การพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อของนักศึกษามหาวิทยาลัยสวนดุสิตภายใต้วาทกรรมเพื่อสุขภาพในโฆษณา
คำสำคัญ:
การรู้เท่าทันสื่อโฆษณา, วาทกรรมเพื่อสุขภาพ, โฆษณากับสุขภาพบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ภายใต้วาทกรรมเพื่อสุขภาพในโฆษณา มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การรู้เท่าทันสื่อของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ภายใต้วาทกรรมเพื่อสุขภาพในโฆษณาใน 3 องค์ประกอบคือ การเข้าถึงสาร (Access) การวิเคราะห์สาร (Analyze) และการประเมินสาร (Evaluation) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีวิทยา (Mixed Methodology) ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research Method) ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนการวัดผลการรู้เท่าทันสื่อของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ภายใต้วาทกรรมเพื่อสุขภาพในโฆษณาแบบรูบริค โดยรวมมีคุณภาพของการรู้เท่าทันสื่อในระดับดี ค่าเฉลี่ย 88.11 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.125 และ 2) กลุ่มนักศึกษาส่วนใหญ่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แยกแยะ และรู้เท่าทันสื่อโฆษณาได้ใน 3 องค์ประกอบคือการเข้าถึงสาร (Access) การวิเคราะห์สาร (Analyze) และการประเมินสาร (Evaluation)โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในองค์ประกอบที่ 2 การวิเคราะห์สาร (Analyze) ที่กลุ่มนักศึกษาสามารถวิเคราะห์ความหมายที่แฝงมากับโฆษณาได้อย่างลึกซึ้ง เช่น ค่านิยมการให้คุณค่ากับผิวขาว ความผอม และความอ่อนเยาว์ที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงในสังคมไทย รวมถึงการสร้างวัฒนธรรมบริโภคนิยม ซึ่งเป็นผลที่เกิดขึ้นในวิถีการผลิตแบบระบบทุนนิยมสมัยใหม่ที่ส่งเสริมให้คนในสังคมบริโภคสินค้าที่เกินความจำเป็น
References
เกศราพร บำรุงชาติ. (2550). การศึกษาเชิงเปรียบเทียบสาเหตุของการรู้เท่าทันสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 สังกัดกรุงเทพมหานคร ที่มีระดับการคิดอย่างมีวิจารณญาณและระดับการตระหนักรู้ตนเองแตกต่างกัน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].
ดวงแก้ว เธียรสวัสดิ์กิจ. (2552). กระบวนการรู้เท่าทันสื่อโฆษณาครีมปรับสีผิวขาวทางโทรทัศน์ของผู้รับสารสตรี. [วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2547). บริโภคโพสโมเดิร์น. กรุงเทพฯ: มติชน.
มาดี ลิ่มสกุล. (2561). การรู้เท่าทันสื่อของเด็กและเยาวชนภายใต้วาทกรรมความสวยในโฆษณาโทรทัศน์. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, 26(2), 59-80.
มูลนิธิสื่อมวลชนศึกษาโครงการเสริมสร้างสื่อมวลชนศึกษาเพื่อสุขภาวะ. (2557). การศึกษาวิเคราะห์สปอตโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามทางวิทยุกระจายเสียงที่ปรากฏในเว็บไซต์. สืบค้น 26 กันยายน 2563, จาก https://www.healthymediahub.com/media/detail/การศึกษาวิเคราะห์สปอตโฆษณาผลิตภัณฑ์-สุขภาพและความงามทางวิทยุกระจายเสียงที่ปรากฏในเว็บไซต์
Fletcher, W. (2010). Advertising: A Very Short Introduction. Oxford: Oxford University Press.
Leiss, et al. (1990). Social Communication in Advertising: Persons, Products and Images of Well-Being. London: Routledge.
Lucy, C. (1996). Consumer Culture. New Brunswick: Rutgers University Press.
Peter, J. P. & Olsen, C. J. (1990). Consumer Behavior and Marketing Strategy. (4th ed). USA: Richard D. Irwin.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.