การใช้กิจกรรมการฝึกวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 ในการพัฒนาคุณลักษณะด้านคุณธรรมและจริยธรรม ของนักศึกษานิเทศศาสตร์ ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
คำสำคัญ:
วิปัสสนา, การพัฒนาตนเอง, การพัฒนาจริยธรรม, ทักษะชีวิตบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการใช้กิจกรรมการฝึกวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 เป็นช่องทางการสื่อสารและเพื่อพัฒนาความรู้ ทัศนคติ
เชาวน์ อารมณ์และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และความคงทนในการพัฒนาคุณลักษณะด้านคุณธรรมและจริยธรรม โดยศึกษาจากประชากรจำนวน 140 คน
เป็นนักศึกษานิเทศศาสตร์ ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาที่เข้าร่วมในโครงการนิเทศศาสตร์อบรมธรรมะ เพื่อถวายแด่พ่อหลวง ณ วัดภัททันตะอาสภาราม อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน แบบสอบถามคุณลักษณะส่วนบุคคล แบบวัดระดับความรู้ ทัศนคติ เชาวน์อารมณ์ และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงทดลองด้วยการวัด 3 ครั้ง คือ 1) ก่อนเข้าร่วมโครงการ 2) หลังสิ้นสุดโครงการ และ 3) หลังสิ้นสุดโครงการแล้ว 4 สัปดาห์ จากนั้นนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) การวิเคราะห์ความสอดคล้องด้วยค่าไคสแควร์ และความสัมพันธ์จากค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักศึกษาที่เข้าร่วมการอบรมในโครงการนี้ มีความรู้ในภาพรวมเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการเข้าร่วมการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความคงทนของความรู้ในภาพรวม 2. ความรู้ ทัศนคติ และเชาวน์อารมณ์ มีความสัมพันธ์กัน 3. ความแตกต่างด้านเพศ ชั้นปีที่ศึกษา และการปฏิบัติธรรมมาก่อน ไม่มีผลต่อพัฒนาการด้านระดับความรู้ ทัศนคติ เชาวน์อารมณ์และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง
References
ญาณสังวร, สมเด็จพระ. (2546). วิธีสร้างบุญบารมี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์รุ่งเรืองวิริยะพัฒนา.
ญาณิศา รัตนฤกษ์วศิน. (2551). การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานกับการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ บุคลิกภาพและพฤติกรรมการสื่อสาร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการสื่อสารและการพัฒนา มหาวิทยาลัยมหิดล.
ทัศนีย์ จันทร. (2531). เอกสารการสอนชุดวิชา: สื่อสารเพื่อการพัฒนา หน่วยที่ 9-15. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ธนวดี บุญลือ. (2529). เอกสารการสอนชุดวิชา: หลักและทฤษฎีการสื่อสาร หน่วยที่ 1-8. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พรสวรรค์ ตั้งเมตตาจิตตกุล. (2553). โครงการนิเทศศาสตร์อบรมธรรมะเพื่อถวายแด่พ่อหลวงและการพัฒนาบุคลิกภาพเพื่องานนิเทศศาสตร์ของนิสิตโปรแกรมวิชา
นิเทศศาสตร์ ว.วิชาการคณะวิทยาการจัดการ. 1 (1), 167-179.
พระครูภาวนาวราลังการ วิ. (โสรโท ภิกฺขุ). พระวิปัสสนาจารย์ เจ้าอาวาสวัดภัททันตะอาสภาราม อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี. (2555, 28 ธันวาคม) สัมภาษณ์.
พระธรรมสิงหบุราจารย์. (ม.ป.ป.). กฎแห่งกรรมและวิธีใช้หนี้พ่อแม่. กรุงเทพฯ : เลี่ยงเชียง.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. ราชกิจจานุเบกษา. ฉบับกฤษฎีกา. เล่มที่ 116 ตอนที่ 74ก (19 สิงหาคม 2542), หน้า 23.
พระราชสิทธิมุนี วิ.(บุญชิต จิตฺตสงฺวโร) พระวิปัสสนาจารย์ อาจารย์ประจำคณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร (2556, 18 มีนาคม) สัมภาษณ์.
พระศรีวิสุทธิกวี. (2526). หลักธรรมสeหรับพัฒนาจิต ภาคที่หนึ่ง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรมการศาสนา.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่มที่ 10. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วรินทิพย์ หมี้แสน. (2543). ผลของการฝึกสมาธิตามแนวสติปัฏฐาน 4 ที่มีต่อเชาวน์อารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ตาก. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสาวลักษณ์ ศรีสุวรรณ. (2555). กระบวนการสร้างสารธรรมะผ่านสื่อของบุคคลที่มีชื่อเสียง. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Coopersmith, S. (1981). The Antecedents of Self-Esteem. California : Consulting Psychologists Press.
Goleman, D. (1999). Working with Emotional Intelligence. New York : Bantam Books.
Kate, E. & P.E. Lazarsfeld. (1955). Personal Influence. New York : Free Pres.
Likert, R. (1932). A Technique for the Measurement of Attitudes : Archives of Psychology. New York : S.N.
Lawshe, E.H. (1975). A Quantitative Approach to Content Validity : Personal Psychology. 28, 563-575.
Rogers, E.M. &, F.F. Shoemaker (1971). Communication of Innovation : A Cross Cultural Approach. New York : Free Press.
Salovey, P. & J. Mayer. (1989-1990). Emotional Intelligence : Imagination, Cognition and Personality. 9 (3), 185-211.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.