การสร้างสรรค์เดี่ยวฆ้องวงใหญ่เพลงม้ารำ 3 ชั้น ตามแบบฝึกฆ้องวงใหญ่ 11 ท่าของครูสุรินทร์ สงค์ทอง
คำสำคัญ:
แบบฝึกฆ้องวงใหญ่ 11 ท่า, การสร้างสรรค์, เดี่ยวฆ้องวงใหญ่, เพลงม้ารำ 3 ชั้นบทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่องการสร้างสรรค์เดี่ยวฆ้องวงใหญ่เพลงม้ารำ 3 ชั้น ตามแบบฝึกฆ้องวงใหญ่ 11 ท่า ของครูสุรินทร์ สงค์ทอง มีวัตถุประสงค์ศึกษาวิธีการฝึกฆ้องวงใหญ่ 11 ท่า ของครูสุรินทร์ สงค์ทองและเพื่อสร้างสรรค์ทางเดี่ยวฆ้องวงใหญ่เพลงม้ารำ 3 ชั้น โดยศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการสัมภาษณ์ครูและผู้เชี่ยวชาญทางด้านดนตรีไทยซึ่งมีลำดับดังนี้ จากการศึกษาพบว่า การฝึกปฏิบัติฆ้องวงใหญ่ในแบบฝึกทั้ง 11 ท่า ของครูสุรินทร์ สงค์ทอง ได้แก่ ท่ากรรเชียง ท่าม้าวิ่ง ท่าติ่ง ท่าติง ท่าดีด ท่าตะเคียว ท่าสะบัด ท่าไล่ขวา 1 ซ้าย 2 ท่าไล่ขวา 2 ซ้าย 1 ท่าไล่ และท่ากรอ ฝึกต้องมีความพร้อมทั้งร่างกายและทางจิตใจ การปฏิบัติแบบฝึกฆ้องวงใหญ่ทั้ง 11 ท่า ของครูสุรินทร์ สงค์ทอง โดยนักศึกษาภาควิชาดุริยางคศิลป์ศึกษา คณะศิลปศึกษา ปีการศึกษา 2563 จำนวน 6 คน โดยแบ่งกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 3 คน คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มประชากรที่มีพื้นฐานการปฏิบัติน้อย กลุ่มที่ 1 กลุ่มประชากรที่มีพื้นฐานการปฏิบัติมากแบ่งการทดลองจำนวน 2 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ 1 ก่อนการปฏิบัติเพลงเดี่ยวฆ้องวงใหญ่เพลงเดี่ยวม้ารำ และครั้งที่ 2 หลังการปฏิบัติเพลงเดี่ยวฆ้องวงใหญ่เพลงเดี่ยวม้ารำ พบว่า ครั้งที่ 1 ทั้ง 2 กลุ่มทักษะการบรรเลงจัดอยู่ในระดับปานกลาง ครั้งที่ 2 ทักษะการบรรเลงจัดอยู่ในระดับดี การสร้างสรรค์เดี่ยวฆ้องวงใหญ่เพลงม้ารำ 3 ชั้น ตามแบบฝึกฆ้อง วงใหญ่ 11 ท่าของครูสุรินทร์ สงค์ทอง มีแนวคิดในการประดิษฐ์ทำนองเดี่ยวฆ้องวงใหญ่ เพลงม้ารำ 3 ชั้น ผู้ประดิษฐ์ใช้ทำนองหลักของเพลงม้ารำ 3 ชั้น เป็นเกณฑ์ในการประดิษฐ์ทำนองเดี่ยว และอ้างอิงแบบฝึกฆ้องวงใหญ่จำนวน 11 ท่า ของครูสุรินทร์ สงค์ทอง นำมาใช้เป็นองค์ประกอบสำคัญของการประดิษฐ์ทำนองเดี่ยวฆ้องวงใหญ่เพลงม้ารำ 3 ชั้น ซึ่งส่งผลให้ทิศทางการเคลื่อนที่ของโน้ตเป็นแบบไล่บันไดเสียง จากต่ำไปหาสูงและสูงไปหาต่ำโดยมีลูกตกของทำนองหลักเป็นเกณฑ์ในการประดิษฐ์ทำนองเดี่ยวซึ่งพบทำนองเดี่ยวที่ประดิษฐ์ขึ้นไม่สัมพันธ์กับลูกตกบางตำแหน่ง เนื่องจากผู้ประดิษฐ์ต้องการให้เห็นลักษณะการไล่บันไดเสียงในแบบฝึกฆ้องวงใหญ่ของครูสุรินทร์ สงค์ทอง โดยมีโครงสร้างเพลง คือ มี 1 ท่อนและมีเที่ยวเปลี่ยนจำนวนของประโยคเพลงท่อนที่ 1 และทางเปลี่ยนมีจำนวนประโยคเพลงของเพลง 14 ประโยคเพลง โดยแต่ละประโยคเพลงมีลักษณะทำนองเท่ากัน คือ จำนวน 8 ห้อง ซึ่งทางเปลี่ยนมีจำนวนประโยคเพลงเท่ากับทำนองท่อนที่ 1 ของประโยคเพลง ในการสร้างสรรค์บทเพลงแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบได้แก่ รูปแบบเดี่ยวฆ้องวงใหญ่เพลงม้ารำ 3 ชั้น (แบบผู้มีพื้นฐานน้อย) และ รูปแบบเดี่ยวฆ้องวงใหญ่เพลงม้ารำ 3 ชั้น (แบบผู้มีพื้นฐาน) ทั้ง 2 เพลง จะพบท่ากรรเชียง ท่าม้าวิ่ง ท่าตะเคียว และท่าดีดที่จะพบมากที่สุด
References
ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์. (2562, กรกฎาคม - ธันวาคม). ทฤษฎีการสร้างสรรค์ศิลป์. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์, 6(2), 234-248.
ณรุทธ์ สุทธจิต. (2560). วิธีวิทยาการสอนดนตรี. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นัทธมน พึ่งเจริญ, วันฉัตร จันทร์โต และศศินันท์ หมีปาน. (2556). แนวคิดการสร้างสรรค์ประพันธ์บทเพลงของ อาจารย์ฐิระพล น้อยนิตย์ ในการแสดงหุ่นละครเล็ก โดย คณะโจหลุยส์ เรื่องพระมหาชนก ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสครบรอบพระชนม์มายุ 84 พรรษา. [ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์].
บัณฑิต กลิ่นสุคนธ์. (2563). ครูสุรินทร์ สงค์ทองขณะซ้อมดนตรี. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
บัณฑิต กลิ่นสุคนธ์. (2563). นักศึกษาบรรเลงชุดฝึกทักษะการตี ฆ้องวงใหญ่ทั้ง 11 ท่า. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ. (2546). ดุริยางคศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยศึกษา.
สุรินทร์ แสงทอง. อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฎสมเด็จบ้านเจ้าพระยา. (สัมภาษณ์, 7 กันยายน 2563).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.