แนวทางการบริหารจัดการคุณภาพการบริการภายในตลาดสด
คำสำคัญ:
คุณภาพการบริการ, ตลาดสด, การจัดการบทคัดย่อ
การศึกษาแนวทางการจัดการคุณภาพบริการของตลาดสด เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพคุณภาพการบริการของตลาดสดในอำเภอคลวงหลวง จังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการบริการของตลาดสดในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการปรับปรุงคุณภาพการบริการตลาดสด ในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ประกอบการในตลาดและผู้บริโภคทั้งหมด 400 ราย โดยสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ทั้งนี้เครื่องมือที่ใช้เก็บรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐาน ด้วยค่าที (t – test) และทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One – Way ANOVA) รวมทั้งการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพคุณภาพการบริการของตลาดสด ในอำเภอคลวงหลวง จังหวัดปทุมธานี พบสภาพแวดล้อมภายในตลาด บริเวณพื้นที่ค้าขายอาหารสำเร็จรูป ผัก วัตถุดิบสด เนื้อสัตว์ ปลา มีน้ำขังเฉอะแฉะ ส่งกลิ่นเหม็น มีสายไฟ และเศษกระดาษ พลาสติก วัสดุที่เหลือใช้วางตามพื้น ไม่เป็นระเบียบตามที่กำหนด รวมทั้งการจราจรในตลาดมีทางเข้า ออกตลาดทางเดียว ประกอบกับไม่มีการจัดการจอดรถที่เป็นระเบียบ ผลการศึกษาคุณภาพโดยรวมการบริการของตลาดสดอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย (x̅ = 4.37) การจัดการคุณภาพของตลาดสดมีความจำเป็นที่จะต้องบูรณาการ ในการใช้พื้นที่ให้ความสะอาดถูกสุขลักษณะและสะดวกสบายรวมถึงเกณฑ์มาตรฐานของหน่วยงานกำกับดูแลผลิตภัณฑ์มีความสดสะอาดและปลอดสารพิษต่อผู้บริโภคส่วนใหญ่ หันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น การบริการที่มีคุณภาพมุ่งเน้นไปที่การสร้างความสัมพันธ์การตอบสนองและการปกป้องผลประโยชน์และไม่ใช้ประโยชน์จากผู้ค้าปลีกและผู้บริโภค ทั้งนี้ข้อเสนอแนะการปรับปรุงคุณภาพการบริการ จัดการพื้นที่และกำหนดจุดรวบรวมเศษวัสดุ รวมทั้งกำชับผู้ค้าภายในตลาดปฏิบัติตามข้อบังคับของกฎกระทรวงว่าด้วยตลาด รวมทั้งการบริการและคุณภาพสินค้าที่พร้อมตอบสนองต่อความต้องการที่สะอาดอยู่เสมอเพื่อให้กลับมาใช้บริการซ้ำอีกในอนาคต
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2558). ประเด็นปัญหาและแนวทางในการพัฒนาตลาดนัด. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2563. http://www.dla.go.th/upload/ebook/column/2012/7/2023_5134.pdf
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: สามลดา.
ฐาปนา บุณยประวิตร. (2559). สุดยอดตลาดสด ต้นแบบถ้วยทอง. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2563. จาก https://www.posttoday.com/life/healthy/442286
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.
พรพิมล คงฉิม. (2554). การศึกษาความพึงพอใจและความต้องการของลูกค้าที่ได้รับบริการจากบริษัท เอ็ม.เอช.อี – ดีแมก (ที) จำกัด. [สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และ อัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2545). ระเบียบวิธีการวิจัย. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.
วิไลวรรณ มาเจริญทรัพย์. (2558). การบังคับใช้กฎกระทรวงว่าด้วยตลาด พ.ศ. 2551 ในเขตเทศบาลเมือง. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข, 1(1), 1 – 13.
วารุณี เพไร และคณะ. (2556). สุขภาวะกับการเป็นตลาดของภาษีเจริญ. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
ศศธร มาศสถิตย์. (2562). แนวทางส่งเสริมคุณภาพการให้บริการของศูนย์วิทยบริการ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ. [ปริญญาวิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร].
สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2553). จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล จังหวัดปทุมธานีณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2563. http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/districtList/S010107/th/5.htm
สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ. (2560). กฎหมายที่เกี่ยวข้องด้านสุขาภิบาลอาหารกฎกระทรวงฯ ว่าด้วยสุขลักษณะของตลาด พ.ศ. 2551. สืบค้น 13 มีนาคม 2563. http://foodsan.anamai.moph.go.th/main.php?file
name=food_index18#h6
Berry, L. L., Zeithaml, V. A., & Parasuraman, A. (1990). Five imperatives for improving service quality. MIT Sloan Management Review, 31(4), 29 – 38.
Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. (3rd ed). New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.