การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อผู้บริโภคสูงวัย

ผู้แต่ง

  • กุลนิษก์ สอนวิทย์ คณมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

การออกแบบ, บรรจุภัณฑ์, ผู้บริโภคสูงวัย

บทคัดย่อ

ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างสมบูรณ์ เนื่องจากมีจำนวนประชากรที่เป็นผู้สูงวัยมากขึ้น ซึ่งผู้สูงวัยเหล่านี้ต้องเผชิญกับสภาวะการเสื่อมสมรรถภาพทางกาย ทั้งปัญหาความเสื่อมของข้อและปัญหาเกี่ยวกับสายทำให้กำลังในการหยิบจับสิ่งของและความสามารถในมองเห็นลดลง อาการดังกล่าวยังก่อให้เกิดปัญหาในการใช้บรรจุภัณฑ์ของผู้สูงวัยอีกด้วย ดังนั้นผู้ประกอบการจึงควรให้ความสำคัญกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์สินค้าให้สอดคล้องกับศักยภาพทางกายที่ลดลงของผู้สูงวัย จากการศึกษาแนวทางการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อผู้บริโภคสูงวัย สรุปได้ การออกแบบด้านโครงสร้าง ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อความสามารถในการใช้มือของผู้สูงวัย โดยคำนึงถึงความสัมพันธ์ในการใช้งาน ด้วยการมีรูปทรงที่สะดวกในการจับถือ การยกเท ไม่ลื่นหลุดมือ มีน้ำหนักเบา มีขนาดเหมาะสมกับปริมาณการใช้ มีการเปิด – ปิดที่ง่าย ส่วนการออกแบบด้านกราฟิก ควรคำนึงถึงความสามารถในการใช้สายตาของผู้สูงวัย ด้วยการใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่ มีความหนามีรูปแบบที่เป็นทางการ มีสีแตกต่างจากสีของพื้นภาพ ใช้ภาพประกอบที่เป็นภาพถ่ายหรือภาพวาดเหมือนจริง สีของบรรจุภัณฑ์ควรเป็นสีของผลิตภัณฑ์หรือวัตถุดิบที่ใช้ และมีการแสดงข้อมูลของสินค้าอย่างชัดเจน โดยอาจใช้ข้อความหรือสัญลักษณ์ที่เป็นสากล ทั้งนี้เพื่อเอื้ออำนวยให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินค้าที่เหมาะสมกับตนเองและสามารถใช้งานได้อย่างสะดวก

References

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. สำนักพัฒนาการค้าและธุรกิจไลฟ์สไตล์. (2559). สรุปการสัมมนาหัวข้อ แนวโน้มการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุในญี่ปุ่น. ค้นเมื่อ 7 มกราคม 2561. จาก http://www.60plusthailand.com/th/news

กันยาพร กุณฑลเสพย์. (2553). ศึกษาและออกแบบฉลากบรรจุภัณฑ์ยาเพื่อสื่อสารสำหรับผู้สูงอายุตามแนวคิดออกแบบเพื่อมวลชน. ว.ศิลปกรรมบูรพา. 13(1), 111 - 121.

กุลนิษก์ สอนวิทย์. (2550). การศึกษาแนวทางการออกแบบเลขนศิลป์บนบรรจุภัณฑ์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

กุลนิษก์ สอนวิทย์. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนใช้กระบวนการเรียนรู้ด้วยทฤษฎีการคิดนอกกรอบของเดอ โบโน ในวิชาการออกแบบเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนิสิตนักศึกษา สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ระดับปริญญาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

ทินวงษ์ รัก อิสสระกุล. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแนวคิดการออกแบบบรรจุภัณฑ์อย่างเป็นสากล (Universal Design). (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ปราโมทย์ ประสาทกุล. (ม.ป.ป.). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2559. ค้นเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2561. From http://resource.thaihealth.or.th/library/musthave/16626

