การสร้างชุดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญเรื่องควายไทยสำหรับผู้เรียนชาวจีน

ผู้แต่ง

  • จันทิภา กบิลโรจน์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ผกาศรี เย็นบุตร คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

การพัฒนาชุดการเรียนรู้, ทักษะการอ่านภาษาไทย, ผู้เรียนชาวจีน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างชุดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ เรื่องควายไทยสำหรับผู้เรียนชาวจีน 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของเครื่องมือตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 75/75 และ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาชาวจีนระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 วิชาเอกภาษาไทย ผลการวิจัยพบว่า ได้ชุดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ เรื่องควายไทย สำหรับผู้เรียนชาวจีนที่มีประสิทธิภาพ E1/E2 = 86.9/85.2 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

References

กิตติ กุบแก้ว. (2553). ภูมิปัญญา การคัดเลือกควายไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556, มกราคม - มิถุนายน). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(1), 7-20.

นวลทิพย์ เพิ่มเกษร. (2547, พฤศจิกายน). การสอนภาษาและวัฒนธรรมไทยแก่ชาวต่างประเทศ. วรรณวิทัศน์. 4, 268-278.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2556). วิจัยการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พวงพรรณ ภู่ขำ. (2561). ทำไมเด็กจีนฮิตเดินทางมาเรียนเมืองไทย?. สืบค้น 8 ตุลาคม 2561. จาก https://voicetv.co.th/read/SJGl_0IIM.

ศรีวิไล พลมณี. (2544). พื้นฐานการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ = (Foundations of Teaching as a Foreign Language). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภัทรา อักษรานุเคราะห์. (2532). การสอนทักษะทางภาษาและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสาวลักษณ์ รัตนวิชช์. (2531). เอกสารคำสอนหลักสูตรและการสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาควิชาหลักสูตรและการสอนมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30