การพัฒนาผู้บรรเลงวงดุริยางค์เครื่องลมระดับมัธยมศึกษาในประเทศไทยท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019

ผู้แต่ง

  • ณัฐศรัณย์ ทฤษฎิคุณ ภาควิชาดนตรีตะวันตก วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

วงดุริยางค์เครื่องลม, มัธยมศึกษา, ไวรัสโคโรนา

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางสำหรับครูผู้สอนวงดุริยางค์เครื่องลมในด้านของการพัฒนาผู้บรรเลงวงดุริยางค์เครื่องลมระดับมัธยมศึกษาในประเทศไทย ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งวงดุริยางค์เครื่องลมระดับมัธยมศึกษาเป็นกิจกรรมในสถานศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะทางการบรรเลง รวมถึงการพัฒนาองค์ความรู้ทางดนตรีควบคู่กันไป แต่ทั้งนี้ จากสถานการณ์ดังกล่าว จึงทำให้เกิดอุปสรรคต่อการจัดการเรียนการสอนและการฝึกซ้อมการบรรเลงดนตรี ผู้เขียนจึงได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาผู้บรรเลงระดับมัธยมศึกษาในวงดุริยางค์เครื่องลมมีองค์ประกอบด้านการพัฒนา 3 ด้าน ได้แก่ 1) การพัฒนาด้านทฤษฎีดนตรี 2) การพัฒนาด้านโสตประสาท และ 3) การพัฒนาแนวคิดของเสียง ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญและสามารถนำไปดำเนินการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ รวมถึงสื่อเทคโนโลยีออนไลน์เพื่อช่วยในการพัฒนาองค์ประกอบทั้ง 3 ด้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นการเตรียมความพร้อมด้านองค์ความรู้ทางทฤษฎี และปฏิบัติด้านโสตประสาท รวมถึงความเป็นดนตรีในการสร้างสุนทรียภาพทางดนตรีให้กับผู้บรรเลงก่อนที่จะเข้าไปสู่กระบวนการปฏิบัติการบรรเลงหลังจากที่สถานการณ์ของการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ได้ผ่อนคลายลงในอนาคต

References

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2555). ดนตรีศึกษา หลักการและสาระสำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐศรัณย์ ทฤษฎิคุณ. (2564). การพัฒนาผู้บรรเลงวงดุริยางค์เครื่องลมระดับมัธยมศึกษาในประเทศไทย ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019. กรุงเทพฯ: ภาควิชาดนตรีตะวันตก วิทยาลัยการดนตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

เนาวนิตย์ สงคราม. (2557). การศึกษานอกสถานที่และการศึกษานอกสถานที่เสมือนเพื่อการเรียนรู้เชิงรุก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิอร เตรัตนชัย. (2562, มกราคม-มิถุนายน). การศึกษาการสอนโสตทักษะตามแนวสุดา พนมยงค์. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ, 26(1), 315 - 345.

สิริพร อินทสนธิ์. (2563, กรกฎาคม-ธันวาคม). โควิด-19: กับการเรียนการสอนออนไลน์ กรณีศึกษารายวิชาการเขียนโปรแกรมเว็บ. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(2), 203-214.

Battisti, F. L., (2007). On Becoming A Conductor: Lessons and Meditations on The Art Of Conducting. FL: Meredith Music Publications.

Battisti, F. L., (2008). Chapter 1 Frank Battisti. In Williamson, John E. (Ed.) Rehearsing The Band (P.1-10). FL: Meredith Music Publications.

Harris, E. L. (2006). Teaching Music Theory In The Traditional Wind Band Rehearsal: A Rationale, Survey of Materials, and Recommendations. Graduate Studies Office of The University Of Southern Mississippi In Partial Fulfillment of The Requirements for The Degree of Doctor of Musical Arts.

Halleonard. (2021). Hymn To The Infinite Sky. Retrieved 21 June 2021. from https://Www.Halleonard.Com/Product/44003050/Hymn-To-The-Infinite-Sky

Holder, R. (2016). Score Study And Rehearsal Preparation. In Meyer, Stephen. (Ed) Rehearsing The High School Band. FL: Meredith Music Publications.

Mckoin, S. (2015). Sarah Mckoin. In Miller, Donal (Ed.) Rehearsal The Band: Volume 2 (P.42-50). FL: Meredith Music Publications.

Musictheory.Net. (2021). Tenuto For Iphone And Ipad. Retrieved 15 May 2021. from https://Www.Musictheory.Net/Products/Tenuto.

Peterson, D. (2015). Daniel, Peterson. In Miller, Donal (Ed.) Rehearsal The Band: Volume 2 (P.51-60). FL: Meredith Music.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-25