การศึกษาวาทกรรมความรักชาติในแบบเรียนวิชากิจกรรมกลุ่มยุวชนแนวหน้าภายใต้การปกครองของประธานาธิบดีสีจิ้นผิง

ผู้แต่ง

  • วุฒิพงษ์ ประพันธมิตร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • สุรสิทธิ์ อมรวรณิชศักดิ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

วาทกรรม, ความรักชาติ, แบบเรียน, กิจกรรมกลุ่มยุวชนแนวหน้า

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มุ่งรวบรวมและวิเคราะห์วาทกรรมความรักชาติในแบบเรียนวิชากิจกรรมกลุ่มยุวชนแนวหน้าภายใต้การปกครองของประธานาธิบดีสีจิ้นผิง ผลการวิจัยพบว่า แบบเรียนวิชากิจกรรมกลุ่มยุวชนแนวหน้า สะท้อนความพยายามของรัฐในการสร้างความรักชาติผ่านการเรียบเรียงเนื้อหาที่สอดแทรกวาทกรรมความรักชาติทั้งสิ้น 4 วาทกรรมหลัก ได้แก่ วาทกรรมยืนหยัดในระบอบสังคมนิยม ที่บ่มเพาะให้เยาวชนอยู่ภายใต้ระบอบสังคมนิยมและปฏิบัติตนตามค่านิยมหลักสังคมนิยม วาทกรรมเชื่อฟังและเดินตามรอยพรรคคอมมิวนิสต์ สร้างค่านิยมเชื่อฟังการชี้นำของผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ มีส่วนร่วมพัฒนาโครงการและนโยบายของรัฐ วาทกรรมตามรอยแบบอย่างบุคคลสำคัญ หล่อหลอมการตามรอยแบบอย่างค่านิยมบุคคลในประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์ และวาทกรรมเชิดชูจิตวิญญาณความเป็นจีน สร้างความรักและหวงแหนในขนบธรรมเนียมประเพณี รวมถึงการแสดงอัตลักษณ์ความเป็นชาติภายใต้กรอบความเป็นสังคมนิยม ทั้งนี้ การสร้างวาทกรรมดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงการเรียก ความศรัทธาจากพลเมืองในชาติที่มีต่อพรรคคอมมิวนิสต์ อันเนื่องมาจากการเกิดวิกฤตการลดลงของอัตราการเติบโตการสมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์เป็นผลให้รัฐสร้างวาทกรรมเพื่อเป็นเครื่องมือในการบ่มเพาะค่านิยมความรักชาติ ความศรัทธา เชิดชูลัทธิสังคมนิยมแบบมีอัตลักษณ์จีน เชื่อฟังการชี้นำของผู้นำประเทศและเดินตามเส้นทางของพรรคคอมมิวนิสต์

References

เจิ้งเชียน. (2561). ประเทศจีนบนเส้นทางสังคมนิยม. กรุงเทพฯ: แสงดาว.

วิทยาลัยภาษาจีนปักกิ่ง, มหาวิทยาลัยครูหนานจิง, มหาวิทยาลัยครูอันฮุย. (2550). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเทศจีน. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

วิภาวรรณ สุนทรจาม. (2560). ปกิณกะการเมืองจีน. กรุงเทพฯ: ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สวี กุ้ยเซียง. (2562). โครงสร้างทฤษฎีสังคมนิยมอัตลักษณ์จีน. กรุงเทพฯ: แสงดาว.

สามชาย ศรีสันต์. (2561). ว่าด้วยการวิเคราะห์วาทกรรมแนววิพากษ์: บทศึกษาวิเคราะห์วาทกรรมการพัฒนา/หลังการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สมมุติ.

เอลิซาเบท อีโคโนมี. (2561). การปฏิวัติครั้งที่สามสู่ แผ่นดินจีนยุคใหม่ ภายใต้ผู้นำตลอดกาล สีจิ้นผิง. กรุงเทพฯ: เกรทไอเดีย.

