ศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมจีน เรื่อง “หงเกาเหลียงเจียจู๋” ของโม่เหยียน
คำสำคัญ:
โม่เหยียน, หงเกาเหลียง, ภาพสะท้อนทางสังคม, วัฒนธรรมจีนบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพสะท้อนทางสังคม ด้านวิถีชีวิตวิถีครอบครัว วิถีสังคม แนวคิด และภาพประวัติศาสตร์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา วิธีการวิจัย ได้แก่ ศึกษาวรรณกรรมเรื่อง หงเกาเหลียงเจียจู๋ของโม่เหยียน หลังจากนั้น จึงวิเคราะห์ภาพสะท้อนต่าง ๆ ที่ปรากฏในวรรณกรรม ผลวิจัยพบว่า ชาวไทยและชาวจีนมีการแลกเปลี่ยนทางภาษาและวัฒนธรรมมาช้านาน การศึกษาวรรณกรรมจีนทำให้เข้าใจในวัฒนธรรมจีนด้านต่าง ๆ ด้านวิถีชีวิต แบ่งออกเป็น 3 ประเด็นคือ คุณภาพชีวิตอาชีพ และการคมนาคม ด้านวิถีครอบครัว แบ่งออกเป็นความสัมพันธ์ของบิดามารดาและบุตรและความสัมพันธ์ของสามีภรรยา ด้านวิถีสังคม สะท้อนให้เห็นภาพสังคมชนบทที่มีสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น วัฒนธรรมและประเพณีที่มีอยู่เดิมซึ่งคล้ายคลึงกัน ด้านแนวคิด แบ่งออกเป็น 4 ประเด็นคือ ความกตัญญู ความอดทนอดกลั้น ความเมตตากรุณาและความกล้าหาญ ด้านประวัติศาสตร์สะท้อนผ่านการบรรยายพฤติกรรมและบทสนทนาของตัวละครที่เล่าถึงประวัติศาสตร์จีนในช่วงที่ถูกญี่ปุ่นรุกรานครั้งที่สอง ภาพสะท้อนเหล่านี้เมื่อเทียบกับประเทศจีน ในยุคปัจจุบันแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของการพัฒนาประเทศ การรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกและการเปลี่ยนแปลงทางแนวคิดของผู้คน
References
จิตต์นิภา ศรีไสย์. (2559). วรรณคดีและวรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.). กรุงเทพฯ: พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.).
จิตรลดา แสงปัญญา. (2553, มกราคม - มิถุนายน). บทวิจารณ์หนังสือหลั่งเลือดที่นานกิง. วารสารศิลปศาสตร์. 2(1), 90-96.
ตรีศิลป์ บุญขจร. (2542). นวนิยายกับสังคมไทย 2475 – 2500. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นัยน์พัศ อธิษฐ์พัส. (2561). ความย้อนแย้งแห่งเสรีภาพในนวนิยายเรื่อง ความฝันในหอแดง และนวนิยายของมั่วเหยียน. [วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].
ปณชัยรัศมิ์ องค์อมรรัตน์. (2557). “สามบุตรีแห่งจีน”: การวิพากษ์สังคมและวัฒนธรรมจีนใน ไวลด์ สวอนส์ ของ จุง ชาง. [วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].
ประเทืองพร วิรัชโภคี. (2557). ตำนานรักทุ่งสีเพลิง. กรุงเทพฯ: เอโนเวล.
รัตนาวดี ปาแปง. (2556). ลักษณะเด่นและคุณค่าของวรรณกรรมแนวสัจนิยมมหัศจรรย์ในบริบทสังคมไทย. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่].
รัตนาภรณ์ เหล่ายิ่งเจริญ. (2553). อดีตเล่าใหม่:การวิพากษ์สังคมและการเมืองจีนในนวนิยายยุคหลังการปกครองของเหมาเจ๋อตง.[วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].
ศุลีพร มกรานุรักษ์ (2552).มองวิวัฒนาการสังคมไทยจากนวนิยายเรื่อง “สี่แผ่นดิน”. ศิลปศาสตร์ปริทัศน์. 4(8), 76.
สุรชัย ศิริไกร. (2557, ตุลาคม - มีนาคม). ชนวนความขัดแย้งของจีนและญี่ปุ่นจากสงครามโลก ครั้งที่สองสู่ข้อพิพาทหมู่เกาะเตียวหวี. วารสารญี่ปุ่นศึกษา. 31(2), 1-14.
CRI ONLINE. (2555). มารู้จักโม่เหยียน นักเขียนจีน เจ้าของโนเบลสาขาวรรณกรรมประจำปี 2012. สืบค้น 12 กรกฎาคม 2564, จาก http://thai.cri.cn/247/2012/10/23/102s203440.html.
莫言.(2015).红高粱家族.上海文艺出版社. 齐金花.(2017). 莫言的幻觉现实主义形成及其本土化建构. 扬州大学文学院博士生.江苏社会科学, 202-207.
宋相辉.(2013).《红高粱家族》的艺术特色研究.师范学院中文系汉语言文学. สืบค้น 12 กรกฎาคม 2564, จาก http://www.qikan.com.cn.
山东大学.(2021).山东大学丛新强教授莫言研究系列成果之七:《论<红高粱家族>的“抗战”“情爱”与“历史观”》.山东大学莫言与国际文学艺术研究中心.
童鞋.(2019).莫言小说《红高粱家族》中性描写对人物塑造的作用研究. สืบค้น 12 กรกฎาคม 2564, จาก http://www.txlunwenw.com.
王晓宇.(2019). 民间生命的张扬与新生——《红高粱家族》和 《静静的顿河》类型学比较.中国社会科学院外 国文学研究所. 北京第二外国语学院学报. 41(6), 95-105.
王雪瑞.(2016).《双城记》与《红高粱家族》红色象征意义的对比分析.北京师范大学.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.