การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย: บทบาทผู้บริหาร

ผู้แต่ง

  • ฉัตรวิไล สุรินทร์ชมพู มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

คำสำคัญ:

การพัฒนาคุณภาพการศึกษาปฐมวัย, บทบาทผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัยเป็นสิ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญมาอย่างต่อเนื่อง โดยกำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญในด้านเด็กปฐมวัย เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ให้ผลของการลงทุนคุ้มค่าที่สุดต่อการสร้างรากฐานของชีวิตซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2560 – 2564 มีเป้าหมายหลักให้คน “อยู่ดี มีสุข” โดยเฉพาะเด็ก “ให้มีทักษะ พัฒนาการสมวัย แข็งแรง EQ สูง แก้ปัญหาเป็น วินัยดี มีคุณธรรม” เพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานพัฒนาเด็กปฐมวัยของประเทศ การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัยและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้เด็กทุกคนมีการพัฒนารอบด้านตามวัยอย่างมีคุณภาพ และได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพ ดังนั้นการศึกษาจึงเป็นเครื่องมือการสร้างคน ให้เป็นผู้ที่มีคุณภาพและอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข โดยเริ่มต้นจากการศึกษาปฐมวัย ซึ่งเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดในเรื่องของสมอง การเจริญเติบโต และพัฒนาการ เพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กปฐมวัยพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์  เกิดคุณค่าต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติต่อไป อย่างไรก็ตามเพื่อการขับเคลื่อนและพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นนั้น “ผู้บริหาร” เป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาของประเทศ อันส่งผลต่อคุณภาพเด็กปฐมวัยโดยตรง และส่งต่อให้เป็นพลเมืองคุณภาพของประเทศไทยในอนาคตต่อไป

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2547). ปฏิรูปการศึกษายุคใหม่. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2545). รูปแบบการเรียนการสอนปฐมวัยศึกษา. กรุงเทพฯ : เอดิสันเพรสโปรดักส์.

จิรภา ชมพูมิ่ง, อินทร์ จันทร์เจริญ และวีรพันธุ์ ศิริฤทธิ์. (2558, มกราคม - เมษายน). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย เขตภาคเหนือตอนบน. Veridian E Journal, Silpakorn University. 8 (1), 760-769. ค้นเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2561 จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/32321/30111

ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2548). สู่ทิศทางใหม่การบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : ก้าวใหม่.

ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2540). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนกับโรงเรียนประถมศึกษาในเขตปริมณฑลกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาวิณี โฆมานะสิน. (2558). การศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

เยาวพา เดชะคุปต์. (2542). การบริหารและการนิเทศการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ : เจ้าพระยาระบบการพิมพ์.

เยาวพา เดชะคุปต์. (2546). การจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : แม็ค.

เยาวพา เดชะคุปต์. (2546). การจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

โรงเรียนวัดพลับพลาชัย. (2559). คุณภาพการเรียนรู้เด็กปฐมวัยโดยมีผลลัพธ์คุณภาพ. ค้นเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2561. จาก https://data.boppobec.info/web/?School_ID=1010720016

วสุกฤต สุวรรณเทน และวัลนิกา ฉลากบาง. (2559, กันยายน – ธันวาคม). คุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย: ปัจจัยเชิงสาเหตุ. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ. 9 (3), 151-164. ค้นเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2561, จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/ view/71553/57986

วัชรีย์ ร่วมคิด. (2547). การพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย. เลย : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ.2560 – 2564. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). แผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2560 – 2564. ค้นเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2561. จาก http://www.edu.buu.ac.th

สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์. (2556). การศึกษานำร่องโดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียนที่เป็นนิสิตปริญญาโทการบริหารการศึกษา. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

อารี โพธิ์สุพรรณ. (2561). การจัดการศึกษาปฐมวัย. ค้นเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2561. จาก http://www.swnkpt.ac.th

Scheerens, J. (2004). A Review of School Effectiveness Research. Vendôme : Presses Universitaires de France.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30