การพัฒนาความสามารถด้านการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู โดยใช้การสอนแนะและการเป็นพี่เลี้ยงตามแนวทาง SAIFON
คำสำคัญ:
การสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21, ระบบการสอนแนะและการเป็นพี่เลี้ยง, สื่อมัลติมีเดีย, แอพพลิเคชั่นบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการสอนภาษาอังกฤษ ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูตามแนวทาง SAIFON ประชากรคือนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูชั้นปีที่ 5 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏจำนวน 40 สถาบันและกลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ชั้นปีที่ 5 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 25 คน เพื่อรับการอบรมความรู้ซึ่งได้ข้อมูลความต้องการมาจากแบบสำรวจความต้องการทั้งหมด และสังเกตการสอนในโรงเรียนที่นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูทำการสอนมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 2 คน ๆ ละ 3 ครั้ง โดยใช้การสุ่มแบบพื้นที่ (Area sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1. แบบสอบถามความต้องการ (Need analysis) 2. แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) 3. แบบประเมินความสามารถการสอนภาษาอังกฤษ (Evaluation form) 4. แบบบันทึกข้อมูลภาคสนาม (Field note) สถิติที่ใช้ในงานวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ซึ่งมีทั้งวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) และแบบบันทึกภาคสนาม (Field note) โดยวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและเทคนิคการเข้ารหัสและการจัดหมวดหมู่ข้อมูลเพื่อเข้าถึงทฤษฎีฐานราก การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ของแบบสอบถามความต้องการ(Need analysis) และแบบประเมินความสามารถ (Evaluation form) ใช้สถิติพื้นฐาน คือ คะแนนเฉลี่ย () และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มีความสามารถด้านการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21 ของตามแนวทาง SAIFON ซึ่งประกอบด้วย 1) S = Survey the teachers needs (การตอบสนองความต้องการ), 2) A= Associating with a plan (การวางแผนการอบรม), 3) I = Instructing teaching strategies (การสร้างกลยุทธ์การสอน), 4) F = Feedback on teaching demonstration (การให้ผลสะท้อนกลับ), 5) O = Observing teaching in the real context (การสังเกตการสอน), และ 6) N = Notifying problems and solutions (การให้คำปรึกษา) นอกจากนี้ยังรวมถึงบุคลิกภาพของ Coach และบุคลิกภาพของ Mentor อีกด้วย
References
กิตติศักดิ์ แก้วบุตรดี และอัจฉรา กิจเดช. (2561, มกราคม – มิถุนายน). พัฒนาองค์กรด้วยระบบพี่เลี้ยง (มืออาชีพ). วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 5(1), 1-8. doi: 10.14456/jmu.2018.2
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์. (2556). ทักษะภาษาอังกฤษ: ความจําเป็นพื้นฐานในวิชาชีพครู. สืบค้น 14 สิงหาคม 2563, จาก http://www.kriengsak.com/node/544
ขนิษฐา บุญคง. ครูพี่เลี้ยงโรงเรียนสตรีวัดอัปสรสวรรค์. (สัมภาษณ์, 2 พฤษภาคม 2564).
จารุณี สินชัยโรจน์กุล. (2019). การใช้งานแอพ Toontastic เพื่อสร้างการ์ตูนแอนิเมชั่น. สืบค้น 30 กรกฎาคม 2563, จาก https://inspirelearner.com/toontastic-manual/
ธนัฏฐา วุฒิวณิชย์ (2563). รูปแบบการนิเทศที่มีประสิทธิผลต่อการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 15(2), 302-314.
นพมาศ หงษาชาติ. (2553, กรกฎาคม – ธันวาคม). การพัฒนารูปแบบการอบรมครูสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาของจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยบูรณาการแนวคิดทฤษฎีภาษาศาสตร์ยุคหลังสมัยใหม่. วารสารศิลปศาสตร์, 2(2), 48-67.
ปวีณา เมืองมูล. (2561). การศึกษาพฤติกรรมการสอนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาวิชาการสอน ภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์].
พิชญาภัค รุ่งโรจน์นภาดล. หัวหน้ากลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ โรงเรียนสตรีวัดอัปสรสวรรค์. (สัมภาษณ์, 29 มีนาคม 2564).
ยุพาภรณ์ พิริยศิลป์. (2557). ความต้องการทางด้านภาษาอังกฤษของอุตสาหกรรมการท่องเทียวในเขตจังหวัดขอนแก่น. วารสารการบริหารและการท่องเที่ยวไทย, 9(2), 16-30.
วาสนา ชูแสง. รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ โรงเรียนวัดนาคนิมิตร. (สัมภาษณ์, 21 ธันวาคม 2564).
วิจารณ์ พานิช. (2556). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษ ที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.
วชิรา เครือคำอ้าย และชวลิต ขอดศิริ. (2562). การพัฒนารูปแบบการนิเทศโดยใช้กระบวนการชี้แนะและระบบพี่เลี้ยง เพื่อส่งเสริมศักยภาพการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสมาคมนักวิจัย, 24(1), 121-135.
ศิริกาญจนา ใบคำ. หัวหน้าฝ่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. (สัมภาษณ์, 4 มีนาคม 2564).
ศริญญา อยู่ยง. ครูพี่เลี้ยง โรงเรียนสตรีวัดอัปสรสวรรค์. (สัมภาษณ์, 30 มีนาคม 2564).
สมบัติ คชสิทธิ์, จันทนี อินทรสูตรและ ธนกร สุวรรณพฤติ. (2560, พฤษภาคม - สิงหาคม). การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้กับผู้เรียนในยุค THAILAND 4.0. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 7(2). 175-186.
สมศักดิ์ จี้เพ็ชร์. (2562). การพัฒนาคุณภาพครูโดยการนิเทศแบบสอนแนะและการเป็นพี่เลี้ยงโรงเรียนมหาสวัสดิ์ (ราษฎรบำรุง). วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 15(2), 165-184.
Beartai. (2020). Google for Toontastic 3D: Application for Creating the Easy Tales. Retrieved 12 July 2020, from https://www.beartai.com/news/mobilenews/144392
Chien, Y. C. (2013, June). Verifying the effects of organizational justice and work values upon organizational performance: using organizational citizenship behaviour as the dual mediator. African Journal of Business Management, 7(22), 2195-2205.
Graves, K. (2000). Designing Language Courses: A guide for teachers. Boston, MA: Heinle & Heinle.
Lois, J.Z. (2011). The Mentor’s Guide: Facilitating Effective Learning Relationships. (2nd ed ). US: Jossey Bass.
MacDonald, J. P., Mohr, N., Dichter, A., & MacDonald, E. C. (2015). The power of protocols: An educator’s guide to better practice. (3rd ed.). New York: Teachers College Press.
Songsiengchai, S. (2017, July – December). The selection and implementation of Teacher Professional Development: Coaching and Mentoring in teaching approaches using the SAIFON model. Journal of Information, 16(2), 1-11.
Songsiengchai, S. (2021, January). The study of the effectiveness of Coaching Program for pre-service teachers to Communicative listening-speaking skills. Advances in Language and Literary Studies, 12(2), 21-30.
Sue, D. (2017). Multimodal Literacy: iPads and Creative Connections in a First Grade Class. Brunswick School, Greenwich: USA
Xyanyde. (2017). Google Toontastic 3D for Creating the Cartoon Application for Kids. Retrieved 15 August 2020, from https://droidsans.com/node-211578/
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed). New York: Harper and Row Publications.
York-Barr, J. & Duke, K. (2004, September). What Do We Know About Teacher Leadership? Findings From Two Decades of Scholarship. Review of Educational Research, 74(3), 255-316.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.