ดนตรีในเทศกาลบิฮู รัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย

ผู้แต่ง

  • ภาวิณี ธีรวุฒิ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ปัณณรุจน์ อนันต์จรัสภัทร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

ดนตรีในเทศกาลบิฮู, ประเทศอินเดีย, รัฐอัสสัม, เทศกาลบิฮู

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายดนตรีในเทศกาลบิฮู เมืองจอร์หัต รัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย โดยการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในระหว่างวันที่ 10 - 17 เมษายน 2561 บทความนี้แบ่งเนื้อหาออกเป็นสามส่วน คือ เทศกาลบิฮู  ดนตรีในเทศกาลบิฮู บทบาทของดนตรีในเทศกาลบิฮู บทความวิชาการนี้พบว่า บิฮู คือ เทศกาลที่ได้รับความนิยม ธำรงอัตลักษณ์ทางดนตรีและวัฒนธรรมของชาวอัสสัมจัดขึ้นเฉพาะในรัฐอัสสัม ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวอัสสัม เป็นช่วงเวลาของการเฉลิมฉลอง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ การเริ่มต้นวันแรกของปีปฏิทินของชาวอัสสัม รวมทั้งยังมีการเฉลิมฉลองของชาวอัสสัมในต่างประเทศ ซึ่งเป็นบุคคลพลัดถิ่นที่อาศัยอยู่ทั่วโลกด้วย ในหนึ่งปีจะมีการจัดแสดงบิฮู 3 ครั้ง โดยแบ่งตามช่วงเวลาดังนี้  รอนกาลิ หรือ บอฮัค บิฮู  จัดขึ้นในช่วงกลางเดือนเมษายน กาติบิฮู จัดขึ้นในช่วงกลางเดือนตุลาคม มัค บิฮู จัดขึ้นในช่วงกลางเดือนมกราคม ซึ่งประกอบไปด้วยการร้องเพลง การเต้นรำ และดนตรี ช่วยสร้างบรรยากาศที่สนุกสนานรื่นเริงให้กับคนในรัฐอัสสัมอย่างมาก ดนตรีในเทศกาลบิฮูประกอบด้วยเครื่องดนตรีพื้นบ้าน ดังนี้ ดอล (Dhol) ปีปา (Pepa) โกวโกวนา (Gogona) โตวก้า (Toka)  บาฮิ (Baahi) ทอล (Taal) เมนจิรา (Manjira) ซึ่งเป็นสิ่งแสดงตัวตนของชาวอัสสัมอย่างเด่นชัดนอกจากนี้ดนตรีในเทศกาลบิฮูยังแสดงให้เห็นถึงบทบาทสำคัญ 4 ด้าน ได้แก่ 1) บทเพลงสะท้อนภาพลักษณ์และอัตลักษณ์ของชาวอัสสัม 2) บรรเลงเพื่อความบันเทิงในเทศกาลบิฮู 3) บทบาทด้านการสืบสานและอนุรักษ์ดนตรีของชาวอัสสัม 4) บทบาทด้านการสร้างความเข้มแข็งและความสามัคคีของชุมชน

References

ฉลาดชาย รมิตานนท์. (2542). คนกับอัตลักษณ์ 2 ใน เอกสารประกอบการประชุมประจำปีทางมานุษยวิทยา วันที่ 27–29 มีนาคม 2545. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินทร. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินทร.

ดำรงพล อินทจันทร์. (2545). การฟื้นฟูวัฒนธรรมของไทอาหมในรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย. วิทยานิพนธ์สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภาวิณี ธีรวุฒิ. (2561). เครื่องดนตรี Baahi. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ : สาขามานุษยดุริยางควิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ภาวิณี ธีรวุฒิ. (2561). เครื่องดนตรี Dhol. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ : สาขามานุษยดุริยางควิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ภาวิณี ธีรวุฒิ. (2561). เครื่องดนตรี Gogona. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ : สาขามานุษยดุริยางควิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ภาวิณี ธีรวุฒิ. (2561). เครื่องดนตรี Taal. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ : สาขามานุษยดุริยางควิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ภาวิณี ธีรวุฒิ. (2561). เครื่องดนตรี Toka. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ : สาขามานุษยดุริยางควิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ภาวิณี ธีรวุฒิ. (2561). การแต่งกายชุดพื้นถิ่นผู้ชาย. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ : สาขามานุษยดุริยางควิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ภาวิณี ธีรวุฒิ. (2561). การแต่งกายชุดพื้นถิ่นผู้หญิง. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ : สาขามานุษยดุริยางควิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ภาวิณี ธีรวุฒิ. (2561). การแสดงบิฮูโดยผู้ชาย. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ : สาขามานุษยดุริยางควิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ภาวิณี ธีรวุฒิ. (2561). อาหารในเทศกาลบิฮู. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ : สาขามานุษยดุริยางควิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2546). อัตลักษณ์. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

Barua, P. (2561). ผู้เข้าร่วมงานเทศกาลบิฮู. (สัมภาษณ์, 15 เมษายน 2561).

Chaosing, C.S. (2561). ผู้เข้าร่วมงานเทศกาลบิฮู. (สัมภาษณ์, 15 เมษายน 2561).

Kheshgi, R. (2016). Sounding Rural Modernities : Gender, Performance, and the Body in Assam, India. Doctoral dissertation, The Faculty of The Division of The Humanities. The University Of Chicago.

Traveldealsfinder. (2558). แผนที่รัฐอัสสัม. ค้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2561. จาก https://www.traveldealsfinder.com/assam-maps.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-30