ปัญหากฎหมายการคุ้มครองผู้เสียหายกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิเสธไม่รับคำร้องทุกข์
คำสำคัญ:
คำร้องทุกข์, ดุลพินิจ, ถ่วงดุลอำนาจ, การคุ้มครองผู้เสียหายบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ได้ศึกษาเกี่ยวกับการรับคำร้องทุกข์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เมื่อผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการยุติธรรม แต่ปรากฎว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจกลับใช้ดุลพินิจในการตัดสินใจที่ไม่รับคำร้องทุกข์โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร เจ้าหน้าที่ตำรวจมีหน้าที่ต้องรับคำร้องทุกข์หากมีการกระทำผิดอาญาซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายและก่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้เสียหาย บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยวางแนวทางด้วยการกำหนดกระบวนการที่จะช่วยเหลือผู้เสียหายในกรณีที่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิเสธไม่รับคำร้องทุกข์ กล่าวคือควรสร้างมาตรการหรือกระบวนการให้สามารถอุทธรณ์การปฏิเสธไม่รับคำร้องทุกข์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจอันเป็นการกลั่นกรองกระบวนการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ รวมถึงการเลือกปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติให้ผู้เสียหายสามารถอุทธรณ์การไม่รับคำร้องทุกข์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อเป็นประโยชน์แก่กระบวนการยุติธรรมทางอาญาต่อไป
References
คณิต ณ นคร. (2555). การก่อการร้ายกับการมอบอำนาจให้ดำเนินคดี. วิญญูชน.
ณรงค์ ใจหาญ. (2565). หลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. วิญญูชน.
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. (2477). สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.