ความสำคัญของเพลงในการสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ
คำสำคัญ:
เพลง, ความสำคัญ, การสอน, ชาวต่างชาติบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสำคัญของเพลงในการสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ 2 เรื่อง คือ 1. โอกาสและปัจจัยในการคัดเลือกเพลง 2. การออกเสียงที่ชัดเจนของนักร้องมีผลต่อการคัดเลือกเพลง โดยการสัมภาษณ์และการตอบแบบสอบถามคำถามปลายเปิด วิธีการคัดเลือกเพลงสำหรับผู้เรียนชาวต่างชาติของผู้สอนภาษาไทยให้แก่ผู้เรียนชาวต่างชาติในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลจำนวน 18 คน ได้แก่ อาจารย์ผู้สอนจากมหาวิทยาลัยรัฐบาล มหาวิทยาลัยเอกชน และจากสถาบันการศึกษาการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ ผลการศึกษาพบว่า ผู้สอนมีความคิดเห็นในโอกาสและปัจจัยในการคัดเลือกเพลงไปในทิศทางเดียวกัน และให้ความสำคัญกับการออกเสียงที่ชัดเจนของนักร้องว่ามีผลต่อการคัดเลือกเพลงเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะผู้เรียนในระดับต้นผู้สอนจะให้ความสำคัญกับเสียงร้องที่ชัดเจนมากที่สุด เพราะส่งผลดีต่อการออกเสียงของผู้เรียน หากผู้เรียนอยู่ในระดับสูงผู้สอนจะเลือกเพลงที่มีเนื้อหาและการใช้ภาษาที่เหมาะสมกับระดับการเรียนรู้ภาษาของผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ภาษาไทยตามสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในการคัดเลือกเพลงผู้สอนยังให้ความสำคัญในเนื้อหาที่มีความหมายดีมีความจรรโลงใจ แสดงความเป็นไทย และวัฒนธรรมที่ดีงามของไทยด้วย
References
กุลวรา ชูพงษ์ไพโรจน์. (2539, พฤศจิกายน – เมษายน). สอนภาษาไทยอย่างไรให้สนุก. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 1(2), 8 – 13.
เฉวียน จาง. (2555). การใช้เพลงเพื่อส่งเสริมความเข้าใจคำศัพท์ภาษาไทยของนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่].
ดวงเดือน จิตอารีย์. (2546). การใช้เพลงเพื่อพัฒนาการอ่านออกเสียงคำที่ใช้พยัญชนะ ร ล ว ควบกล้ำของนักเรียนชาวเขาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่].
ทับทิม ชัยชะนะ. (2559). บทบาทของผู้หญิงในเพลงลูกทุ่งร่วมสมัย. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่].
ธัญวรัตน์ คำแหง. (2555). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านสะกดคำโดยใช้เพลงประกอบท่าทาง วิชาภาษาไทย ระดับชั้นประถมปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช].
นวลทิพย์ เพิ่มเกษร. (2548). การจัดหลักสูตรการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. เอกสารประกอบการอบรมการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ ภาควิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ณ โรงแรมรอยัล (รัตนโกสินทร์) 25-27 เมษายน 2548.
รัชดา ลาภใหญ่. (2559, กรกฎาคม - ธันวาคม). แนวทางและข้อควรปฏิบัติในการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศให้แก่นักศึกษาจีนอย่างมีประสิทธิผล. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต. 12(21), 37.
แววดี ปัญญาเรือง. (2538). การใช้เพลงและเกมเพื่อฝึกอ่านออกเสียงคำที่ใช้พยัญชนะ ร ล ว ควบกล้ำสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2.[วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่].
ศลิษา เตรคุพ. (2553, กรกฎาคม - ธันวาคม). ประสิทธิผลของเกมและเพลงช่วยสอนในรายวิชาภาษาเยอรมันเบื้องต้น 1. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 17(2), 46 -47.
ศิวิไล ชูวิจิตร. (2549). การวิเคราะห์การใช้ภาษาไทยสากลของบริษัท อาร์.เอส.โปรโมชั่น 1992 จำกัด ช่วงปี พ.ศ. 2542 -2546. [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].
ศรีวิไล พลมณี. (2545). พื้นฐานการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศรีบังอร จุ้ยศิริ. (2550). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสนใจในวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนวรรณคดีไทยโดยใช้เพลงประกอบการสอนกับการสอนปกติ. [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].
สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์. (2549). การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. เชียงใหม่: มิ่งเมือง.
สิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์. (2550). การสอนระดับประถมศึกษา 2. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.