การถ่ายทอดนาฏกรรมโขนผ่านเทคโนโลยีสู่สถานศึกษา
คำสำคัญ:
การถ่ายทอด, เทคโนโลยี, นาฏกรรมโขน, สถานศึกษาบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง การถ่ายทอดนาฏกรรมโขนผ่านเทคโนโลยีสู่สถานศึกษา ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 3 ข้อ คือ 1.เพื่อถ่ายทอดความรู้การฝึกหัดการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นางลอย โดยใช้เทคโนโลยีช่วยสอนในรายวิชานาฏศิลป์ให้กับนักเรียนโรงเรียนวัดเศวตฉัตร 2.เพื่อจัดการเรียนการสอนวิชานาฏศิลป์โดยใช้สื่อการสอนมัลติมีเดียในระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 1-6 3.เพื่อส่งเสริม อนุรักษ์ เผยแพร่ การแสดงโขนและปลูกจิตสำนึกความเป็นไทยให้กับนักเรียนโรงเรียนวัดเศวตฉัตรและเยาวชนโดยรอบ ผลการวิจัยพบว่า 1.การถ่ายทอดความรู้การฝึกหัดการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ตอน นางลอย โดยใช้เทคโนโลยีช่วยสอนวิชานาฏศิลป์ให้กับนักเรียนโรงเรียนวัดเศวตฉัตร มีกระบวนการถ่ายทอดแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 เล่าเรื่องรามเกียรติ์ ตอนนางลอย ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้นักเรียนได้ทราบเรื่องราวโดยย่อ ขั้นที่ 2 แนะนำตัวละคร เรื่องรามเกียรติ์ ตอน นางลอย ผ่านการ์ตูนแอนิเมชั่น ขั้นที่ 3 ฝึกปฏิบัติท่าโขน เบื้องต้นจำนวน 7 ท่า และฝึกท่าตัวพระ ตัวนาง ตัวยักษ์ ตัวลิง ผ่านการ์ตูนแอนิเมชั่น และขั้นที่ 4 แสดงผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนหลังจากได้รับการถ่ายทอด โดยใช้เทคโนโลยี 2. การจัดการเรียนการสอนวิชานาฏศิลป์โดยใช้สื่อการสอนมัลติมีเดียระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 1-6 แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 จัดการเรียนการสอนให้กับระดับประถมศึกษาปีที่ 1-3 โดยใช้สื่อการสอนมัลติมิเดีย เรื่องการฝึกปฏิบัติท่าโขนเบื้องต้น 7 ท่า เพื่อมุ่งพัฒนาทักษะทางร่างกาย อารมณ์และจิตใจ ส่วนที่ 2 จัดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษา ปีที่ 4-6 โดยใช้สื่อการสอนมัลติมีเดีย เรื่องการฝึกปฏิบัติท่าโขนเบื้องต้น จำนวน 7 ท่า และการฝึกท่าตัวพระ ตัวนาง ตัวยักษ์ ตัวลิง มุ่งพัฒนาทักษะทางสติปัญญา ได้แก่ ความรู้ และความจำและ 3.เมื่อนักเรียนโรงเรียนวัดเศวตฉัตรและเยาวชนโดยรอบได้รับการฝึกหัดการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นางลอย ของกรมศิลปากร โดยใช้เทคโนโลยีช่วยสอนวิชานาฏศิลป์แล้วทำให้นักเรียนได้รับความรู้และเป็นส่วนหนึ่ง ในการส่งเสริม อนุรักษ์ เผยแพร่ การแสดงโขนและปลูกจิตสำนึกความเป็นไทยได้อย่างเข้าใจมากยิ่งขึ้น โดยจะเห็นได้จากการแสดงผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้น ผลการตอบแบบสอบถามก่อนและหลังได้รับการถ่ายทอดด้วยเทคโนโลยี พบว่า คะแนนหลังได้รับการถ่ายทอดสูงกว่าคะแนนก่อนได้รับการถ่ายทอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลของแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน หัวข้อ การแสดงโขน ตัวละคร บทบาทหน้าที่ ปรัชญาแนวคิด และคุณค่าในเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นางลอย อยู่ในระดับดีมาก (x̅ = 4.35, S.D. = 0.42) และผลของแบบสอบถามความคิดเห็นของอาจารย์หัวข้อ การแสดงโขน ตัวละคร บทบาทหน้าที่ ปรัชญาแนวคิด และคุณค่า ในเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นางลอย อยู่ในระดับดีมาก (x̅ = 4.23, S.D. = 0.87)
References
ธนิต อยู่โพธิ์. (2534). โขน. กรุงเทพฯ : สถาบันไทยคดีศึกษา.
พรพิไล เลิศวิชา. (2544). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับดนตรีตะวันตก กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.