พรศิริ จงกล. (2557). รายงานผลการวิจัย เรื่องการออกแบบฉลากวันหมดอายุของอาหารสำหรับผู้สูงอายุ โดยใช้หลักวิศวกรรมปัจจัยมนุษย์. นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

พลธรรม ม่วงเทศ. (2552). การออกแบบเลขนศิลป์บนบรรจุภัณฑ์สำหรับผู้บริโภคที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางธรรมชาติและสมุนไพร. ปริญญานิพนธ์ศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พัชรี บอนคำ. (ม.ป.ป.). ผู้สูงอายุกับ 5 โรคฮิต. ค้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2561. จาก http://www.thaihealth.or.th/Content/37137

พิมพ์ปราโมทย์ อุไรวงค์. (2005). 50+ The Fifty – Plus Market. I – Design. 37(3), 46 - 49.

พิมพ์ปราโมทย์ อุไรวงค์. (2018). โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ. ค้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2561. จาก https://eldercarenow.net/

วัชราธร เพ็ญศศิธร. (2556). การออกแบบเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าสะดวกซื้อเพื่อผู้บริโภคสูงอายุ. ปริญญานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วันทนา เอี่ยมเจริญ. (2551). การออกแบบฉลากบรรจุภัณฑ์ยาเพื่อการสื่อสารสำหรับผู้ที่มีสายตาเลือนราง. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สถาบันพลาสติก. (2556). รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาแนวทางการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อรองรับการขยายตัวในภูมิภาคอาเซียน. กรุงเทพฯ : สถาบันพลาสติก.

สถาบันพลาสติก. (ม.ป.ป.). สังคมผู้สูงวัย : นัยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ. ค้นเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2561. จาก http://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sec/ Lom12/05-03.html

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). จำนวนและสัดส่วนของผู้สูงอายุไทยในภาพรวม. ค้นเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2561. จาก http://www.dop.go.th/th/know/1/45

สุกฤตา หิรัณยชวลิต. (กันยายน 2560 – ธันวาคม 2560). การศึกษาและพัฒนาแนวทางการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับผู้สูงวัยกรณีศึกษาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อการป้องกันและรักษาอาการข้อเสื่อม. Veridian E - Journal, Silpakorn University. 10(3). 390 – 412.

สุทธาภา อมรวิวัฒน์ และคณะ. (2558). ผ่ากลยุทธ์ธุรกิจพิชิตวัยเกษียณ. ค้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2561. จาก https://www.scbeic.com/th/detail/file/product/1375/e4hwh2n6ry/EIC_insight_Thai_aging_Q2_2015.pdf

อนงค์นาฎ วรรณจิตจรูญ. (2556). การศึกษาและพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มประเภทกล่องตามแนวคิดการออกแบบเพื่อมวลชน สำหรับผู้ที่มีภาวะสายตาเลือนราง. ปริญญานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการออกแบบ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Cordal design. (n.d.). Yi Hu Chou Jiu. Retrieved 13 May 2018. From https://www.packagingoftheworld.com/2018/04/yi-hu-chou-jiu.html

Dragon Rouge Agency. (2014). Philadelphia Cream Cheese. Retrieved 13 May 2018. From http://www.thedieline.com/blog/2014/9/15/philadelphia-cream-cheese-re-design

Fabura branding studio. (n.d.). DARIDA AQUA. Retrieved 13 May 2018. From http://fabulabranding.com/portfolio/potrebitelskiy-brending/darida-aqua/

Hasselbusch, I. (2016). VitaGurt. Retrieved 13 May 2018. From http://www.thedieline.com/ blog/2016/4/11/vitagurt

Prompt Partners. (n.d.). GrabThai. Retrieved 13 May 2018. From https://promptpartners.asia/work.php

Prompt Partners. (n.d.). Tantan. Retrieved 13 May 2018. From https://promptpartners. asia/work.php

Twomatch! design studio. (n.d.). Cellfactor. Retrieved 13 May 2018. From https://www.twomatch.gr/portfolio-item/cellfactor/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-30