สมาธิ: วิถีแห่งการบำบัดภาวะทางจิตใจ
คำสำคัญ:
สมาธิ, สมาธิบำบัด, วิถีแห่งการบำบัดบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องสมาธิและการใช้สมาธิในการบำบัดความเครียดหรือโรคทางกาย อันที่จริงแล้วสมาธิมีอยู่ในหลักคำสอนของศาสนาต่าง ๆ ในโลกตะวันออก เช่น ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาเชน ศาสนาพุทธ เป็นต้น โดยเฉพาะศาสนาพุทธหรือพระพุทธศาสนาได้พัฒนาสมาธิมาจากศาสนาพราหมณ์และศาสนาเชน (ทั้งสองศาสนานี้มีเพียงสมถะสมาธิเท่านั้น) จนมีสมาธิเป็นเอกลักษณ์ในศาสนาของตัวเอง (คือวิปัสสนาสมาธิ) พระพุทธองค์และเหล่าพระอริยสาวกได้ใช้สมาธิในการรักษาความเครียดและโรคทางกายแก่ศาสนิกชนในสมัยพุทธกาลมากมาย โดยเฉพาะความเครียดพระพุทธองค์ได้ใช้สมาธิรักษาจนทำให้คนที่เครียดหายจากความเครียดและเป็นพระอริยเจ้า เช่น พระยสกุลบุตร เป็นต้น สมาธิยังถูกนำมาใช้จากอดีตจนถึงปัจจุบันโดยเฉพาะในวงการของแพทย์ทางเลือกได้ใช้ตลอดจนถึงมีการฝึกปฏิบัติกันอย่างมาก และในโลกตะวันตกที่พระพุทธศาสนาได้ไปเจริญงอกงามที่นั่นพุทธบริษัททั้งพระและฆราวาสได้ฝึกฝนสมาธิและใช้สมาธิในการบำบัดความเครียดจนกลายเป็นแนวทางใหม่ในการดำเนินชีวิต
References
กองวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย. (2550). การรักษาสุขภาพตามพุทธวิธี. ปทุมธานี : มูลนิธิธรรมกาย.
กัญญา แซ่เตียว. (2552). ประสิทธิผลการใช้อานาปานสติในการลดความเครียด และความดันโลหิตในผู้ป่วยโรค ความดันโลหิตสูง: กรณีศึกษาศูนย์สุขภาพชุมชน ตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์และศิลปะแห่งชีวิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ฐิติรัตน์ รักษ์ใจตรง. (2548). ศึกษาการใช้อานาปานสติภาวนาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเสถียรธรรมสถาน. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์และศิลปะแห่งชีวิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ดวงใจ กสานติกุล. (2529, มกราคม-มิถุนายน). ผลของการศึกษาสมาธิต่อสุขภาพจิตโดยวัดเปรียบเทียบอารมณ์เศร้า. ว.สมาคมจิตแพทย์. 26 (2), 176-180.
ทิวา ธรรมอำนวยโชค. (2530). พุทธศาสนากับการรักษาพยาบาล: วิเคราะห์บทบาทของพระสงฆ์ในการรักษาพยาบาลชาวบ้านในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ธวัชชัย กฤษณะประกรกิจ, สมจิตร์ หร่องบุตรศรี และผ่องพรรณ กฤษณะประกรกิจ. (2552). สมาธิบำบัดทางจิตเวชศาสตร์และสุขภาพจิต. ขอนแก่น : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ประยงค์ แสนบุราณ. (2547). ปรัชญาอินเดีย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
แพทย์พงษ์ วรพงศ์พิเชษฐ. (2550). พุทธธรรมบำบัด. กรุงเทพฯ : กองแพทย์ทางเลือก กรมการพัฒนาแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข.
ไพศาล กิตฺติภทฺโท, พระ. (2545). การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องการประยุกต์ใช้พุทธปรัชญาในชการบำรุงรักษาจิตผู้ป่วย. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ฟอนตานา, เดวิด. (2554). สมาธิเพิ่มพลังความจำบำบัดโรคและลดเครียด. กรุงเทพฯ : แอคทีฟ พริ้นท์.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 1-45. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สาทิส อินทรกำแหง. (2541). กูแน่ (ถ้าแน่จริงต้องชนะความตายฯ). (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : คลินิกบ้านและสวน.
สินีนาฎ ทิพย์มูสิก. (2546). ผลของการให้คำปรึกษาแบบกระชับกับการเจริญสติด้วยการสวดมนต์ต่อความวิตกกังวลของผู้ป่วยในระยะก่อนผ่าตัด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการให้คำปรึกษามหาวิทยาลัยบูรพา.
สมทรง เพ่งสุวรรณ. (2528). ผลของการฝึกสมาธิต่อการลดความวิตกกังวลและความซึมเศร้าในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่ได้รับรังสีรักษา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลแม่และเด็ก มหาวิทยาลัยมหิดล.
สมภาร ทวีรัตน์, พระ. (2543). การนำหลักวิปัสสนากรรมฐานมาใช้ในการลดภาวะความแปรปรวนทางอารมณ์ในสตรีวัยทอง. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ มหาวิทยาลัยมหิดล.
สมภพ เรืองตระกูล. (2550). การตั้งครรภ์: โรคทางจิตเวชและการรักษา. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์.
อาภรณ์ สิงห์ชาดา และคณะ. (2559, มกราคม-มิถุนายน). ผลของโปรแกรมการจัดการความเครียดต่อความเครียดของผู้สูงอายุ. ว.มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติวิชาการ. 19 (2), 38-39.
อุทัยวรรณ เลาประเสริฐสุข. (2546). การศึกษาเชิงวิเคราะห์พุทธวิธีบรรเทาทุกข์ยามเจ็บป่วย. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2019 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.