ศึกษาชุมชนต้นแบบการจัดการชุมชนเข้มแข็งของชุมชนบางน้ำผึ้ง
คำสำคัญ:
ชุมชนต้นแบบ, ชุมชนเข้มแข็งบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง ศึกษาชุมชนต้นแบบการจัดการชุมชนเข้มแข็งของชุมชนบางน้ำผึ้ง วัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากระบวนการพัฒนาชุมชนบางน้ำผึ้งให้เป็นชุมชนเข้มแข็งของผู้นำท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำผึ้ง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ (2) ศึกษากระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดดเด่นให้โดดเด่นและได้รับรางวัล (3) ศึกษากลยุทธ์หรือวิธีการออกระเบียบชุมชนและทำให้ประชาชนผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยวยอมรับและปฏิบัติตามกฎระเบียบชุมชน
ประชากรในการทำการวิจัย ได้แก่ ผู้นำท้องถิ่น 3 คน ผู้นำท้องที่ (ผู้ใหญ่บ้าน 11 คน) และกลุ่มอาชีพหรือกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีทั้งหมด 28 กลุ่ม โดยผู้วิจัยทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling)
จากหมู่บ้านและกลุ่มวิสาหกิจที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและโดดเด่น ผลการวิจัยพบว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีคุณลักษณะผู้นำแบบประชาธิปไตย เปิดโอกาสให้ผู้นำทุกระดับและประชาชนมีส่วนร่วมในทุกกระบวนการตั้งแต่การจัดทำแผนชุมชน การดำเนินการตามแผน การร่วมลงทุนและร่วมรับผลประโยชน์ ตลอดจนการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรม อีกทั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลยังเป็นผู้ประสานงานที่ดีทำให้มีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนทั้งภายในและต่างประเทศ ส่วนกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาชีพจะพบว่ามีการจัดการกลุ่มแบบองค์กร มีโครงสร้างคณะกรรมการและระเบียบของกลุ่มอย่างชัดเจน มีการจัดอบรมเพื่อส่งเสริมเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ทันสมัยและใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้จริง พร้อมทั้งมีการจัดสรรผลประโยชน์แก่สมาชิกอย่างเป็นธรรม ส่วนกลยุทธ์หรือวิธีการออกระเบียบชุมชนให้เป็นที่ยอมรับและปฏิบัติตามของสมาชิกและนักท่องเที่ยว พบว่านายกองค์การบริหารส่วนตำบลมีหลักการบริหารแบบการกระจายอำนาจไปยังหมู่บ้านและกลุ่มอาชีพสามารถร่วมกันออกระเบียบของตนเองได้ โดยที่แต่ละหมู่บ้านจะมีระเบียบชุมชนและแต่ละกลุ่มอาชีพจะมีระเบียบการปฏิบัติร่วมกันของกลุ่มอาชีพ โดยมีส่วนร่วมของสมาชิกชุมชนและสมาชิกกลุ่ม จึงทำให้ประชาชนร่วมกันปฏิบัติและสอดส่องนักท่องเที่ยวให้ปฏิบัติตามระเบียบของชุมชนเพื่อความสงบสุขและความยั่งยืน
References
กังสดาล กนกหงส์. (2557, มกราคม – มิถุนายน). การศึกษาและพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการศูนย์ร้านค้าสาธิตชุมชนอย่างยั่งยืน ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 6(1), 106-120.
กันยาวรรนธ์ กำเนิดสินธุ์. (2558, มกราคม – มิถุนายน). การมีส่วนร่วมของประชาชนชุมชนบางน้ำผึ้งในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรม. วารสารสารสนเทศสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. 16(1), 75 – 81.
กันยาวรรนธ์ กำเนิดสินธุ์. (2561). ศึกษาชุมชนต้นแบบการจัดการชุมชนเข้มแข็งของชุมชนบางน้ำผึ้ง. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
กิตติศักดิ์ ปรกติ. (2550). สิทธิของบุคคลซึ่งนับรวมกันเป็นชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.
ธีระพงษ์ แก้วหาวงษ์. (2543). กระบวนการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง: ประชาคมประชาสังคม. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
ประพนธ์ ผาสุขยืด. (2541). ทางเลือกทางรอด. กรุงเทพฯ: เออาร์ อินฟอร์เมชั่น แอนด์ พับบิเคชั่น.
ประเวศ วะสี. (2542). ยุทธศาสตร์ชาติเพื่อความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ สังคมและศีลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.
เรวดี ประเสริฐเจริญสุข และนุศจี ทวีวงศ์. (2552). สิทธิชุมชนมิติประมงพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน.
สนธยา พลศรี. (2547). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
สำเนาว์ รัศมิทัต. (2561). นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำผึ้ง. (สัมภาษณ์, 18 มกราคม 2561).
เสน่ห์ จามริก. (2549). สิทธิมนุษยชนไทยในกระแสโลก. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
Dubrin, A. J. (1998). Leadership: Research Findings, Practice and Skills. Boston: Houghton Mifflin.
Fox, A. K. (2013). The Concept of Community Development. Department of Economics and Sociology. Iowa: Iowa State University.
Lewin, K. (1939). The History of Leadership Studies and Evolution of Leadership Theories. Retrieved June 15 2016. https://toughnickel.com/business/The-History-of-Leadership-Studies-and-Evolution-of-Leadership-Theories.
Likert, R. (1967). The human organization: Its management and value. New York: McGraw - Hill.
Northouse, P. & Yukl, G. (2016). The History of Leadership Studies and Evolution of Leadership Theories. Retrieved June 13 2016. The-History-https://toughnickel.com/business/of-Leadership-Studies-and-Evolution-of-Leadership-Theories.
Schoenlaub, N. (2015). 8 Steps for Organizational Development Interventions. Retrieved July 17 2016. https://www.linkedin.com/pulse/8-steps-organizational-development-interven
tions-nicolas-schoenlaub.
Snell, J. (2009). Chaos Theory and Post Modernism. Lowa city: Kirkwood College.
Streeten, P. (1972). The Frontiers of Development Studies. London: Macmillan.
Stumpf, S. E. (1989). Philosophy: History and Problems. New York: McGraw - Hill.
Thai Government. (2016). Sufficiency Economy Philosophy: Thailand’s Path towards Sustainable Development Goals. Retrieved June 18 2016. http://tica.thaigov.net/main/contents/files/business/pdf.
Yukl, G. (1989). Leadership in organization. New Jersy: Prentice – Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.