ภูมิปัญญาผ้าซิ่นในคุ้มเจ้านายเมืองน่านสู่การพัฒนาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเพื่อการออกแบบสิ่งทอร่วมสมัย

ผู้แต่ง

  • เก่งภักดี กลิ่นเทศ สาขาวิชาศิลปะการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม, คุ้มเจ้านายเมืองน่าน, ภูมิปัญญาผ้าซิ่น, ทอผ้า, สิ่งทอร่วมสมัย

บทคัดย่อ

บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีชีวิต เรื่องราวในคุ้มเจ้านายเมืองน่านที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมการสวมใส่ผ้าซิ่นและภูมิปัญญาในการทอผ้าซิ่นเมืองน่าน มาใช้เป็นแนวทางในการออกแบบลวดลายอัตลักษณ์จากพื้นที่โดยใช้หลักการพัฒนาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในการถอดลักษณะสำคัญเพื่อสื่อสารลายอัตลักษณ์บนผืนผ้าในรูปแบบของสิ่งทอร่วมสมัยบทความวิจัยนี้ ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพผ่านการการศึกษาค้นคว้าและใช้แบบสัมภาษณ์จากการสัมภาษณ์เชิงลึกในการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ ที่เป็นแนวทางและมีผลต่อการศึกษา โดยใช้พื้นที่กรณีศึกษาข้อมูล 3 ส่วน คือ 1. คุ้มเจ้าราชบุตร หมอกฟ้า ณ น่าน 2. วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าบ้านซาวหลวงและ 3. เจ้าของธุรกิจผ้าพื้นเมืองน่านร้านฝ้ายเงิน ผ่านการจำแนกคำสำคัญ คือ 1. เรื่องราวเกี่ยวกับคุ้ม 2. ภูมิปัญญาผ้าซิ่นน่าน และ 3. สิ่งทอร่วมสมัยจนได้กรอบแนวความคิดในการพัฒนาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในรูปแบบของลวดลายบนสิ่งทอร่วมสมัยต้นแบบจากเทคนิคภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่นจากการวาง Concept to design ว่า “น่านนานสื่อกาล ลายมัดก่านสื่อใจ” โดยจัดให้สอดคล้องกับการให้คำนิยาม “ต้นทุนทางวัฒนธรรม” เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาประเด็นองค์ความรู้ที่ก่อให้เกิดภูมิปัญญา คือ 1. ภูมิปัญญาการใช้ผ้าซิ่นในคุ้มเจ้านายเมืองน่าน และ 2.ภูมิปัญญาในวัฒนธรรมการทอผ้าซิ่นเมืองน่านโดยมีปัจจัยในแต่ละด้านที่ก่อให้เกิดภูมิปัญญาเมื่อค้นพบองค์ความรู้จากภูมิปัญญาทั้ง 2 ส่วนโดยมาจากปัจจัยในแต่ละด้าน ส่งผลให้เกิดลักษณะสำคัญที่ถูกนำไปใช้ในการพัฒนาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในการออกแบบสิ่งทอร่วมสมัย โดยแบ่งการพัฒนาการออกแบบเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1. ลวดลายสิ่งทอจากการถอดอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม และ 2. การพัฒนาสิ่งทอร่วมสมัย โดยสิ่งทอร่วมสมัยที่ออกแบบยังคงใช้วัฒนธรรมการทอแบบดั้งเดิมที่สะท้อนเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับคุ้มเจ้านายผ่านลวดลายและดูทันสมัยเหมาะสำหรับสวมใส่ในปัจจุบัน

References

กรกฎ แปงใจ. ตัวแทนวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าบ้านซาวหลวง. (12 มีนาคม 2565). สัมภาษณ์.

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. (2562). โครงการพัฒนามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ้าไทยสู่สากล TAPROOT THAI TEXTILES. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. (2564). THAI TEXTILES TREND BOOK Autumn/Winter 2022-2023. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.

