การใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงเพื่อพัฒนาสื่อการเรียนวิชาภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

ผู้แต่ง

  • ปิยะ ถิรพันธุ์เมธี สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
  • พัธรวัลย์ แซ่เฮ้ง สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

คำสำคัญ:

เทคโนโลยีเสมือนจริง, สื่อการเรียนวิชาภาษาไทย, การพัฒนาสื่อการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนประกอบวิชาภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 สื่อการเรียนประกอบวิชาภาษาไทยโดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงที่พัฒนาขึ้นนี้เป็นการนำเทคโนโลยีเสมือนจริงมาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการเรียนรู้วิชาภาษาไทย โดยใช้การทำงานบนแท็บเล็ตเพื่อให้สื่อการเรียนมีความน่าสนใจและช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนของสื่อเทคโนโลยีเสมือนจริง มีการแสดงข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวในลักษณะตามเวลาจริง และ ส่วนแบบทดสอบเป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ทำงานบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ โดยผู้เรียนสามารถเลือกทำแบบทดสอบและตรวจสอบคะแนนได้ด้วยตนเอง กลุ่มตัวอย่าง
ที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านห้วยมะไฟ จังหวัดชลบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประเมินประสิทธิภาพของสื่อการเรียน แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ การหาประสิทธิภาพของสื่อการเรียน ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า สื่อการเรียนวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน (ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.74, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.27) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.12/86.21 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยสื่อการเรียนที่พัฒนาขึ้นหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.67

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). โครงการแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาไทย. ค้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2557. จาก http://www.otpc.in.th

กานดา พูนลาภทวี. (2530). สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ : ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และคนอื่นๆ. (2540). ระบบสื่อการสอน เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยี และสื่อสารศึกษา หน่วยที่ 1-5. (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไตเต็ด.

นุชนารถ บัวพันธุ์. (2551). รายงานผลการสร้างและพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา ง 30101 งานบ้าน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง อาหารจานเดียวพื้นเมืองตราด โรงเรียนสตรีประเสริฐศิลป์. ตราด : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์.

พิกุล ปักษ์สังคะเนย์. (2554). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ชีวิตพืชและสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ไพฑูรย์ ศรีฟ้า. (2553). เทคโนโลยีเสมือนจริง. ค้นเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2557. จาก http://www.drpaitoon.com/wp-content/Documents/AR/prochure.pdf

โรงเรียนบ้านห้วยมะไฟ. (2557). โครงสร้างหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. ชลบุรี : ม.ป.พ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559. ค้นเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2557. จาก http://www.nesdb.go.th

Azuma, R.T. (1997). A survey of Augmented Reality. Malibu : Hughes Research Laboratories.

Lee, H., et al. (2007). Human Machine Interface with Augmented Reality for the Network Based Mobile Robot. Korea : Korea Institute of Science and Technology.

Silva, R., Oliverira, J.C. and Giraldi, G.A. (2003). Introduction to Augmented Reality. Quitandinha : National Laboratory for Scientific Computation.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-06-25