การออกแบบอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกในชุมชนแขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ประยงค์ อ่อนตา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • จุฬาลักษณ์ จารุจุฑารัตน์ สาขาวิชาออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • วชิรศักดิ์ เขียนวงศ์ สาขาวิชาออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ธีร์วรา บวชชัยภูมิ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

อัตลักษณ์, ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก, การออกแบบ

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลเกี่ยวกับชุมชนแขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี และสำรวจความต้องการของผู้บริโภค 2) ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกสำหรับชุมชนแขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี 3) ประเมินความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก ที่ได้ทำการออกแบบกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คนใน 9 ชุมชนของแขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี ใช้วิธีการวิจัยเข้าสัมภาษณ์เจาะลึก สนทนากลุ่ม สังเกตแบบมีส่วนร่วม พบว่า ชุมชนได้เล็งเห็นความสำคัญการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก ที่มีอัตลักษณ์ มีเรื่องเล่าของผลิตภัณฑ์ ทำให้สิ่งนั้นเป็นที่รู้จักและจดจำได้ คณะผู้วิจัยได้ออกแบบผลิตภัณฑ์เสื้อ ถุงผ้า แก้วน้ำและหมวก เน้นส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนได้อัตลักษณ์เฉพาะชุมชน เพื่อเพิ่มมูลค่าความสวยงาม ก่อให้เกิดเศรษฐกิจชุมชนด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในการต่อยอดภูมิปัญญา ชุมชน ช่วยยกระดับความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นและเพิ่มองค์ความรู้ที่สามารถ นำไปต่อยอดประยุกต์กับผลิตภัณฑ์อื่นได้ สรุปผลการออกแบบผลิตภัณฑ์ ของที่ระลึกด้านหน้าที่ใช้สอย ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ผลิตภัณฑ์มีประโยชน์ใช้สอยเหมาะสมกับการใช้งาน ปลอดภัยไม่อันตรายต่อผู้ใช้งาน ด้านความงาม อยู่ในระดับมาก ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกสามารถสื่อถึงอัตลักษณ์ชุมชนชัดเจน ความโดดเด่นเหมาะสมกับสมัยนิยม ด้านการตลาด มีค่าความพึงพอใจมาก ด้านกระบวนการผลิตไม่ยากและซับซ้อน สามารถผลิตได้ในระดับชุมชนและเชิงพาณิชย์ มีความเหมาะสมด้านราคาจำหน่ายและ
วัสดุหาง่ายในท้องถิ่น

References

กรุงเทพมหานคร. สำนักงานเขตธนบุรี. (2565). 9 ชุมชนในแขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี. สืบค้น 18 สิงหาคม 2565. https://webportal.bangkok.go.th.

ธีรยุทธ พึ่งเทียร. (2543). สถิติเบื้องต้นและการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). สูตรไพศาล.

เสาวณี จุลิรัชนีกร และคณะ. (2547). การพัฒนาหลักสูตรการจัดการเพื่อความยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชน. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วชิรศักดิ์ เขียนวงศ์ และคณะ. [ผู้ถ่ายภาพ]. (2564). ผลิตภัณฑ์จำนวน 4 ประเภทของชุมชนบางไส้ไก่บ้านสมเด็จ. [ภาพถ่าย]. สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

วชิรศักดิ์ จุฬาลักษณ์. (2564). การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกสำหรับชุมชนแขวงหิรัญรูจี. ผู้แต่ง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-07