เก่งภักดี กลิ่นเทศ. (2565). กรอบแนวคิดในการวิจัย. กรุงเทพฯ: สาขาศิลปะการออกแบบ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เก่งภักดี กลิ่นเทศ. (ผู้ถ่ายภาพ). (2565). การพัฒนาลายอัตลักษณ์. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ: สาขาศิลปะการออกแบบ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เก่งภักดี กลิ่นเทศ. (ผู้ถ่ายภาพ). (2565). การพัฒนาให้เกิดเป็นสิ่งทอร่วมสมัย. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ: สาขาศิลปะการออกแบบ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เก่งภักดี กลิ่นเทศ. (ผู้ถ่ายภาพ). (2565). การออกแบบลายอัตลักษณ์ลายที่ 7. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ: สาขาศิลปะการออกแบบ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เก่งภักดี กลิ่นเทศ. (ผู้ถ่ายภาพ). (2565). คุ้มเจ้าราชบุตร (หมอกฟ้า ณ น่าน) และตัวอย่างผ้าซิ่นเจ้านาย. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ: สาขาศิลปะการออกแบบ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เก่งภักดี กลิ่นเทศ. (ผู้ถ่ายภาพ). (2565). เครื่องใช้ภายในคุ้ม. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ: สาขาศิลปะการออกแบบ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เก่งภักดี กลิ่นเทศ. (ผู้ถ่ายภาพ). (2565). ตัวอย่างผ้าซิ่นเจ้านายในคุ้มเจ้าราชบุตร. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ: สาขาศิลปะการออกแบบ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เก่งภักดี กลิ่นเทศ. (2565). ตัวอย่างสิ่งทอ ในรูปแบบของเสื้อผ้า สไตล์ Ready to wear. กรุงเทพฯ: สาขาศิลปะการออกแบบ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เก่งภักดี กลิ่นเทศ. (ผู้ถ่ายภาพ). (2565). แนวทางของสี HEAVEN on EARTH. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ: สาขาศิลปะการออกแบบ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เก่งภักดี กลิ่นเทศ. (ผู้ถ่ายภาพ). (2565). ประเภทของผ้าซิ่นเมืองน่าน ในคลังสะสมร้านฝ้ายเงินของคุณเทิดศักดิ์ อินแสง. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ: สาขาศิลปะ การออกแบบ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เก่งภักดี กลิ่นเทศ. (ผู้ถ่ายภาพ). (2565). ผ้าซิ่นมัดก่านเมืองน่านในแต่ละช่วงเวลา. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ: สาขาศิลปะการออกแบบ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เก่งภักดี กลิ่นเทศ. (ผู้ถ่ายภาพ). (2565). ลักษณะของลายก่านที่ใช้ตกแต่งในโครงสร้างของผ้าซิ่น. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ: สาขาศิลปะการออกแบบ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เก่งภักดี กลิ่นเทศ. (ผู้ถ่ายภาพ). (2565). ส่วนต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกคุ้มเจ้าราชบุตร. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ: สาขาศิลปะการออกแบบ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เก่งภักดี กลิ่นเทศ. (ผู้ถ่ายภาพ). (2565). Mood board แนวทางการถอดอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ: สาขาศิลปะการออกแบบมหาวิทยาลัยศิลปากร.

เทิดศักดิ์ อินแสง. เจ้าของธุรกิจผ้าพื้นเมืองน่าน ร้านฝ้ายเงิน. (13 มีนาคม 2565). สัมภาษณ์.

ปองขวัญ สุขวัฒนา ลาซูส. (2555). 183 มรดกสถาปัตยกรรมในประเทศไทยเล่ม 2: 1 ทศวรรษรางวัลอนุรักษ์ดีเด่น 2546-2555. กรุงเทพฯ: สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์.

ภาณุรังษี เดือนโฮ้ง และวาณี อรรจน์สาธิตคำ. (2557). นครน่านเมืองเก่าที่มีชีวิต: อัตลักษณ์ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].

ภูเดช แสนสา. (2558). ประวัติศาสตร์เมืองน่าน. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

วิถี พานิชพันธ์. (2547). ผ้าและสิ่งถักทอไท. กรุงเทพฯ: ซิลค์เวอร์ม.

สมปรารถนา ณ น่าน. เจ้าของและผู้ดูแลคุ้มเจ้าราชบุตร. (11 มีนาคม 2565). สัมภาษณ์.

สวาท ณ น่าน. (2538). ทำเนียบต้นวงศ์ตระกูล ณ น่าน. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

Susan Conway. (2002). SILKEN THREADS LACQUER THRONES Lan Na Court Textiles. Bangkok: River Books.

Wikipedia. (2564). เจ้าโคมทอง ณ น่าน. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2565, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/เจ้าโคมทอง_ณ_น่าน

Wikipedia. (2564). เจ้าราชบุตร (หมอกฟ้า ณ น่าน). สืบค้น 22 มกราคม 2565, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/เจ้าราชบุตร_(หมอกฟ้า_ณ_น่าน)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30