พุทธตันตระ
คำสำคัญ:
พุทธศาสนา (นิกายตันตระ)บทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งศึกษาวิเคราะห์ถึงกำเนิดและพัฒนาการ ลักษณะสำคัญและเป้าหมายของนิกายตันตระ ตลอดจนถึงแนวโน้มของนิกายตันตระในประเทศไทย จากการศึกษาพบว่า พระพุทธศาสนานิกายตันตระเกิดขึ้นจากแรงกดดันทางสังคมในสมัยนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเชื่อของฮินดูที่นิยมการสวดมนต์อ้อนวอน นิยมด้านไสยศาสตร์ และความลึกลับพิสดารมากกว่าการเข้าถึงหลักธรรม ดังนั้นจึงมีพระสงฆ์กลุ่มหนึ่งพยายามที่จะดึงศาสนิกชนโดยนำวิธีการแบบฮินดู กล่าวคือการปฏิบัติแบบนิกายตันตระเข้ามาเผยแพร่จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของพระพุทธศาสนา ลักษณะเฉพาะที่สำคัญของนิกายตันตระพบว่า มีลักษณะเป็นความลี้ลับ เป็นบทสรรเสริญ เป็นคาถาอาคมหรือไสยศาสตร์ และเป็นการพลีชีพหรือบูชายัญซึ่งเป้าหมายของพุทธตันตระนี้ จากผลการศึกษาได้พบว่า เป็นการแย่งชิงศาสนิกชน เป็นวิธีการฝึกจิตให้เข้มแข็ง เป็นที่พึ่งทางจิตใจของพุทธศาสนิกชน และเป็นการบรรลุสัจธรรม ปัจจุบันความเชื่อแบบนิกายตันตระเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในสังคมไทยและได้รับการตอบรับจากสังคมเป็นอย่างมากเนื่องจากประชาชนไม่ได้มุ่งเป้าหมายในการศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง อีกทั้งพระสงฆ์ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ชี้ทางที่ถูกต้องตามแนวทางแห่งพระพุทธศาสนาให้กับประชาชนจึงทำให้เกิดแนวความคิดสนับสนุนความเชื่อแบบนิกายตันตระเพิ่มมากขึ้น
References
จำนงค์ ทองประเสริฐ. (2540). บ่อเกิดลัทธิประเพณีอินเดียเล่ม 1 ภาค 1 - 4. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดอรุณการพิมพ์.
ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์. (2536). ประเทศจีนกับพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน. กรุงเทพฯ: มหามกุฎราชวิทยาลัย.
ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์. (2538). พระพุทธศาสนาแบบทิเบต. กรุงเทพฯ: ส่องสยาม.
เทพย์ สาริกบุตร. (2503). พุทธาภิเษกพิธี. กรุงเทพฯ: อุตสาหกรรมการพิมพ์.
พระศรีคัมภีรญาณ. (2544). พุทธปรัชญา สาระ และพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิจิตรวาทการ,พลตรีหลวง. (2507). มหัศจรรย์ทางจิต. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: เสริมวิทยาบรรณาคาร.
ศาสนะ วาทะธรรม. (2545). ประกาศวันชำระศาสนาเทพ. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.
เสถียร โกเศศ. (2506). วัฒนธรรมและประเพณีต่าง ๆ ของไทย. พระนคร: รุ่งเรืองธรรม.
เสถียร โพธินันทะ. (2513). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. พระนคร: บรรณาคาร.
แสง จันทร์งาม. (2531). ศาสนศาสตร์ (The Science of Religlon). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
แสง จันทร์งาม. (2544). ประทีปธรรม. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์บุ๊คส์.
ส. ศิวลักษ์. (2542). พุทธตันตระหรือวัชรยาน. กรุงเทพฯ: ส่องสยาม.
เอ็ดเวอร์ด โคนซ์. (ม.ป.ป.). พุทธศาสนประวัติสังเขป. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.
อุทัย หิรัญโต. (2526). สารานุกรมศัพท์สังคมวิทยา - มนุษย์วิทยา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.