กระบวนการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ร่วมสมัย

ผู้แต่ง

  • ธนกร สรรย์วราภิภู สาขาวิชานาฏยศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ บ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

นาฏยศิลป์ร่วมสมัย, วัตถุดิบการเคลื่อนไหว, กระบวนการสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

นาฏยศิลป์ร่วมสมัย คือ รูปแบบนาฏยศิลป์ที่มีความอิสระมากขึ้น โดยมุ่งสู่การแสดง บริบททางสังคม เป็นนาฏยศิลป์ที่ถูกพัฒนามาจากแนวคิดของนาฏยศิลป์สมัยใหม่ ปราศจากลำดับขั้นของนักเต้น สามารถแสดงได้ทุกที่ และควรเกิดจากการทดลองเพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ที่ สร้างสรรค์ทั้งในรูปแบบของการเคลื่อนไหว แนวความคิดหรือ องค์ประกอบในการสร้างสรรค์ มีอิสระในการตีความทั้งต่อตัวผู้สร้างสรรค์ผลงานและผู้ชม ถึงแม้ว่าแนวคิดในนาฏยศิลป์ ร่วมสมัยจะมีความอิสระมากเพียงใดแต่ในแง่ของกระบวนการสร้างสรรค์จำเป็นต้องมีแบบแผน ในการดำเนินงานทั้งในการค้นหาวัตถุดิบในการเคลื่อนไหวที่ต้องอาศัยปัจจัยต่างๆ เข้ามา กระตุ้น จนถึงเครื่องมือและองค์ประกอบของการสร้างสรรค์ผลงานนาฏศิลป์ร่วมสมัย โดย ผู้ศึกษาได้ค้นคว้าข้อมูลทั้งจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางนาฏยศิลป์ร่วมสมัย เอกสารการ สร้างสรรค์ผลงานทางนาฏยศิลป์ร่วมสมัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวบรวมสู่กระบวนการ ในการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ร่วมสมัยที่สามารถนำไปปรับใช้และสร้างสรรค์ผลงานทางนาฏยศิลป์ร่วมสมัยที่มีมุ่งเน้นการสะท้อนประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในรูปแบบของผู้สร้างสรรค์ ผลงานได้อย่างมีลำดับขั้นตอน

References

คมชวัชร์ พสูริจันทร์แดง. อาจารย์ประจำสาขาวิชานาฏยศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จ เจ้าพระยา. (สัมภาษณ์, 6 มีนาคม 2559).

นราพงษ์ จรัสศรี. (2548). ศิลปินโพสต์โมเดอร์นดานซ์. ใน ประวัติศาสตร์นาฏศิลป์ตะวันตก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรารมย์ ปัจฉิมสวัสดิ์. สถาบัน Dance Center. (สัมภาษณ์, 7 มีนาคม2559).

วีระพงษ์ ดรละคร. สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. (สัมภาษณ์, 10 มีนาคม 2559).

ศิริมงคล นาฏยกุล. (2557). นาฏยศิลป์ตะวันตกปริทัศน์. มหาสารคาม : คลังนานาวิทยา.

Butterworth, J. & L.Wildschut. (2009). Contemporary Choreography : A Critical Reader. New York : Routledge.

Del Pilar Naranjo Rico, M.. (2011). The Handy E-book of Contemporary Dance History. Retrieved 14 July 2015. From : http://www.contemporary-dance.org.

Kim, S. Korea National University of Arts. (Interview, 14 May 2014).

Kinesphere. (2016). Retrieved 10 March 2016. From : http://bes.k-myo.com

Konie, R. (2011). A Brief Overview of Laban Movement Analysis, CLMA. Retrieved 1 July 2015. From: http://www.movementhasmeaning.com

Lepecki, A. (2012). DANCE : Documents of Contemporary Art. London: Whitechapel Gallery Ventures.

Lightner, B. (2002). Laban Movement. Retrieved 11 July 2015. From : http://www.Stones inwater.com

Maletic, V. (2005). Dance Dynamics Effort & Phrasing. Columbus : Encore.

Merce Cunningham. (2016). Retrieved 10 March 2016. From : http://media2.fdncms.com

Sunavaraphiphu T. , Photographer. (2014). Text for Dance. Bangkok : Rajabhat Bansomdejchaophraya University.

Sunavaraphiphu T. , Photographer. (2014). Find Freedom. Bangkok : Rajabhat Bansomdejchaophraya University.

Urbanity Dance. (2012). Contemporary Dance vs Modern Dance. Retrieved 11 July 2015. From : http://urbanitydance.wordpress.com.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-12-25