การศึกษาผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความภาษาไทยโดยวิธีการเรียนแบบกลุ่มสัมพันธ์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนซางตราครู้สคอนแวนท์

ผู้แต่ง

  • จติยากร วุฒิกุล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • อารีวรรณ เอี่ยมสะอาด คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • จิตตวิสุทธิ์ วิมุตติปัญญา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

การอ่านจับใจความภาษาไทย, การเรียนแบบกลุ่มสัมพันธ์, การสอนภาษาไทยในระดับประถมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความภาษาไทยระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยวิธีการสอนแบบกลุ่มสัมพันธ์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนซางตาครู้สคอนแวนท์ และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนซางตาครู้สคอนแวนท์ที่เรียนโดยวิธีการสอนแบบกลุ่มสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 35 คน โรงเรียนซางตราครู้สคอนแวนท์ ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีสำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความภาษาไทยโดยวิธีการเรียนแบบกลุ่มสัมพันธ์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2. ความพึงพอใจการเรียนการอ่านจับใจความภาษาไทยโดยใช้วิธีการเรียนแบบกลุ่มสัมพันธ์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนโรงเรียนซางตราครู้สคอนแวนท์ อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.67, S.D. = .37)

References

กรมวิชาการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

ใจทิพย์ เย็นสุข. (2562). การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษโดยการสอนแบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนคาเบรียล. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา].

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: วงกมล โพรดักชั่น

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ประสานมิตร.

วรรณี แกมเกตุ. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมุทร เซ็นเชาวนิช. (2545). เทคนิคการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2554). วิธีสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. กรุงเทพฯ: เทคนิคพริ้นติ้ง.

สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2545). หลักและวิธีการสอนภาษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

หัสดินทร์ โคทวี. (2542). การใช้กิจกรรมที่เน้นกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ในการพัฒนาความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่].

Barrett, T. C. (1976). Teaching Reading in the Middle-Class Reading. Boston: Addison-Wesley.

Likert, R. (1976). New Patterns of Management. New York: McGraw–Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-22