มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมสารป้องกันแสงแดดที่เป็นพิษต่อแนวปะการัง

ผู้แต่ง

  • ลลิดา ไชยมงคล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ
  • เขตไท ลังการ์พินธุ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ

คำสำคัญ:

สารป้องกันแสงแดด, ครีมกันแดดที่เป็นพิษต่อปะการัง, ปะการังฟอกขาว

บทคัดย่อ

สารป้องกันแสงแดดคือสารที่ใช้ทำหน้าที่ปกป้องร่างกายจากอันตรายที่เกิดจากรังสีอัลตราไวโอเลตเพื่อวัตถุประสงค์ในการป้องกันการทำลายเซลล์ผิวจากรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดดซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการสร้างเม็ดสีในชั้นผิวหนังกำพร้าและการเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง แต่ผู้บริโภคส่วนใหญ่อาจไม่ทราบว่าการใช้สารป้องกันแสงแดดนั้นอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อแนวปะการังตามมาได้เนื่องจากสารเคมีเหล่านั้นทำลายตัวอ่อนปะการัง ขัดขวางระบบสืบพันธุ์และทำให้ปะการังฟอกขาว จากการศึกษามาตรการทางกฎหมายของไทยยังไม่พบว่ามีมาตรการทางกฎหมายที่ใช้ในการจัดการกับสารป้องกันแสงแดดที่เป็นอันตรายต่อแนวปะการังโดยตรง ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนขอเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่จะนำมาตรการทางกฎหมายมาเป็นเครื่องมือในการควบคุมสารป้องกันแสงแดด โดยอาจนำมาตรการทางกฎหมายของต่างประเทศมาเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาหรือต้นแบบในการกำหนดมาตรการทางกฎหมายปรับใช้ให้มีความสอดคล้องกับสภาพปัญหาและสภาพสังคมของประเทศไทย โดยควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2558 กำหนดให้เป็นสารต้องห้ามและควบคุมการผลิตและจำหน่ายสารป้องกันแสงแดดที่เป็นพิษต่อปะการัง และกำหนดให้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารป้องกันแสงแดดที่เป็นพิษต่อปะการังเป็นสินค้าต้องห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักร ภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ 2522

References

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2564). กรมทะเลประกาศสนับสนุนห้ามทาครีมกันแดดอันตรายเล่นน้ำในแนวปะการัง. สืบค้น 10 สิงหาคม 2564. https://www.dmcr.go.th/detailAll/52303/nws/22.

ณัชชา สุขะวัธนกุล และภานุพงศ์ เฉลิมสิน. (2565). มิติใหม่แห่งการพัฒนาบทบัญญัติกฎหมายเพื่อการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเลภายใต้กิจกรรมการดำน้ำลึกในทะเลใต้. วารสารรามคำแหงฉบับนิติศาสตร์, 11(1), 46-47.

วิภาวดี หลักสี่. (2564). ห้ามใช้ครีมกันแดด (บางชนิด) ไขข้อข้องใจกฎหมายอุทยาน. สืบค้น 5 สิงหาคม 2565. https://www.naewna.com/politic/columnist/48759.

สำนักอุทยานแห่งชาติ. (2564). ประกาศห้ามใช้ครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อปะการังเข้าไปในอุทยานแห่งชาติ. สืบค้น 29 มิถุนายน 2565. https://portal.dnp.go.th/Content/nationalpark?contentId=25456.

Techsource Team. (2564). เปิดมุมมองวิศวกรเคมีกับกฎหมายห้ามใช้ครีมกันแดดในพื้นที่อุทยานฯ หลังมีสารเคมีทำให้เกิดปะการังฟอกขาว. สืบค้น 20 สิงหาคม 2565. https://techsauce.co/pr-news/environmental-impact-from-sunscreen-by-tse.

Downs, C. A., et al. (2016). Toxicopathological Effects of the Sunscreen UV Filter, Oxybenzone (Benzophenone-3), on Coral Planulae and Cultured Primary Cells and Its Environmental Contamination in Hawaii and the U.S. Virgin Islands. Archives of Environmental Contamination and Toxicology, 70, 265-288. DOI: 10.1007/s00244-015-0227-7

National Academies of Sciences, Engineering & Medicine. (2022). Review of Fate, Exposure, and Effects of Sunscreens in Aquatic Environments and Implications for Sunscreen Usage and Human Health. The National Academies Press. https://doi.org/10.17226/26381.

National Ocean Service. (2022). Skincare Chemicals and Coral Reefs. Retrieved August 17, 2021. https://oceanservice.noaa.gov/news/sunscreen-corals.html.

National Park Service U.S. Department of interior. (2022). Reef-Friendly Sun Protection Campaign Graphics. Retrieved December 9, 2021. https://www.nps.gov/subjects/oceans/reeffriendlycampaigngraphics.htm.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-20