การพัฒนาสื่อการเรียนรู้บนโมบายแอพลิเคชั่นเพื่อพัฒนาทักษะและความรู้ด้านภาษาในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

ผู้แต่ง

  • สหัทยา สิทธิวิเศษ โปรแกรมวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

สื่อการเรียนรู้บนโมบายแอพพิเคชั่น, การพัฒนาสื่อ, การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน, The training modules in Chinese and English through mobile application, The development of training modules

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้ภาษาจีนและภาษาอังกฤษสำหรับหน่วยงานในจังหวัดเชียงรายเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนผ่านโมบายแอพพลิเคชั่นให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้สื่อการเรียนรู้ภาษาจีนและภาษาอังกฤษสำหรับหน่วยงานในจังหวัดเชียงรายเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนผ่านโมบายแอพพลิเคชั่น 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้สื่อการเรียนรู้ภาษาจีนและภาษาอังกฤษสำหรับหน่วยงานในจังหวัดเชียงรายเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนผ่านโมบายแอพพลิเคชั่น และในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยดังนี้คือ 1) สื่อการเรียนรู้ภาษาจีนและภาษาอังกฤษสำหรับหน่วยงานในจังหวัดเชียงรายเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนผ่านโมบายแอพพลิเคชั่น 2) แบบทดสอบก่อนฝึกอบรมและแบบทดสอบหลังฝึกอบรม 3) แบบสอบถามความพึงพอใจผลการใช้สื่อการเรียนรู้ ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อการเรียนรู้ภาษาจีนและภาษาอังกฤษสำหรับหน่วยงานในจังหวัดเชียงรายเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนผ่านโมบายแอพพลิเคชั่นมีผลประสิทธิภาพของคะแนนซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละในการทำกิจกรรมระหว่างเรียน (E1) และผลประสิทธิภาพของคะแนนซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละในการทำแบบทดสอบหลังเรียน(E2) ของสื่อการเรียนรู้ภาษาจีนมีค่าเท่ากับ 85.36/80.18 และค่าประสิทธิภาพสื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเท่ากับ 89.86/83.07 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ทั้งสองภาษา 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้สื่อการเรียนรู้ภาษาจีนและภาษาอังกฤษสำหรับหน่วยงานในจังหวัดเชียงรายเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนผ่านโมบายแอพพลิเคชั่น สูงกว่าก่อนการได้รับการใช้สื่อการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งสองภาษา 3) ความพึงพอใจของบุคลากรในหน่วยงานจังหวัดเชียงรายที่มีต่อการใช้สื่อการเรียนรู้ภาษาจีนและภาษาอังกฤษสำหรับหน่วยงานในจังหวัดเชียงรายเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนผ่านโมบายแอพพลิเคชั่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) เท่ากับ 4.75 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.36

References

เชียรศรี วิวิธสิริ. (2534). จิตวิทยาการเรียนรู้ของผู้ใหญ่. กรุงเทพฯ : ภาควิชาการศึกษาผู้ใหญ่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

นภาภรณ์ ธัญญา. (2552). การพัฒนาบทเรียนอิเลคทรอนิกส์ออนไลน์วิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนเบญจมราชาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

บทสรุปผู้บริหารโครงการพัฒนาเมืองหน้าด่านวัฒนธรรม อำเภอเชียงของ. (ม.ป.ป.). ค้นเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2557. จาก www.m-culture.go.th/chiangrai/ images/2.10/ 2.10.3/3.%20-.pdf

ปาน กิมปี และกรรณิการ์ แย้มเกสร. (2533). การจัดประชุมการศึกษานอกระบบและเทคโนโลยีในการฝึกอบรม. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาหลักการเรียนรู้และเทคนิคการฝึกอบรม หน่วยที่ 9-15. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พระมหาศุภชัย และคนอื่นๆ. (2554). การศึกษาศตวรรษที่ 21. ค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2557. จาก http://phd.mbuisc.ac.th/academic/khawanjai2.pdf

วัชรพล วิบูลยศริน. (2556). นวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนภาษาไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิลัยพร ไชยสิทธิ์. (2554). รายงานผลการวิจัย เรื่อง การพัฒนาแอพพลิเคชั่นฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์บนเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตสาหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. ราชบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

ศันสนีย์ สังสรรค์อนันต์. (2555, กรกฎาคม – ธันวาคม). การพัฒนาชุดฝึกอบรมผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง หลักการออกแบบบทเรียนออนไลน์สำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ว.พัฒนาการเรียนการสอนมหาวิทยาลัยรังสิต, (2), 56-71.

สหัทยา สิทธิวิเศษ และคนอื่นๆ. (2557). การพัฒนาชุดฝึกอบรมภาษาจีนและภาษาอังกฤษสำหรับหน่วยงานในจังหวัดเชียงรายเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. เชียงราย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

Clark, D. (2003). Instructional System Design-Analysis Phase. Retrieved October 2003. From http://www.nwlink.com/hrd/sat2.html.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-06-25