นาฏยประดิษฐ์ ชุด โนรีดัดตน
คำสำคัญ:
ท่ารำซัดท่า, นาฏยประดิษฐ์, โนรีดัดตนบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์การแสดงจากท่าฤๅษีดัดตนเป็นการแสดงนาฏศิลป์ไทยประเภทพื้นเมืองภาคใต้ในรูปแบบโนราประยุกต์ ชุด “โนรีดัดตน” โดยศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนท่ารำ หลักและวิธีการสร้างสรรค์ท่ารำโนราจากเอกสาร การสังเกต และการสัมภาษณ์จากศิลปินพื้นบ้านรวมทั้งประสบการณ์ของผู้วิจัย ตลอดจนศึกษาข้อมูลที่เป็นแรงบันดาลใจ คือ ท่าฤๅษีดัดตน จากตำราโคลงภาพฤๅษีดัดตนที่คัดลอกจากจารึกในสมุดไทยดำและรูปปั้นฤๅษีดัดตนของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม นาฏยประดิษฐ์ ชุด โนรีดัดตน ดำเนินการตามหลักนาฏยประดิษฐ์ 7 ขั้นตอน ของศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์ คือ 1) การคิดให้มีนาฏศิลป์ 2) การกำหนดความคิดหลัก 3) การประมวลข้อมูล 4) การกำหนดขอบเขต 5) การกำหนดรูปแบบ 6) การกำหนดองค์ประกอบการแสดง และ 7) การออกแบบนาฏยศิลป์ การแสดงประกอบด้วย ผู้แสดง ใช้ผู้หญิงล้วน จำนวน 7 คน การแต่งกายเลียนแบบกินรีประยุกต์จากเครื่องโนราโบราณแบบบัว เครื่องดนตรี ได้แก่ ทับ กลองตุ๊ก ปี่ โหม่ง ฉิ่ง และใช้เสียงสังเคราะห์ประกอบ รูปแบบการแสดง แบ่งออก 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 “ฤๅษีดัดกายา” ช่วงที่ 2 “ซัดท่าจับระบำ”และช่วงที่ 3 “รำลึกถึงคุณครู” โดยแบ่งอารมณ์การแสดงตามแบบเทอร์นารี การเคลื่อนไหวตามแบบไบนารี คือ ช่วงแรกเคลื่อนไหวช้า ช่วงหลังเคลื่อนไหวเร็วและแรง และการเคลื่อนไหวท่ารำของกลุ่มที่สัมพันธ์กับเวลาตามทฤษฎีของแจ็ควีน เอ็ม สมิธ โดยมีโครงสร้างท่ารำหลัก ส่วนของลำตัว ขาและเท้าปฏิบัติตามลักษณะท่าทางของฤๅษีดัดตน จำนวน 42 ท่า ส่วนของแขนและมือปฏิบัติตามลักษณะการซัดท่ารำของโนรา กระบวนท่ารำเริ่มด้วยการนั่งรำ ยืนรำและเดินรำ ในอัตราจังหวะที่เริ่มจากช้าและเร็วขึ้นตามลำดับ ระดับท่ารำเริ่มจากท่าต่ำไปหาท่าสูง ตามหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติตามรูปแบบการรำโนราแบบโบราณ การแสดงชุดนี้ นอกจากเป็นศิลปวัฒนธรรมสำคัญที่สร้างความรื่นเริงบันเทิงใจให้เกิดแก่ผู้ชมแล้วยังถือเป็นกายบริหารด้วยหลักการตามตำราฤๅษีดัดตน นับเป็นวัฒนธรรมแห่งสุขภาพอันทรงคุณค่าของภูมิปัญญาไทยที่ควรแก่การนำมาพัฒนาต่อยอดเป็นองค์ความรู้ทั้งศาสตร์ทางด้าน การแพทย์และด้านนาฏศิลป์ ให้คงอยู่ควบคู่ไปกับบริบทสังคมไทยต่อไป
References
กรมศิลปากร. (2550). สมุดภาพโคลงฤาษีดัดตน : คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ จัดพิมพ์เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550. กรุงเทพฯ : อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
จินตนา อนุวัฒน์. (2561). กรอบแนวคิดในการสร้างสรรค์งานนาฏศิลป์ ชุด โนรีดัดตน. สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยละคร วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
จินตนา อนุวัฒน์. (2561). โนรีดัดตนท่าเกี่ยวขี้หนอน. กรุงเทพฯ : สาขาวิชานาฏศิลป์ ไทยละคร วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
จินตนา อนุวัฒน์. (2561). โนรีดัดตนท่าขาพาดคอ (ข้างเดียว). กรุงเทพฯ : สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยละคร วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
จินตนา อนุวัฒน์. (2561). โนรีดัดตนท่าขาพาดคอ (สองข้าง). กรุงเทพฯ : สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยละคร วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
จินตนา อนุวัฒน์. (2561). โนรีดัดตนท่าฉากใหญ่-พันตัว. กรุงเทพฯ : สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยละคร วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
จินตนา อนุวัฒน์. (2561). โนรีดัดตนท่าเดี่ยวเท้า-ซัดแขน. กรุงเทพฯ : สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยละคร วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
จินตนา อนุวัฒน์. (2561). โนรีดัดตนท่าเหยียดขา. กรุงเทพฯ : สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยละคร วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
จินตนา อนุวัฒน์. (2561). ผู้แสดงกลุ่ม 1 (3 คน) เคลื่อนไหวในท่ารำที่เหมือนกันผู้แสดงกลุ่ม 2 (4 คน) หยุดนิ่งในท่ารำที่แตกต่างกัน. กรุงเทพฯ : สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยละคร วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
