แนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่สู่การแปรรูปรัฐวิสาหกิจไทย
คำสำคัญ:
การจัดการภาครัฐแนวใหม่, การแปรรูปรัฐวิสาหกิจบทคัดย่อ
การเปลี่ยนแปลงยุคโลกาภิวัฒน์ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ส่งผลให้การบริหารแบบเก่าที่เน้นกฎระเบียบเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาและมีความล้าสมัย ไม่มีความยืดหยุ่นทางการบริหาร เมื่อต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงองค์การก็ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ จนนำมาสู่การนำเสนอแนวความคิดการรูปแบบจัดการภาคเอกชนมาใช้ในการบริหารภาครัฐเพื่อการจัดการที่มีความยืดหยุ่น ผ่อนคลายกฎระเบียบ และเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการภาครัฐมากขึ้น การเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในหน่วยงานภาครัฐหรือการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ภายใต้แนวความคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management : NPM) โดยการนำแนวความคิดเชิงเศรษฐศาสตร์สถาบันใหม่ ประกอบด้วย ลัทธิจัดการนิยม ทางเลือกสาธารณะ และทฤษฎีตัวการตัวแทน มาเป็นแนวทางการบริหารงานภาครัฐ มีลักษณะการจัดการในรูปแบบกลไกการตลาด ลดขนาดขององค์การให้มีขนาดเล็กลงเพื่อความคล่องตัวในทางการบริหาร ด้วยการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในหน่วยงานภาครัฐหรือการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ แต่ทั้งนี้การจัดการภาครัฐแนวใหม่อาจส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบต่อการบริหารระบบราชการและการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ดังนั้นจึงต้องมีการเผยแพร่ความรู้ที่ถูกต้องต่อการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อช่วยสร้างความเข้าใจแก่ทุกฝ่าย ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนผ่านในทิศทางการจัดการเชิงกลยุทธ์แบบเอกชนเกิดการแข่งขัน ทำให้สินค้ามีคุณภาพและตรงต่อความต้องการของประชาชน รวมถึงสามารถให้บริการสาธารณะอย่างทั่วถึง เพื่อความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศได้แนวความคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management : NPM) เริ่มมีบทบาทในประเทศไทยหลังจากประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 ทำให้รัฐต้องพิจารณาถึงแนวทางการบริหารใหม่ จึงนำแนวความคิดการลดบทบาทของภาครัฐและการแปรรูปรัฐวิสาหกิจมาใช้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการพัฒนาประเทศ แต่ทั้งนี้การแปรรูปรัฐวิสาหกิจก็มีความแตกต่างกันไป เช่นในการแปรรูปบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่เป็นการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในรัฐวิสาหกิจในด้านการลงทุน และการแปรรูป บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพทางการแข่งขัน และการลงทุนจากภาคเอกชน แต่ทั้งนี้ในการนำแนวความคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่มาใช้ ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งหมด คงยังต้องมีการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทการพัฒนาประเทศต่อไป
References
จุมพล หนิมพานิช. (2550). การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ : หลักการ แนวคิด และกรณีตัวอย่างของประเทศไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 3) . นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ. (2543). แปรรูป แปรเพื่อใคร. กรุงเทพฯ : เอดิสัน- เพรส โปรดักส์.
นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2550). การแปรรูปรัฐวิสาหกิจไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : วิญญูชน.
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน). (2556). รายงานประจำปี พ.ศ.2554-2556. กรุงเทพฯ : ม.ป.พ.
พรายพล คุ้มทรัพย์ และสมัย โกรชินทาคม. (2544). สัมปทานในกินการสาธารณูปโภค. กรุงเทพฯ : ม.ป.พ.
พัชรี สิโรรส และพิจิตรา ศุภสวัสดิ์กุล. (2543). การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ. กรุงเทพฯ : โครงการปริญญาโทสำหรับนักบริหาร สาขาบริหารรัฐกิจ (EPA) คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พิทยา บวรวัฒนา. (2553). รัฐประศาสนศาสตร์ : ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา(ค.ศ.1970-ค.ศ.1980). (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ. (2543, ตุลาคม-ธันวาคม). ว.นโยบายพลังงาน (50). ค้นเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2558. จาก http://www.eppo.go.th/vrs/VRS50-08-Privatisn.html.
สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ. (2544). การปฏิรูประบบราชการของต่างประเทศ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สหมิตรพริ้นติ้ง.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2551). แผนพัฒนเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่1-10 พ.ศ. 2504-2559. ค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2557 จาก http://www.nesdb.go.th/Default.aspx?tabid = 83
Handbook of Public Management. (n.d.). Oxford : Oxfrd University Press.
Henry, N. (1995). Public Administration and Public Affairs. (5th ed.). Englewood Cliffs, NJ : Prentice-Hall.
Hood. (1991, Spring). A new public management for all seasons?. Public Administration, 69.
Hughes, O. E. (2003). Public Management & Administration: An Introduction. (3rd ed.). New York : Palgrave Macmillan.
Kettl. (2005). The Global Public Management revolution. (2nd ed.) n.p. : The Brookings Institution.
Lane. (2000). The public sector concepts, models and Approaches. (3rd ed.). London. : SAGE.
Lynn, Jr., L. E. (2005). Public management a concise history of the field, in Field, E., Lynn, Jr, L. E. & Pollitt, C. (Eds). In The Oxford Handbook of Public Management. Oxford : Oxford University Press.
Osborne & Ted G.. (1993). Reinventing Government : How The Entrepreneurial Spirit is Transforming the Public Sector. Reading, Mass. : Addison-Wasley.
Rhodes. (1996). The New Governance : Governing without Government. (Political Studies). Newcastle : n.p.
Savas, E. S. (1987). Privatization : The Key to Better Government. Chatham, NJ. : Chatham House.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.