ความเข้าใจคำกริยาในภาษาไทยของเด็กพิเศษกลุ่มดาวน์ซินโดรม

ผู้แต่ง

  • ศุภาวีร์ บุญเสวก คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • สมชาย สำเนียงงาม คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • สุวัฒนา เลี่ยมประวัติ -

คำสำคัญ:

ความเข้าใจ, คำกริยา, เด็กพิเศษ, ดาวน์ซินโดรม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้าใจคำกริยาของเด็กพิเศษกลุ่มดาวน์ซินโดรม โดยเก็บข้อมูลจากเด็กพิเศษกลุ่มดาวน์ซินโดรมจำนวน 5 คน จากศูนย์การเรียนรู้พิเศษประภาคารปัญญา ตลิ่งชัน ด้วยบัตรภาพคำกริยา 100 ภาพ จำนวน 100 คำ ซึ่งแบ่งออกเป็นหมวดร่างกาย สังคม และอารมณ์ ผลการวิจัยพบว่า เด็กพิเศษกลุ่มดาวน์ซินโดรมมีความเข้าใจคำกริยาทั้ง 3 หมวด ได้แก่ หมวดร่างกาย สังคม และอารมณ์ นอกจากนี้ยังพบว่า เด็กพิเศษกลุ่มดาวน์ซินโดรมมีความเข้าใจคำกริยาหมวดสังคมมากที่สุด รองลงมาคือ หมวดร่างกาย และหมวดอารมณ์ตามลำดับ

References

ชลธิชา บำรุงรักษ์ และนันทนา รณเกียรติ. (2558). “ภาษาคืออะไร” ใน ดียู ศรีนราวัฒน์ และชลธิชา บำรุงรักษ์ (บ.ก.)., ภาษาและภาษาศาสตร์ (น. 1-14). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นววรรณ พันธุเมธา. (2565). ไวยากรณ์ไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 9). โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มุกดา ศรียงค์ และคณะ. (2539). จิตวิทยาทั่วไป. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วราภรณ์ วิไลนาม. (2539). ความสามารถในการพูดคำกริยาของเด็กที่มีอายุ 3 ปี ถึง 4 ปี 11 เดือน ในเขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล].

ศรียา นิยมธรรม. (2540). พัฒนาการทางภาษา. แว่นแก้ว.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2546). จิตวิทยาเด็กที่มีลักษณะพิเศษ. หมอชาวบ้าน.

สิริอร วิชชาวุธ. (2554). จิตวิทยาการเรียนรู้. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อุบลรัตน์ เพ็งสถิตย์. (2542). จิตวิทยาพัฒนาการ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-11