Anita, P. (2016). The personality cult of Stalin in Soviet posters. Australia: The Australian National University Press.

Dong, Xiangqian. (2018). Research on patriotism education from the perspective of the Core Values of Chinese Socialism. Changchun: Northeast Normal University Press. (董向前《社会主义核心价值观视域下的爱国主义教育研究》, 长春 :东北师范大学出版社,2018年版。)

China Young Pioneers National Working Commission. (2017). Young Pioneers’ Activities Grade 2-A. Beijing: China children’s press. (中国少年先锋队全国工作委员会《少先队活动 二年级上册》, 北京 :中国少年儿童出版社, 2017年版。)

China Young Pioneers National Working Commission. (2017). Young Pioneers’ Activities Grade 3-A. Beijing: China children’s press. (中国少年先锋队全国工作委员会《少先队活动 三年级上册》, 北京 :中国少年儿童出版, 2017 年版。)

China Young Pioneers National Working Commission. (2018). Young Pioneers’ Activities Grade 1-A. Beijing: China children’s press. (中国少年先锋队全国工作委员会《少先队活动 一年级上册》, 北京 :中国少年儿童出版社, 2018 年版。)

China Young Pioneers National Working Commission. (2018). Young Pioneers’ Activities Grade 1-B. Beijing: China children’s press. (中国少年先锋队全国工作委员会《少先队活动 一年级下册》, 北京 :中国少年儿童出版社, 2018年版。)

China Young Pioneers National Working Commission. (2018). Young Pioneers’ Activities Grade 3-B. Beijing: China children’s press. (中国少年先锋队全国工作委员会《少先队活动 三年级下册》, 北京 :中国少年儿童出版社, 2018年版。)

China Young Pioneers National Working Commission. (2018). Young Pioneers’ Activities Grade 4-B. Beijing: China children’s press. (中国少年先锋队全国工作委员会《少先队活动 四年级下册》, 北京 :中国少年儿童出版社,2018年版。)

China Young Pioneers National Working Commission. (2018). Young Pioneers’ Activities Grade 5-B. Beijing: China children’s press. (中国少年先锋队全国工作委员会《少先队活动 五年级下册》, 北京 :中国少年儿童出版社, 2018年版。)

Communist Party of China. (2017). China’s Communist Party Members (by the end of 2017). Retrieved May 4, 2019. http://news.12371cn/2018/06/30/ARTI153 0340432898663.shtml

Fairclough, N. (1989). Language and power. London: Longman. อ้างใน สามชาย ศรีสันต์. (2561). ว่าด้วยการวิเคราะห์วาทกรรมแนววิพากษ์: บทศึกษาวิเคราะห์วาทกรรมการพัฒนา/หลังการพัฒนา.กรุงเทพฯ: สมมุติ.

Fairclough, N. (1992). Discourse and Social Change. Cambridge: Polity. อ้างใน สามชาย ศรีสันต์. (2561). ว่าด้วยการวิเคราะห์วาทกรรมแนววิพากษ์: บทศึกษาวิเคราะห์วาทกรรมการพัฒนา/หลังการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สมมุติ.

Fairclough, N. (1995). Media Discourse. London: Arnold. อ้างใน ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2556). วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ตามแนวภาษาศาสตร์: แนวคิดและการนำมาศึกษาในวาทกรรมในภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Fairclough, N. (2003). Analyzing discourse: Textual analysis for social research. London: Psychology Press. อ้างใน สามชาย ศรีสันต์. (2561). ว่าด้วยการวิเคราะห์วาทกรรมแนววิพากษ์: บทศึกษาวิเคราะห์วาทกรรมการพัฒนา/หลังการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สมมุติ.

Gu, Weilie. (2013). Introduction to Chinese Culture. Shanghai: East China Normal University Press. (顾伟列《中国文化通论》,上海 :华东师范大学出版社,2013年版)

Office of the National Youth Work Committee. (2017). Notice on using the young pioneers’ activities textbooks. Retrieved May 31, 2019. From http://www.sohu.com/a/1 45974830 _787153

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30