จินตนา อนุวัฒน์. (2561). ผู้แสดงเคลื่อนไหวตามลำดับ ในท่ารำที่มีความคล้ายกัน 3 กลุ่ม กลุ่ม 1 รำในจังหวะที่ 1 กลุ่ม 2 รำในจังหวะที่ 2 กลุ่ม 3 รำในจังหวะที่ 3. กรุงเทพฯ : สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยละคร วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
จินตนา อนุวัฒน์. (2561). ผู้แสดงเคลื่อนไหวตามลำดับในท่ารำที่เหมือนกัน โดยกลุ่มที่ 1 นำปฏิบัติ กลุ่มที่ 2 ปฏิบัติตาม. กรุงเทพฯ : สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยละคร วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
จินตนา อนุวัฒน์. (2561). ผู้แสดงเคลื่อนไหวพร้อมกัน ในท่ารำแตกต่างกันบางช่วง. กรุงเทพฯ : สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยละคร วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
จินตนา อนุวัฒน์. (2561). ผู้แสดงเคลื่อนไหวพร้อมกัน ในท่ารำที่เหมือนกัน. กรุงเทพฯ : สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยละคร วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
จินตนา อนุวัฒน์. (2561). ผู้แสดงทั้งหมดเคลื่อนไหวพร้อมกัน ผู้แสดงทั้ง 2 กลุ่มใช้ท่ารำที่แตกต่างกัน. กรุงเทพฯ : สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยละคร วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
จินตนา อนุวัฒน์. (2561). รูปแบบแถวและทิศทางการเคลื่อนไหว (1). กรุงเทพฯ : สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยละคร วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
จินตนา อนุวัฒน์. (2561). รูปแบบแถวและทิศทางการเคลื่อนไหว (2). กรุงเทพฯ : สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยละคร วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
จินตนา อนุวัฒน์. (2561). ฤาษีดัดตนท่าแก้ลมตะคริว. กรุงเทพฯ : สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยละคร วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
จินตนา อนุวัฒน์. (2561). ฤาษีดัดตนท่าแก้เอว ขาขัด. กรุงเทพฯ : สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยละคร วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
จินตนา อนุวัฒน์. (2561). ฤาษีดัดตนท่าเหยียบหลัง. กรุงเทพฯ : สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยละคร วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
จินตนา อนุวัฒน์. (2561). ฤๅษีดัดตนท่าแก้ตะโพก ต้นขาขัด. กรุงเทพฯ : สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยละคร วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
จินตนา อนุวัฒน์. (2561). ฤๅษีดัดตนท่าแก้ลมกร่อน. กรุงเทพฯ : สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยละคร วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
จินตนา อนุวัฒน์. (2561). ฤๅษีดัดตนท่าแก้ลมจันทฆาฏ. กรุงเทพฯ : สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยละคร วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
จินตนา อนุวัฒน์. (2561). ฤๅษีดัดตนท่าแก้สลักไหล่. กรุงเทพฯ : สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยละคร วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
จินตนา อนุวัฒน์. (2561). ฤๅษีดัดตนท่าดำรงกายอายุยืน. กรุงเทพฯ : สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยละคร วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
จินตนา อนุวัฒน์. (2561). ลักษณะการแต่งกาย (แบบมวยผมจุก). กรุงเทพฯ : สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยละคร วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
จินตนา อนุวัฒน์. (2561). ลักษณะการแต่งกาย (แบบสวมเทริด). กรุงเทพฯ : สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยละคร วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
สวภา เวชสุรักษ์. (2547). หลักนาฏยประดิษฐ์ของท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุพัฒน์ นาคเสน. นายโรงโนรา และครูชำนาญการ วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช. (สัมภาษณ์, 15 กุมภาพันธ์ 2561).
สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
MGR Online. (2561). งานมรดกความทรงจำแห่งโลกวัดโพธิ์. ค้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2561 จาก https://mgronline.com/qol/detail/9610000033581
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2019 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.