แนวทางแก้ไขข้อผิดพลาดการใช้คำช่วยภาษาญี่ปุ่นในรายวิชาภาษาญี่ปุ่น 2 ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นชั้นปีที่ 1 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • สุทธิดา พันธุ์โคตร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

การเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่น, ข้อผิดพลาดการใช้คำช่วยภาษาญี่ปุ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อผิดพลาดการใช้คำช่วยภาษาญี่ปุ่น และเพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการใช้คำช่วยภาษาญี่ปุ่นในรายวิชาภาษาญี่ปุ่น 2 ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ มี 2 กลุ่ม คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จำนวน 27 คน ที่เรียนวิชาภาษาญี่ปุ่น 2 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 และอาจารย์ผู้สอนภาษาญี่ปุ่นในจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 7 ท่าน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบการใช้คำช่วยตามเนื้อหาที่ใช้ในรายวิชาภาษาญี่ปุ่น 2 จำนวน 5 ชุด และแบบสอบถามความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นด้านการใช้คำช่วยภาษาญี่ปุ่น  โดยใช้ค่าสถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า อัตราข้อผิดพลาดการใช้คำช่วยของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ชั้นปีที่ 1 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีข้อผิดพลาดในการใช้คำช่วยทั้งหมด จำนวน 2,094 จากอัตราการเติมคำช่วยทั้งหมด 4,266 ครั้ง อัตราข้อผิดพลาดในการใช้คำช่วยในภาพรวม ที่พบมากที่สุดห้าอันดับ คือ คำช่วย まで (made) เป็นคำช่วยที่มีข้อผิดพลาดมากที่สุดเป็นอันดับที่หนึ่ง คิดเป็นร้อยละ 74.04 รองลงมา คือ คำช่วย も (mo) คิดเป็นร้อยละ 72.84, คำช่วย で (de)  คิดเป็นร้อยละ 71.02, คำช่วย より (yori) คิดเป็นร้อยละ 70.37 และ คำช่วย へ (e) คิดเป็นร้อยละ 65.19 ตามลำดับ และแนวทางการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการใช้คำช่วยภาษาญี่ปุ่นในรายวิชาภาษาญี่ปุ่น 2 สรุปได้ 5 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1) การสอนเน้นการบรรยาย การยกตัวอย่างรูปประโยคที่หลากหลาย การวิเคราะห์ความแตกต่างของคำช่วย 2) เน้นการฝึกทำแบบฝึกหัด การฝึกฝนและการนำเสนองานทั้งทักษะการพูดและการเขียน 3) ใช้กิจกรรมเสริมทักษะระหว่างเรียน อาทิเช่น การทำแผนที่ความคิด (Mind map) ใช้เกมเสริมทักษะ เป็นต้น 4) ควรมีการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และ 5) ในด้านสื่อการเรียนการสอน นอกจากหนังสือหรือตำราเรียนแล้ว ควรมีการบูรณาการสื่อการเรียนการสอนให้มีความหลากหลาย เช่น ภาพช่วยจำ การจัดบอร์ด การใช้สื่อสิ่งพิมพ์ โฆษณา นิทาน หรือสื่อสังคมออนไลน์ (Social media) เป็นต้น

References

ณัฏฐิรา ทับทิม. (2555). รายงานผลการวิจัยเรื่องการสร้างแบบฝึกช่วยจำคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. พิษณุโลก : ภาควิชาภาษาญี่ปุ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

ดาเรศ โชสิวสกุล. (2533). การวิเคราะห์แบบทดสอบไวยากรณ์แบบเลือกตอบวิชาภาษาอังกฤษ ที่ครูสร้างขึ้นระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์การศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

ทรงพล รัตน์ดิลกพานิชย์. (2557). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียวิชาภาษาญี่ปุ่น เรื่องการเรียนตัวอักษรคันจิด้วยเทคนิคเชื่อมโยงจากรูปภาพ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์. ว.ญี่ปุ่นศึกษา. 32 (1), 33-50.

ทัศนีย์ เมธาพิสิฐ (2549). รายงานการวิจัย เรื่องการศึกษาอิทธิพลของภาษาไทยต่อการเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นของผู้เรียนชาวไทย. กรุงเทพฯ : ภาควิชาภาษาญี่ปุ่น คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ทิศนา แขมมณี. (2544). 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรรัมภา เจริญศิริ และอัษฎายุทธ ชูศรี. (2557). แนวโน้มการใช้คำช่วยท้ายประโยค 「よね」ของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทย. ว.เจแปนฟาวน์เดชั่น. (11), 31-40.

พัชราพรรณ สุวรรณกูฏ และพิมหทัย บุญปัญญาโรจน์. (2559). การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นจากบทสนทนาในแอพพลิเคชั่นไลน์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, 12 (ฉบับพิเศษ), 81-92.

วิเนส จันทะวงษ์ศรี. (2556). การศึกษาเปรียบเทียบข้อผิดพลาดในการใช้คำช่วย wa และ ga ตามรูปแบบไวยากรณ์ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาญี่ปุ่นศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ศุภธิดา นันต๊ะภูมิ. (2558). การจัดการเรียนการสอนการฟังภาษาญี่ปุ่น โดยใช้ภาพยนตร์การ์ตูน สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาญี่ปุ่นศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ศุภวรรณ ทะกันจร. (2542). ความรู้ด้านไวยากรณ์และการใช้ไวยากรณ์ในการเขียนอนุเฉทของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยการกำหนดงานเพื่อยกระดับความตระหนักด้านไวยากรณ์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศศิวิมล พชรศิลป์. (2559). การพัฒนาการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นโดยใช้เกมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ว.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. 5 (1), 899 - 913.

สมเกียรติ เชวงกิจวณิช. (2555). รายงานการวิจัยเรื่องปัญหาการใช้และการเรียนรู้คำช่วยชี้สถานที่ に (ni) และ で (de) ของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทย. กรุงเทพฯ : ภาควิชาภาษาญี่ปุ่น คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สร้อยสุดา ณ ระนอง. 2549. ข้อผิดในเรียงความภาษาญี่ปุ่นขั้นสูงและทัศนคติต่อการเขียนเรียงความของนักศึกษาไทย ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 44. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุณีย์รัตน์ เนียรเจริญสุข. (2551). การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดด้านการเขียนของนักศึกษาไทยที่เรียนภาษาญี่ปุ่นระดับสูง. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 8 (1), 109 - 131.

องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น. (2558). ผลการสำรวจแนวโน้มการลงทุนของบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ : องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น.

Japan Foundation. (2016). 2015 Overseas Japanese Laguage Education Institution Survey Results. Bangkok : The Japan Foundation.

Knowles, M.S. (1975). Self- Directed Learning: A Guide for Learner and Teacher. New York : Association Press Follett.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30