การเลือกใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน : กรณีศึกษานักเรียนระดับมัธยมศึกษาโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ จังหวัดยะลา

ผู้แต่ง

  • รอฮานี เต๊ะซา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  • ฟีรดาวซ์ มูหะมัด คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  • กามีลียา หะยีหะซา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  • สุไลมาน สมาแฮ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  • ซาฮีฎีน นิติภาค คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

คำสำคัญ:

การเลือกใช้ภาษา, ภาษาเพื่อการสื่อสาร, ภาษามาลายูนักเรียนมัธยมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการเลือกใช้ภาษาของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิจังหวัดยะลา และเปรียบเทียบการเลือกใช้ ภาษาเพื่อการสื่อสารของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิจังหวัด ยะลา โดยจำแนกตามเพศ อายุ และสถานที่อยู่อาศัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยใน ครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิจำนวน 375คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามระดับความคิดเห็นในการเลือกภาษาที่ใช้เพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนมัธยมศึกษาโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิจังหวัดยะลา หาค่าความเชื่อมั่น โดย ใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha - Coefficient) ตามวิธีการของ Cronbach ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.976 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีการทดสอบรายคู่ (Post Hoc) และการเปรียบเทียบโดยใช้One-way ANOVA

ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีระดับความคิดเห็นของการเลือกใช้ภาษามลายู ถิ่นเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 3.53, S.D.= 0.24) ส่วนการเลือกใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร อยู่ในระดับปานกลาง (x̅ = 2.79, S.D.= 0.27 ) และการเลือกใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยรวมอยู่ในระดับน้อย(x̅ = 1.77, S.D.= 0.21) 2) ผลการเลือกการเลือกใช้ภาษาระดับมัธยมศึกษาโรงเรียนธรรมวิทยา มูลนิธิจังหวัดยะลาจำแนกตามเพศอายุและสถานที่อยู่อาศัย ภาพรวมไม่แตกต่างกันมาก 

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2555). การเตรียมความพร้อมประเทศไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. ว.สถาบันพระปกเกล้า. 10(3), 67-83. ค้นเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2559. จาก http://kpi.ac.th/media/pdf/M7_214.pdf

เกรียงศักดิ์ สยะนานนท์ และวัฒนา พัดเกตุ. (2548). อายุกับการเรียนภาษาอังกฤษและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพอใจหรือไม่พอใจในการเรียนภาษาอังกฤษ. ว.มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 2(2), 8-27. ค้นเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2559. จาก http://www.human.nu.ac.th/jhnu/file/journal/2011_02_01_11_01_47-02-02-02.pdf.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

สมุทร เซ็นเชาวนิช. (2545). เทคนิคการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุวิไล เปรมศรีรัตน์. (2547). แผนที่ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในประเทศไทย (Ethno- linguistic Mapping of Thailand). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

สุวิไล เปรมศรีรัตน์. (2551). การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาท้องถิ่นและภาษาไทยเป็นสื่อ กรณีการจัดการศึกษาแบบทวิภาษา (ภาษาไทย-มลายูถิ่น) ในโรงเรียนเขตพื้นที่สี่จังหวัดชายแดนภาคใต้. ว.วิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 1(1), 5-12.

โสรัตน์ อับดุลสตา, สุนทร ปิยะวสันต์, อับดุลรามันห์ โตะหลง, แซมซู เจะเลง, อิบรอเฮม เต๊ะแห, และรอซีดัต สาแม. (2557). การพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่านชุดพหุภาษาสำหรับผู้เริ่มเรียนเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. ว.อัล-นูร มหาวิทยาลัยฟาฏอนี. 8(15), 1-12.

Awae, F. (2010). Bahasa Melayu Patani dalam Kalangan Mahasiswa/i dari Tiga Wilayah Selatan Thai : Pemeliharaan dan Penyisihan. Disertasi Sarjana, Sarjana Falsafah Linguistik, Faculty of Social Sciences and Humanities. Universiti Kebangsaan Malaysia.

Wado, K., Hamid, Z., Hayeeteh, F. & Binsama-ae, S. (2015). Pengajaran Bahasa Melayu Baku dalam Kalangan Komuniti Perbatasan: Satu Kajian Pengaruh Dialek Patani di Selatan Thai. Georafi Online Malaysian Journal of Society and Space, 11, 36-44.

Salaemae, N. (2000). Pemilihan Bahasa di Kalangan Wanita Melayu Patani: Satu Kajian Kes di Narathiwat, Thailand. Disertasi Sarjana, Jabatan Bahasa Melayu, Akademi Pengajian Melayu, Universiti Malaya.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-29