องค์ประกอบเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าชุมชนโดยใช้ข้อมูลภูมิศาสตร์ ของอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
ข้อมูลภูมิศาสตร์, องค์ประกอบเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์, สินค้าชุมชนบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของผลการศึกษาวิจัย เรื่อง การออกแบบเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าชุมชน โดยใช้ข้อมูลภูมิศาสตร์ กรณีศึกษา จังหวัดนครราชสีมา โดยใช้อำเภอสูงเนินเป็นพื้นที่กรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อหากลยุทธ์การนำเสนอที่เหมาะสมและหาแนวทางในการออกแบบเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าชุมชน โดยใช้ข้อมูลภูมิศาสตร์ การดำเนินงานวิจัยเป็นการศึกษาวรรณกรรม สังเคราะห์ข้อมูลและการเก็บข้อมูลสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลภูมิศาสตร์ที่เป็นกลยุทธ์ในการนำเสนอได้มีสองมิติคือ ภูมิศาสตร์กายภาพและภูมิศาสตร์มนุษย์ จากข้อมูลทั้งสองมิตินำไปแปรเปลี่ยนเป็นองค์ประกอบหลักทางเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ สร้างเครื่องมือสัมภาษณ์และเกณฑ์การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ประกอบด้วย หลักการใช้สี ตัวอักษร รูปภาพ และลวดลายที่มีความเหมาะสม จากการวิเคราะห์ข้อมูลภูมิศาสตร์ที่ปรากฏ จึงได้ผลของงานวิจัยออกมาเป็นองค์ประกอบเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ที่สอดคล้องกับการประยุกต์ข้อมูลภูมิศาสตร์ของอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา สามารถนำไปใช้ในการออกแบบเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าชุมชนได้ต่อไป
References
เกศทิพย์ กรี่เงิน, สมภพ สุวรรณรัฐ และสุวรรณา นาควิบูลย์วงศ์. (2561, มกราคม - เมษายน). ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทผ้า เครื่องแต่งกายของผู้บริโภค. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(1), 183 - 198.
เกษม กุณาศรี และคณะ. (2560, มกราคม - เมษายน). การเลือกเอกลักษณ์ท้องถิ่นสำหรับพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน: กรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านห้วยชมพู. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์) มหาวิทยาลัยนเรศวร, 10(4), 86 - 97.
จิตพนธ์ ชุมเกตุ. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการจัดการชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชนไทยมุสลิม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. (งานวิจัยสนับสนุนทุนจากคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประจำปีงบประมาณ 2560).
ปฐวี ศรีโสภา. (2553). การสร้างอัตลักษณ์ชุมชนในงานออกแบบบรรจุภัณฑ์อาหารกรณีศึกษา จังหวัดสมุทรสงคราม. [วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].
พรพิมล ศักดา และบวร เครือรัตน์. (2561). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทของใช้จากวัสดุธรรมชาติ ของกลุ่มอาชีพเสริมบ้านสุขเกษมตำบลยางเลน อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. (งานวิจัยสนับสนุนงบประมาณโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ตุลาคม 2560 – กันยายน 2561)
พรรณิภา ซาวคำ และคณะ. (2561, มกราคม - เมษายน). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อเข้าสู่ตลาดธุรกิจโรงแรม จังหวัดเชียงราย. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(1), 165 - 182.
ภัทรพร เย็นบุตร. (2561). การคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน: ศึกษาตามความตกลงทริปส์. [ดุษฎีนิพนธ์นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์].
วัลย์ลดา พรมเวียง. (2561). การสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนของหมู่บ้านสารสนเทศต้นแบบบ้านคลองทรายใน ICT 418 KL YALA. (งานวิจัยรับทุนอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน ประจำปี 2561).
Hu, W., Battle, M. T., Woods, T., & Ernst, S. (2012). Consumer preferences for local production and other value-added label claims for a processed food product. EuropeanReview of Agricultural Economics, 39(3), 489 – 510.
Lundqvist, A., Liljander, V., Gummerus, J., & van Riel. A. (2013). The impact of storytelling on the consumer brand experience: The case of a firm-originated story. Journal of Brand Management, 20(4), 283 – 297.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.