การจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ยั่งยืน กรณีศึกษาตำบลบ้านด่าน อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

ผู้แต่ง

  • พัชราภรณ์ จันทรฆาฎ สาขาวิชาการจัดการการบริการและการโรงแรม วิทยาลัยนวัตกรรมและการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

การจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ยั่งยืน, การมีส่วนร่วม, กิจกรรมการท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ยั่งยืน กรณีศึกษา ตำบลบ้านด่าน อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้การสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึก 3 กลุ่ม คือ 1) ผู้นำชุมชน 2. เจ้าหน้าที่ของรัฐ และ 3) ผู้ประกอบการ โดยใช้วิธีการแบบเจาะจง และวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามประเมินศักยภาพการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร เป็นเครื่องมือวิจัยในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน สุ่มแบบตามความสะดวก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̄) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 218 คน คิดเป็นร้อยละ 54.50 อายุ 41-50 ปี จำนวน 168 คน คิดเป็นร้อยละ 42.00 การศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี จำนวน 279 คน คิดเป็นร้อยละ 69.75 อาชีพเกษตรกร จำนวน 112 คน คิดเป็นร้อยละ 28.00 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีรายได้ 5,000 – 10,000 บาท จำนวน 220 คน คิดเป็นร้อยละ 55.00 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความคิดเห็นด้วยต่อตัวชี้วัดการจัดการ การท่องเที่ยวเชิงเกษตร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.59 (x̄ = 3.59) ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค มีดังนี้ 1) ด้านพื้นที่ทุนทรัพยากรธรรมชาติ ทุนวัฒนธรรม 5 ชาติพันธุ์ และทุนทางสังคม 2) ด้านการจัดการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรกร หมู่ที่ 3 บ้านไทยสามารถ 3) ด้านกิจกรรมและกระบวนการท่องเที่ยว การจัดกิจกรรมท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน 5 ชาติพันธุ์ ไทญ้อ จีน ลาว เวียดนาม และกัมพูชา 4) ด้านการมีส่วนร่วมภาคีเครือข่าย

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2558). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ.2558- 2560. ค้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2560. จาก https://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=7114.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ : เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

ลินจง โพชารี. (2554). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของชุมชนบ้านซำตารมย์ตำบลตระกาจ อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานเทศบาลตำบลบ้านด่าน. (2560). สภาพข้อมูลพื้นฐาน. ค้นเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2560. จาก http://bandan.in.th/home.html

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสระแก้ว. (2560). ศุลกากรอรัญประเทศเผยตัวเลขการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสระแก้วปี 2558 มูลค่ากว่า 8 หมื่นล้าน. ค้นเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2560. จาก http://thainews.prd.go.th/

สุจิตราภรณ์ จุสปาโล. (2558). การจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยชุมชนบางเหรียงใต้อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา. ว.มหาวิทยาลัยศิลปากร. 35 (2), 89-103.

เสาวลักษ์ ผาวันดี. (2552). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตร : กรณีศึกษากลุ่มสมุนไพรบ้านดงบัง หมู่ที่ 6 ตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

อภิวัฒน์ วัชราภิรักษ์. (2553). แนวทางการพัฒนาเชิงนโยบายการท่องเที่ยวเชิงเกษตร กรณีศึกษา คลองมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Department of Agricultural Extension. (2011). The Potential Agrotourism Resources of Self-suffciency (การประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง). ค้นเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2561. จาก http:/www.cdoae.doae.go.th/53/html.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-30