การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยสถานการณ์ที่หลากหลายเพื่อพัฒนาทักษะภาษาจีนรายวิชานิทานสุภาษิตจีน โรงเรียนกวงหมิงหัวเฉียว อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • He Wei สาขาวิชาการสอนภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • สหัทยา สิทธิวิเศษ สาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ดนุพงศ์ ชีวินวิไลพร สาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

รูปแบบการเรียนการสอนด้วยสถานการณ์ที่หลากหลาย , ทักษะภาษาจีน, วิชานิทานสุภาษิตจีน, มัธยมศึกษาในประเทศไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้วิชานิทานสุภาษิตจีนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนด้วยสถานการณ์ที่หลากหลายของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนกวงหมิงหัวเฉียว ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนวิชานิทานสุภาษิตจีน โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนด้วยสถานการณ์ที่หลากหลายและเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิชานิทานสุภาษิตจีนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนด้วยสถานการณ์ที่หลากหลาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนห้อง 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนกวงหมิงหัวเฉียว อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย จำนวน 20 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้วิชานิทานสุภาษิตจีน รูปแบบการเรียนการสอนด้วยสถานการณ์ที่หลากหลาย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การหาประสิทธิภาพ E1/E2 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัย พบว่า ประสิทธิภาพของแผนการเรียน มีค่าเท่ากับ 84.38/86.92 คือ มีประสิทธิภาพของกระบวนการเท่ากับ 84.38 และมีประสิทธิภาพของผลลัพธ์เท่ากับ 86.92 เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 80/80 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้วิชานิทานสุภาษิตจีนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบสร้างสถานการณ์ที่หลากหลายของนักเรียน สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนด้วยสถานการณ์ที่หลากหลาย อยู่ในระดับมากที่สุดค่าเฉลี่ย (x̄ = 4.65) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. = 0.25)

References

Feng, W. (2021). Teaching design of the elementary comprehensive Chinese course “Zoo” for Thai primary school students based on situational teaching method. [Master’s degree thesis, Heilongjiang University].

Finocchiaro, M., & Brumfit, C. (1983). The fictional-National Approach: From theory to Practice. Oxford University Press.

Hymes, D. (1974). Foundations in sociolinguistics. University of Pennsylvania Press.

Krashen, S. D. (1981). Second Language acquisition and second language learning. Pergamon Press.

Krashen, S. D., & Terrell, T. D. (1983). The natural approach. Language acquisition in the classroom. Pergamon Press.

Sayyos, L., & Sayyos, A. (1997). Educational Research Techniques. (4th ed.). Sueksapon.

Sikabundit, S. (1985). Educational Technology. King Mongkut’s University of Technology North Bangkok.

Wang, X. (2020). The application of situational teaching method in the modern Chinese course of Chinese International Education major. [Master’s degree thesis, Heilongjiang University].

Wang, Y. (2021). Application of situational teaching method in teaching Chinese vocabulary as a foreign language. [Master’s degree thesis, Shaanxi University of Science and Technology].

Worakham, P. (2009). Educational Research. Prasarn.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-02