อลังการแห่งขบวนแห่องค์เทพรอบเมือง: การสร้างสรรค์ภาพถ่ายผ่านสื่อสัญญะทางวัฒนธรรมเชิงการท่องเที่ยว

ผู้แต่ง

  • ปัทมาสน์ พิณนุกูล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

คำสำคัญ:

ขบวนแห่องค์เทพ, สื่อสัญญะ, วัฒนธรรมเชิงการท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอขบวนแห่องค์เทพรอบเมืองในพิธีอิ้วเก้งในงานประเพณีถือศีล กินผักจังหวัดภูเก็ต โดยเริ่มขบวนแห่ตั้งแต่วันที่ 2 - 9 เดือน 9 ตามปีจันทรคติจีน ซึ่งการศึกษาพิธีอิ้วเก้งเสมือนเป็นการออกเสด็จประพาสขององค์เทพกิ้วอ๋องไต่เต่ ที่สะท้อนถึงรูปแบบการเสด็จเยือนราษฎรของพระมหากษัตริย์จีนในอดีต ไปตามเส้นทางในย่านชุมชนเมืองเก่าภูเก็ตที่ทุกศาลเจ้าต้องผ่าน โดยมีจุดประสงค์สำคัญเพื่อไปประกอบพิธีการอัญเชิญเฮี้ยวโห้ยหรือไฟศักดิ์สิทธิ์ที่บริเวณแหลมสะพานหินหรือริมทะเล ถือเป็นหัวใจสำคัญในงานประเพณีถือศีลกินผักและเป็นการแสดงออกทางสัญญะเสมือนการย้อนอดีตบนพื้นที่ความทรงจำที่บรรพบุรุษ ชาวจีนได้เดินทางจากแผ่นดินเกิดมาใช้ชีวิตในเมืองภูเก็ตตลอดเส้นทางมีฉ้ายอิ้วที่ร่วมในขบวน และจำนวนผู้คนที่เข้าร่วมประกอบพิธีกรรมที่สร้างความเป็นอัตลักษณ์โดดเด่นโดยเฉพาะการประทับร่างทรงขององค์เทพ เกิดเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมในกระบวนการสร้างอัตลักษณ์ความเป็นตัวตนในพื้นที่พิธีกรรมที่สร้างความตื่นตาตื่นใจ อันเป็นที่จับจ้องของสื่อต่าง ๆ และกลุ่มนักท่องเที่ยว การนำเสนอด้วยวิธีการสร้างสรรค์ภาพถ่ายผ่านสื่อสัญญะทางวัฒนธรรมเชิงการท่องเที่ยวที่ถูกบันทึกภายใต้ความทรงจำด้วยภูมิทัศน์สื่อที่สะท้อนความเป็นไปในบริบทการท่องเที่ยวผ่านมิติภาพแทนความหมาย หรือภาษาภาพ มีส่วนส่งเสริมเศรษฐกิจด้วยการโฆษณาจากภาพถ่าย การสร้าง ภาพลักษณ์ ที่ดีขององค์การผ่านภาพถ่ายเพื่อการประชาสัมพันธ์ และเก็บไว้เป็นประวัติศาสตร์แก่คนรุ่นหลังให้เกิดภูมิรู้ เป็นการอนุรักษ์อัตลักษณ์ และสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของบรรพชนให้คงอยู่คู่กับชุมชน ตลอดจนเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ทำให้ประเพณีกินผักของจังหวัดภูเก็ตเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก

References

กนกรัตน์ ยศไกร. (2552). การถ่ายภาพเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.

กฤษณ์ ทองเลิศ. (2554). การถ่ายภาพเชิงวารสารศาสตร์: แนวคิด เทคนิค การวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: อินทนิล.

กาญจนา แก้วเทพ. (2552). การวิเคราะห์สื่อแนวคิดและเทคนิค. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เจษฎา นิลสงวนเดชะ. (2557, พฤษภาคม - สิงหาคม). ตำนานพระกิวหอง ไต่เต่กิวหองไต่เต่กับความเชื่อในสังคมไทย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศิลปะ, 34(2), 66-80.

ธีรยุทธ บุญมี. (2551). การปฏิวัติสัญศาสตร์ของโซซูร์ เส้นทางโพสต์โมเดอร์นิสม์. กรุงเทพฯ: วิภาษา.

ปรัชญา เปี่ยมการุณ. (2562, มกราคม - มิถุนายน). ภูมิทัศน์สื่อ ภายใต้บริบทการสื่อสารการท่องเที่ยว. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 7(1). 113-119.

ปัทมาสน์ พิณนุกูล. (2562). การจุดปะทัดต้นรับขบวนแห่องค์พระ. [ภาพถ่าย]. ภูเก็ต: สาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

ปัทมาสน์ พิณนุกูล. (2562). การออกเสด็จประพาสขององค์เทพกิ้วอ๋องไต่เต่. [ภาพถ่าย]. ภูเก็ต: สาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

ปัทมาสน์ พิณนุกูล. (2562). การแสดงอิทธิฤทธิ์ของม้าทรง. [ภาพถ่าย]. ภูเก็ต: สาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

ปัทมาสน์ พิณนุกูล. (2562). ความศรัทธาต่อองค์เทพกิ้วอ๋องไต่เต่. [ภาพถ่าย]. ภูเก็ต: สาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

ปัทมาสน์ พิณนุกูล. (2562). ขบวนไท้เปี๋ย. [ภาพถ่าย]. ภูเก็ต: สาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

ปัทมาสน์ พิณนุกูล. (2562). ส่งองค์เทพกิ้วอ๋องไต่เต่. [ภาพถ่าย]. ภูเก็ต: สาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

ปัทมาสน์ พิณนุกูล. (2562). สีสันยามค่ำคืนของการส่งเสด็จ. [ภาพถ่าย]. ภูเก็ต: สาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

สมชาย มนูจันทรัถ. นักวิชาการ ปราชญ์ด้านวัฒนธรรมจีนในจังหวัดภูเก็ต หัวหน้าผู้ประกอบพิธีกรรม(ฮวดกั้ว) ในงานประเพณีกินผักศาลเจ้าจุ้ยตุ่ยเต้าโบเก้ง. (สัมภาษณ์, 18 ตุลาคม 2562).

สุทธิศักดิ์ สุขสมบูรณ์. หัวหน้าฝ่ายตำหนักในของศาลเจ้าจุ้ยตุ่ยเต้าโบ้เก้ง. (สัมภาษณ์, 19 ตุลาคม 2562).

สุรพงษ์ บัวเจริญ. (2554). องค์ประกอบศิลป์สำหรับนักถ่ายภาพ. กรุงเทพฯ: เอ็มไอเอส.

อนันต์ จิรมหาสุวรรณ. (2550). ศิลปะการถ่ายภาพ. กรุงเทพฯ: ดิแอสไพเรอร์สกรุ๊ป.

Hall, S. (2013). Representation Cultural Representations and Signifying Practices. London: University of Essex.

Turner, V. (1970). The Ritual Process: Structure and Anti – Structure. Chicago: Aldine Publishing Company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-25