละครเรื่อง ขุนช้าง ขุนแผน ตอน ขุนแผนพานางวันทองหนี ซึ่งผู้วิจัยมีความสนใจและใคร่ที่จะเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการขับเสภาจากวรรณคดีไทยให้ชาวต่างชาติได้รับชมและรับฟังบทบาทเนื้อร้องได้อย่างเข้าใจ โดยจะสร้างสรรค์ในรูปแบบการขับเสภาตอนที่ได้กล่าวมาแปลเป็นภาษาอังกฤษแบบวรรคตอนของกลอนสุภาพ ตามบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 ในมิติทางด้านคีตศิลป์ไทยแบบใหม่ เพื่อเป็นการสร้างสรรค์การขับเสภาในรูปแบบภาษาอังกฤษ เพื่อสามารถนำไปจัดแสดงในต่างประเทศเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทย ให้เป็นที่ยอมรับ และสร้างงานทางด้านศาสตร์คีตศิลป์ไทยของชาติไทย ผลการศึกษา ผู้วิจัยได้สัมภาษณ์ศิลปินแห่งชาติและผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะทาง เพื่อให้ได้ความรู้และแนวทางที่เหมาะสมนำไปใช้ในการสร้างสรรค์งานเป็นบทภาคภาษาอังกฤษ ได้ครบถ้วน แบ่งวรรคคำให้ถูกต้องฉันทลักษณ์กลอนเสภาตามภาษาต้นฉบับ รวมทั้งทำการบันทึกโน้ตและบันทึกเสียง ผลการศึกษาเชิงวิเคราะห์ ผู้วิจัยใช้หลักการแปลแบบตีความร้อยกรอง และใช้หลักการแปล แบบเอาคำและการแปลแบบเอาความโดยได้เลือกใช้การแปลคำแบบตรงตัว มีความหมายแฝง การแปลโดยอิสระ หรือการใช้คำทับศัพท์ซึ่งจะขึ้นอยู่ที่ลักษณะประโยค บทกลอนของภาษาต้นฉบับ

References

นพคุณ สุดประเสริฐ. (2564). QR CODE โน้ตเพลงการขับเสภาละคร เรื่อง ขุนช้าง ขุนแผน ตอน ขุนแผนพานางวันทองหนี ภาคภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

นพคุณ สุดประเสริฐ. (2564). QR CODE ไฟล์เพลงการขับเสภาละครเรื่อง ขุนช้าง ขุนแผน ตอน ขุนแผนพานางวันทองหนี ภาคภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์. (2563). ทฤษฎีเพื่อการวิจัยและสารัตถบทดนตรี. ลพบุรี: นาฏดุริยางค์.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2470). ตำนานเสภา. พระนคร: ไท.

ท้วม ประสิทธิกุล. (2535). ท้วม ประสิทธิกุล. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พ.

วัลยา วิวัฒน์ศร. (2545). การแปลวรรณกรรม. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Larson, M.L. (1998). Meaning-Based Translation: A Guide to Cross-Language Equivalence. USA: University Press of America.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30