ไตรภูมิพระร่วง: คติความเชื่อเรื่อง “นรก” ปรากฏการณ์การผลิตซ้ำในเพลงลูกทุ่งปัจจุบัน
คำสำคัญ:
นรก, ไครภูมิพระร่วง, การผลิตซ้ำ, เพลงลูกทุ่งบทคัดย่อ
คติความเชื่อเรื่องนรกจากเรื่องไตรภูมิในสมัยสุโขทัย เป็นตัวบทที่มีคุณค่าส่งอิทธิพลสืบเนื่องมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ปรากฏหลักฐานการผลิตซ้ำผ่านโลกทัศน์ของกวีในอดีตมาจนถึงบทเพลงลูกทุ่งในปัจจุบัน ซึ่งเป็นตัวแทนโลกทัศน์ของสังคมไทย ปรากฏการณ์การผลิตซ้ำเรื่องนรกยังคงไหลเวียนอยู่ในสังคมไทย เป็นเรื่องของการกระทำและผลการกระทำในโลกปัจจุบันและโลกหลังความตาย บทเพลงลูกทุ่งปัจจุบันได้ผลิตซ้ำเนื้อหานรกในประเด็น มูลเหตุที่ทำให้ตกนรก ลักษณะของนรก ชื่อขุมนรกและบุคลากรในนรก นอกจากนั้นการผลิตซ้ำดังกล่าวยังมีนัยยะตอกย้ำข้อเท็จจริงของสังคมยุคปัจจุบัน แม้โลกจะมีความเจริญทางด้านวัตถุ แต่ความเจริญด้านจิตใจของคนกลับเสื่อมถอยขาดศีลธรรม การผลิตซ้ำเรื่องนรกยังเป็นการอ้อนวอนเรียกร้องความยุติธรรม เนื่องจากสังคมไทยขาดสถาบันและบุคคลที่ยุติธรรมเป็นที่พึ่ง ผู้แต่งจึงหาทางออกโดยการขอความเมตตาให้พญายมราชเห็นใจและช่วยเหลือคนดี ส่องนัยยะทางสังคมไทยว่า ถึงแม้จะปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยมีกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายหลักควบคุมคนในสังคม แต่บางคนที่ประพฤติชั่วผิดกฎหมายก็ไม่ได้รับโทษตามที่กฎหมายบัญญัติ คนในสังคมไทยจึงต้องยึดและตอกย้ำคติความเชื่อว่า คนชั่วอาจจะสามารถหลบหลีกกฎหมายของสังคมได้ แต่ไม่สามารถหนีกฎแห่งกรรมได้โดยการผลิตซ้ำ นรกตามคติความเชื่อโบราณมาเป็นอุปมานิทัศน์เพื่อใช้สอนใจให้คนเกิดความกลัว ไม่ประพฤติชั่ว เพื่อยังผลให้สังคมเกิดความสงบสุข
References
คณะศรัทธากองบุญธรรมวิหาร ธรรมสถานมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2550). แผนภูมิไตรภูมิ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ และชุมสาย สุวรรณชมภู. (2554). วรรณคดีมรดกสำหรับครู. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ณัธพล ยะปะตัง และสุรพล เนสุสินธุ์. (2562, มกราคม - มิถุนายน). รูปแบบการสร้างสรรค์ลายพิณในเพลงลูกทุ่งอีสานของ เรวัฒน์ สายันเกณะ (หนุ่ม ภูไท). วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 11(1), 258-285.
ทับทิม ชัยชะนะ และคณะ. (2559, กรกฎาคม-ธันวาคม). บทบาทของผู้หญิงสามัญในเพลงลูกทุ่งร่วมสมัยทับทิม. พิฆเนศวร์สาร. 12(2), 53-62.
เบญจวรรณ ชยางกูร ณ อยุธยา. (2559, มกราคม - มิถุนายน). แนวทางการอธิบายเรื่องนรกและสวรรค์ในพุทธศาสนาสำหรับคนรุ่นใหม่. วารสารพุทธมัคค์. 1(1), 43-53.
พรพรรณ ธารานุมาศ. (2532). วรรณคดีที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: บำรุงสาส์น.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2544). พจนานุกรมศัพท์วรรณคดีไทย สมัยสุโขทัยไตรภูมิกถา. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
วิกิพีเดีย. (2563). พระยม. สืบค้น 1 มีนาคม 2564. จาก https://th.wikipedia.org/wiki
สำนักงานกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2544). หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานวรรณคดีวิจักษ์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. (2560). เพลงลูกทุ่ง. สืบค้น 19 มิถุนายน 2564. จาก https://www.saranukromthai.or.th
เอี่ยม อามาตย์มุลตรี. (2560). กลวิธีทางภาษา: การสื่อความทางเพศในเพลงลูกทุ่งอีสาน. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 6(2), 196-205.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.