การสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่อง สีในวัฒนธรรมไทย สำหรับนักศึกษาชาวจีน
คำสำคัญ:
หนังสืออ่านเพิ่มเติม, วัฒนธรรมไทย, สี, นักศึกษาจีนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่องสีในวัฒนธรรมไทย สำหรับนักศึกษาชาวจีนให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับนักศึกษาชาวจีน ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยโดยสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติมจำนวน 8 บท ประกอบด้วย บทที่ 1 สีกับอาหาร บทที่ 2 สีกับเครื่องแต่งกาย (ตอนที่ 1) บทที่ 3 สีกับเครื่องแต่งกาย (ตอนที่ 2) บทที่ 4 สีกับสถาบันพระมหากษัตริย์ (ตอนที่ 1) บทที่ 5 สีกับสถาบันพระมหากษัตริย์ (ตอนที่ 2) บทที่ 6 สีในประเพณีไทย บทที่ 7 สีกับสำนวนและบทที่ 8 คำเรียกสี กลุ่มเป้าหมายคือนักศึกษาชาวจีน ระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 วิชาเอกภาษาไทย ผลการวิจัยพบว่า หนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่องสีในวัฒนธรรมไทย สำหรับนักศึกษาชาวจีนมีค่าประสิทธิภาพ 87.6/86.3 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 และมีค่าดัชนีประสิทธิผลคือ 0.81 แสดงว่าหนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่อง สีในวัฒนธรรมไทย สำหรับนักศึกษาชาวจีนมีประสิทธิภาพ นักศึกษามีการพัฒนาจากการอ่านหนังสืออ่านเพิ่มเติมและได้รับความรู้ความเข้าใจด้านภาษาและวัฒนธรรมไทยเกี่ยวกับเรื่องสีมากยิ่งขึ้น
References
ประสาท เนืองเฉลิม. (2556). วิจัยการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นวลทิพย์ เพิ่มเกษร. (2547, พฤศจิกายน). การสอนภาษาและวัฒนธรรมไทยแก่ชาวต่างประเทศ. วรรณวิทัศน์. 4, 268-278.
สุภัทรา อักษรานุเคราะห์. (2532). การสอนทักษะทางภาษาและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: ภาควิชามัธยมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อนันต์ ประภาโส. (2558). ทฤษฎีสี. ปทุมธานี: สิปประภา.
Duan Yuanbing. (2015). Thai Culture in Color. Journal of Yunnan Socialist College. 2(141), 85-105
Lin Xiumei. (2558). ภาษา วรรณคดีไทย และการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ: การเรียนรู้และสร้างสรรค์จากสังคมไทยสู่สังคมโลก ครั้งที่ 2. การประชุมวิชาการระดับชาติ วันที่ 25-26 มิถุนายน 2558 ณ โรงแรม Swissotel te Concorde Bangkok: กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Wang Xinyao. (2001). Color and Culture. Journal of Jianghan University. 18(5), 62-64
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.