กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุในบทร้องร่ายจากพระราชนิพนธ์ เรื่องรามเกียรติ์ในรัชกาลที่ 1

ผู้แต่ง

  • พรรวินท์ ชุนเกษา คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • นิวัฒน์ สุขประเสริฐ คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • อัควิทย์ เรืองรอง สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

รามเกียรติ์, โขน, กระบวนท่ารบ, บทร้องร่าย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษากระบวนท่ารบของตัวละครลิงในเรื่องรามเกียรติ์และกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุในบทร้องร่าย ตามแนวทางของ ครูกรี วรศะริน ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์-โขน) พ.ศ. 2531 ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสาร ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึก และรับการถ่ายทอดกระบวนท่ารบจากนายวิโรจน์ อยู่สวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทยจากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ผู้ได้รับการถ่ายทอดและร่วมประดิษฐ์กระบวนท่ารบ ผลการวิจัย พบว่า กระบวนท่ารบตัวละครลิงในเรื่องรามเกียรติ์ปรากฏใน 3 ลักษณะคือ 1. ในภาพจิตรกรรมฝาผนัง 2. การแสดงหนังใหญ่ในภาพหนังจับ 3. กระบวนท่าลิงรบลิงในการแสดงโขน ทั้งสามลักษณะนี้เมื่อศึกษาแล้วพบว่ามีความเชื่อมโยงในแง่ของอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ กระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุในบทร้องร่าย จากพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 ส่วนกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุในบทร้องร่ายนั้น พบว่า มีกระบวนท่ารบ 14 ท่าแยกลักษณะกระบวนท่ารบออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 1. กระบวนท่ารบที่มีความสัมพันธ์กับคำร้อง 30 ท่า และ 2. กระบวนท่าที่เกิดจากจินตนาการของผู้ประดิษฐ์ 21 ท่า ทุกกระบวนท่ามีโครงสร้างหลัก 3 แบบ คือ 1. กระบวนท่าลิงรบลิง 2.กระบวนท่าพระรบยักษ์ และ 3. กระบวนท่ายักษ์รบลิงเช่นเดียวกับการแสดงโขน แต่รายละเอียดของกระบวนท่ามีความแตกต่างกันเพราะมีลักษณะเด่นอันเป็นลักษณะเฉพาะ คือเป็นกระบวนท่ารบของลิงรบลิงที่มีความประณีต เพราะว่ามีการตีบทที่มีความสัมพันธ์กับคำร้อง และตามจินตนาการอย่างละเอียดลออ ตามบทพระราชนิพนธ์ซึ่งเป็นบทละคร จึงทำให้กระบวนท่ารบนี้มีคุณค่าและน่าสนใจทั้งในแง่ที่เป็นกระบวนท่าที่เกิดจากศิลปินแห่งชาติประดิษฐ์ขึ้น และถ่ายทอดกระบวนท่าโดยผู้เชี่ยวชาญทางนาฏศิลป์ไทย จึงเป็นมรดกภูมิปัญญาทางการแสดง อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาทางนาฏศิลป์

References

กรมศิลปากร (2556). จิตรกรรมรามเกียรติ์วัดสุทัศนเทพวราราม. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์.

ธนิต อยู่โพธิ์. (2539). โขน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

ธีรภัทร์ ทองนิ่ม. (2555). โขน. กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช, พระบาทสมเด็จพระ. (2553). บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เล่มที่ 2. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.

พรรวินท์ ชุนเกษา. (2551). รวมผลงานกระบวนท่าหนุมานรบมัจฉานุในบทร้องร่ายจากพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ในรัชกาลที่ 1. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

ไพโรจน์ ทองคำสุก. (2549). แนวคิด และวิธีแสดงโขนลิง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

วิโรจน์ อยู่สวัสดิ์. ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทยโขนลิง สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. (สัมภาษณ์, 13 กุมภาพันธ์ 2564).

สันต์ ท. โกมลบุตร. (2510). จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม. นนทบุรี: โสภน.

สุกัญญา ภัทราชัย และคณะ. (2540). การแสดงพื้นบ้านภาคกลาง: การปรับปรนในชีวิตไทยสมัยใหม่. (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ. (2555). ครูกรี วรศะริน ศิลปินแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง.

สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. (2551). หนังสือประกอบนิทรรศการพิเศษเหลียวหน้าแลหลัง. กรุงเทพฯ: บางกอก อิน เฮ้าส์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-26