สมรรถนะของผู้ประกาศในสื่อวิทยุและโทรทัศน์

ผู้แต่ง

  • สุปราณี ศิริสวัสดิ์ชัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

ผู้ประกาศ, สมรรถนะ, สื่อวิทยุและโทรทัศน์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง สมรรถนะของผู้ประกาศในสื่อวิทยุและโทรทัศน์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะของผู้ประกาศในสื่อวิทยุและโทรทัศน์ เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน คือ ผู้ประกาศในสื่อวิทยุกระจายเสียง ผู้ประกาศในสื่อวิทยุโทรทัศน์ และนักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า สมรรถนะของผู้ประกาศในสื่อวิทยุและโทรทัศน์ คือความสามารถของบุคคลในการปฏิบัติงานผ่านสื่อวิทยุและโทรทัศน์ในฐานะผู้ประกาศ โดยบุคคลนั้นต้องมีความรู้ (Knowledge) และทักษะ (Skills) ที่เหมาะสมกับงานและหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งประกอบด้วย 1.ความรู้ หมายถึง สาระข้อมูล แนวคิด หรือหลักการที่ได้รับการรวบรวมผ่านการรับรู้ การคิด และฝึกปฏิบัติ จนสามารถสรุปสาระและนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาในระดับสูงขึ้นได้ ประกอบด้วยความรู้ 3 ประเด็นคือ 1) ความรู้เบื้องต้นด้านการสื่อสาร ได้แก่ กระบวนการสื่อสาร การถ่ายทอดสาร การนำเสนอเนื้อหา 2) ความรู้ด้านจรรยาบรรณและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอเนื้อหา และ 3) ความรู้ด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ได้แก่ เทคโนโลยีในการสืบค้นข้อมูลและการรู้เท่าทันเทคโนโลยี 2. ทักษะ หมายถึง ความชำนาญหรือความสามารถในการกระทำหรือการปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งอาจเป็นทักษะด้านร่างกาย สติปัญญา หรือสังคมที่เกิดขึ้นจากการฝึกฝนหรือการกระทำบ่อย ๆ  ประกอบด้วยทักษะ 2 ประเด็น คือ 1) ทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทย ได้แก่ การออกเสียงสระพยัญชนะวรรณยุกต์ได้อย่างถูกต้อง การออกเสียง ร ล คำควบกล้ำ การอ่านออกเสียงพระนามของพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ได้อย่างถูกต้อง  และการอ่านคำเฉพาะได้ถูกต้อง และ 2) ทักษะการปรากฏตัวในสื่อ ได้แก่ บุคลิกภาพ การแต่งกาย การแต่งหน้า และการใช้อวัจนภาษาให้สอดคล้องกับวัจนภาษา

References

กิตติ สิงหาปัด. (2557). บทสัมภาษณ์ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.). ค้นเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2557. จาก http://announcer.nbtc.go.th/celeb02.php

กุลกนิษฐ์ ทองเงา. อาจารย์ประจำสาขาเทคโนโลยีการโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียงคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. (สัมภาษณ์, 26 มิถุนายน 2558).

เกวลิน กังวานธนวัต. หัวหน้าผู้ประกาศข่าว และผู้เรียบเรียงข่าวอาวุโส สถานีโทรทัศน์โมเดิร์น ไนน์. (สัมภาษณ์, 21 กุมภาพันธ์ 2557).

ชาญชัย กายสิทธิ์. ผู้อำนวยการฝ่ายข่าวบันเทิง พีพีทีวี ช่อง 36 HD. ผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์. (สัมภาษณ์, 11 กุมภาพันธ์ 2557).

ธนิสสรา สุวรรณนันท์. (2552). การคัดเลือกและการพัฒนาผู้ประกาศข่าวของสถานีโทรทัศน์ ในประเทศไทย ใน รายงานโครงการเฉพาะบุคคลหลักสูตรวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริการสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธีรารัตน์ พันทวี วงศ์ธนะอเนก. อาจารย์พิเศษคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายกสมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน (สสดย.). (สัมภาษณ์, 27 พฤษภาคม 2557).

นวนันท์ บำรุงพฤกษ์. (2560). เตรียมพร้อมเป็นผู้ประกาศข่าว นักจัดรายการวิทยุ มืออาชีพ. ค้นเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2560. จาก http://www.weloveshopping.com/shop/show_ article.php?shopid=5163&qid=13400

นัททยา เพ็ชรวัฒนา. หัวหน้างานรายการและนักจัดรายการทางโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง สถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย FM.101.5 MHz. (สัมภาษณ์, 29 กันยายน 2558).

บุญอยู่ ขอพรประเสริฐ. (2551). ดัชนีชี้วัดความเป็นวิชาชีพของผู้สื่อข่าวการเมืองไทย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภาณุพงษ์ ทินกร. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อจรรยาบรรณสื่อโทรทัศน์ในยุคดิจิทัลและแนวทางการกำกับดูแล.วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

มนัสกวิญ ชางประยูร. ผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ ผู้ได้รับรางวัล “เณศไอยรา” ผู้ประกาศข่าวดีเด่น ปี 2561 และรางวัลกินรีทองประจำปี 2561. (สัมภาษณ์, 2 กรกฎาคม 2558).

เมษณี สถาวรินทุ. ผู้ดำเนินรายการและผู้ประกาศข่าว สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ (สัมภาษณ์, 21 กุมภาพันธ์ 2557).

วารีทิพย์ อินทวิพันธุ์. ผู้ประกาศสถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการเกษตร AM 1386. (สัมภาษณ์, 5 กรกฎาคม 2558).

ศศินา วิมุตตานนท์. (2557). เตรียมพร้อมเป็นผู้ประกาศข่าว-นักจัดรายการวิทยุมืออาชีพ. ค้นเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2557. จาก http://www.weloveshopping.com/shop/show_article. php?shopid=5163&qid=13400

อุไร ไชยเสน. อาจารย์ประจำภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (สัมภาษณ์, 16 กรกฎาคม 2558).

Castledine, G. (1998). Nursing Professionalism is it Decrseasing?. British Journal of Nursing. 7 (6), 352.

Ray, W. (1990). TV News. London : Focal Press Limited.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-30