หลักการและขั้นตอนการปรับใช้วิธีวะสะฏียะฮ์ในประเทศไทย
คำสำคัญ:
หลักการ, การประยุกต์, วิธีวะสะฏียะฮ์บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาเกี่ยวกับหลักการและขั้นตอนการประยุกต์แนวทางวะสะฏียะฮ์ ในประเทศไทย โดยงานวิจัยฉบับนี้ได้ทำการศึกษาข้อมูลจากบทบัญญัติแห่งคัมภีร์อัลกุรอาน อัลหะดีษ ทัศนะของบรรดาปราชญ์อิสลาม นักวิชาการอิสลามที่ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว และกฎเกณฑ์ทางด้านนิติศาสตร์อิสลาม เช่น มะกอศิดชะรีอะฮ์ อุศูลุลฟิกฮ์ เกาะวาอิดอัลฟิกฮียะฮ์ ฟิกฮ์ฮุ้ลวากิอียะฮ์ ฟิกฮ์ฮุ้ลเอาละวียะฮ์และฟิกฮ์ฮุ้ลอะก้อลลียะฮ์ และข้อมูลอีกส่วนหนึ่งมาจากการสัมภาษณ์เชิงลึกของผู้ก่อตั้งและผู้กำหนดนโยบายขององค์กรวะสะฏียะฮ์ ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวทางอัลวะสะฏียะฮ์มีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 6 ประการ คือ 1) ความดีเลิศ 2) ความยุติธรรม 3) ความสมดุล 4) ความซื่อสัตย์ต่อหลักธรรม 5) ความเรียบง่าย 6) ความฉลาดในการคิดไตร่ตรอง 2. อัลวะสะฏียะฮ์ในการประยุกต์ในบริบทของสังคมไทย ต้องวางอยู่บนหลักการของฟิกฮ์ฮุ้ลอะก้อลลียะฮ์ คือ 1) การป้องกันอันตราย 2) การปกป้องผลดีที่จะเกิดขึ้น 3) ความยืดหยุ่น 4) การจัดลำดับความสำคัญของบัญญัติอิสลาม 5) ความเหมาะสม (กาละเทศะ) 6) การประเมินถึงผลดีและผลเสีย
References
พรอุษา ประสงค์วรรณะ. (2556). การศึกษาชุมชนต้นแบบต่างศาสนาที่อยู่ร่วมกันอย่างสันติในแขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร. [พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย].
รัตติยา สาและ. (2547). การปฏิสัมพันธ์ระหว่างศาสนิกที่ปรากฏในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
เรณุมาศ รอดเนียม. (2556). ความกลมกลืนทางวัฒนธรรมในชุมชนสองศาสนา: กรณีศึกษาชุมชนตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์].
ลดาวัลย์ แก้วสีนวล. (2547). การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม: กรณีศึกษาชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมในพื้นที่ 3 จังหวัด (ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส). [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่].
สุชาติ เศรษฐมาลินี. (2558). การสร้างสันติภาพในสังคมพหุลักษณ์ทางศาสนาชาติพันธุ์: กรณีศึกษาชุมชนมุสลิมในภาคเหนือของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
อมรา พงศาพิชญ์. (2543). ความหลากหลายทางวัฒนธรรม (กระบวนทัศน์และบทบาทในประชาสังคม). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อับดุลเลาะ หนุ่มสุข. (ม.ป.ป.). หลักทางสายกลาง (الوسطية) ในอัลกุรอานและอัลฮะดีษ. กรุงเทพฯ: สถาบันวะสะฏียะฮ์เพื่อสันติภาพและการพัฒนา สำนักจุฬาราชมนตรี.
อาดิศร์ อิดรีส รักษมณี. (2557). การศึกษามโนทัศน์ของชาวสยามที่มีต่อมุสลิมผ่านทางจิตรกรรมฝาผนัง. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.
อิบบรอเฮง อาลฮูเซน. (2561, กรกฎาคม - ธันวาคม). การทำความเข้าใจหลักอัลวะสะฏียยะฮฺและและการนำไปใช้ในชีวิตจริง. วารสาร AL-NUR บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยฟาฏอนี, 13(2), 203 - 222
อิศรา ศานติศาสน์. (2556). การมีวิถีชีวิตร่วมกันของชนต่างศาสนาวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ในกลุ่มประเทศอาเซียน. กรุงเทพฯ: ศูนย์นโยบายโลกมุสลิม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อีสมาแอ กาเต๊ะ. (2561, กรกฎาคม - มิถุนายน). วะสะฎียะฮฺในอิสลามกับการอยู่ร่วมกันท่ามกลางสังคมพหุวัฒนธรรม ด้านความเชื่อและความคิด. วารสารวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 9(1), 32 - 48
Abd Aziz al-Ahmadiy. (2004). Iktilaf al-daryn wa asarahu fiy al- shara’ia al-islamiyah. Jamiat al-Islamiyah, Madina.
Abd Aziz bin Ibrahim al-Omari. (2011). Rasulullah wakhatam alnabiiyn deen wa dawlah. Bairut: bisan li al-Nashrwa al-Tawzy‘i.
Ameen Abdullah al-ShaQawiy. (2015). Al-Muslimoon fiy bilad al-ghrbah. Riyad: Maktabah malik Fahad al-Wataniyyah.
Fiyhaa Ishak Abd Qawasimiy. (2008). al-Washatiyyah fil Islam wal-Quran.
Rania Mohammad Azizr al-NaẒmiy. (2010). al-Washatiyyah fil Tarfiyhi Biynal Mashruạ Wal Mamnuạ.
Saeed Ismael al-Syniy, (2015). Alaqah al-muslimeen bi ghyri al-muslimeen. (3 rd ed.). Madinah: Maktabah malik Fahad al-Wataniyyah.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.