เพลงช้า: ความสำคัญต่อการฝึกหัด สู่การแสดงนาฏศิลป์ไทย (โขนพระ)
คำสำคัญ:
เพลงช้า, โขนพระ, การฝึกหัด, นาฏศิลป์ไทยบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความสำคัญและองค์ประกอบของกระบวนท่ารำเพลงช้า 2. วิเคราะห์กระบวนท่ารำเพลงช้าโดยศึกษากระบวนท่ารำเพลงช้า (โขนพระ) ตามหลักสูตรวิทยาลัยนาฏศิลป สู่การแสดงนาฏศิลป์ไทย มีวิธีการดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาจากหนังสือ ตำรา บทความ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ลงภาคสนามเพื่อสัมภาษณ์ และฝึกปฏิบัติท่ารำ ดำเนินการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์และสรุปผลการวิจัย ผลการศึกษาพบว่า เพลงช้าเป็นเพลงที่ใช้ในการฝึกหัดกระบวนท่ารำพื้นฐานเบื้องต้นสำหรับ ผู้ฝึกหัดนาฏศิลป์ไทยตัวโขนพระ ใช้ทำนองเพลงช้าจากเพลงเรื่องประเภทเพลงช้าสร้อยสน โดยนำช่วงทำนองเพลงช้าเพลงสร้อยสน 2 ท่อน และเพลงพวงร้อย 2 ท่อน มาใช้บรรเลงต่อเนื่องกันประกอบการฝึกหัดรำเข้ากับทำนองเพลง กระบวนท่ารำเพลงช้าของโขนพระมีความแตกต่างจากกระบวนท่ารำของละครพระ กลวิธีการรำของโขนพระจะอยู่ที่เทคนิคการรำอันก่อให้เกิดลีลา ตามแบบแผนการรำของโขนพระกระบวนท่ารำเพลงช้าโขนพระมีการใช้สรีระร่างกายในการร่ายรำเป็นการใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายฝึกปฏิบัติทักษะการปฏิบัติลักษณะท่าทางต่าง ๆ ในการร่ายรำ ซึ่งในศาสตร์ทางนาฏศิลป์เรียกว่า นาฏยศัพท์ แบ่งออกเป็นการใช้นาฏยศัพท์ส่วนศีรษะ นาฏยศัพท์ ส่วนมือและแขน นาฏยศัพท์ส่วนลำตัว และนาฏยศัพท์ส่วนขาและเท้า นำมาเรียงร้อยผสมผสานจนเกิดเป็นกระบวนท่ารำขึ้น ลักษณะท่ารำมีรูปร่างและรูปทรงเรขาคณิต ได้แก่ รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม รูปห้าเหลี่ยม รูปวงกลม รูปวงรีและลักษณะของเส้น ได้แก่ เส้นตรงแนวนอน เส้นตรงแนวตั้ง เส้นโค้ง เส้นหยักและเส้นมุมฉาก
References
กรมพระยาดํารงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ. (2446). ตำราละครฟ้อนรํา. พระนคร: โสภณพิพรรฒธนากร.
กรมพระยาดํารงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ.. (2507). ตำนานละครอิเหนา. กรุงเทพฯ: คลังวิทยา.
กรมศิลปากร. (2545). รวมงานนิพนธ์ของนายอาคม สายาคม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์.
กรินทร์ กรินทสุทธิ์. (2558). ปัจจัยต่อการเปลี่ยนแปลง พัฒนาการและความหลากหลายของโขน (ทศวรรษที่ 2480 ถึงปัจจุบัน). [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].
คำรณ สุนทรานนท์ และรจนา สุนทรานนท์. (2551). โครงการวิจัยเรื่องการอนุรักษ์และสืบทอดโขน (ผู้หญิง) ให้แก่เยาวชน. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
จันทิมา แสงเจริญ. (2539). ละครชาตรีเมืองเพชร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].
เจนภพ จบกระบวนวรรณ. (2524). ยี่เก จากดอกดินถึงหอมหวล. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เจ้าพระยา.
ชมนาด กิจขันธ์. (2547). นาฏยลักษณ์ตัวพระละครแบบหลวง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].
พิชญ์ภัทร ฉายอรุณ. (2563). การกระดกเท้า. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
พิชญ์ภัทร ฉายอรุณ. (2563). การก้าวเท้า. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
พิชญ์ภัทร ฉายอรุณ. (2563). การเก็บ. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
พิชญ์ภัทร ฉายอรุณ. (2563). การใช้ส่วนศีรษะ. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
พิชญ์ภัทร ฉายอรุณ. (2563). การเปิดปลายเท้าในการรำ. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
พิชญ์ภัทร ฉายอรุณ. (2563). การยกเท้า. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
พิชญ์ภัทร ฉายอรุณ. (2563). การส่ายมือ. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
พิชญ์ภัทร ฉายอรุณ. (2563). รูปวงกลม. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
พิชญ์ภัทร ฉายอรุณ. (2563). รูปวงรี. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
พิชญ์ภัทร ฉายอรุณ. (2563). รูปสามเหลี่ยม. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
พิชญ์ภัทร ฉายอรุณ. (2563). รูปสี่เหลี่ยม. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
พิชญ์ภัทร ฉายอรุณ. (2563). รูปเส้นโค้ง. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
พิชญ์ภัทร ฉายอรุณ. (2563). รูปห้าเหลี่ยม. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
พิชญ์ภัทร ฉายอรุณ. (2563). รูปเส้นตรงแนวตั้ง. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
พิชญ์ภัทร ฉายอรุณ. (2563). รูปเส้นตรงแนวนอน. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
พิชญ์ภัทร ฉายอรุณ. (2563). รูปมุมฉาก. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
พิชญ์ภัทร ฉายอรุณ. (2563). รูปเส้นหยัก. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
ไพฑูรย์ เข้มแข็ง. (2538). จารีตการฝึกหัดและการแสดงโขนของตัวพระราม. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].
ไพฑูรย์ เข้มแข็ง. ผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ไทย (โขนพระ) วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. (สัมภาษณ์, 15 ตุลาคม 2563).
วีระชัย มีบ่อทรัพย์. (2545). หนังสือคู่มือประกอบการสอนรายวิชานาฏศิลป์โขน (พระ) ชั้นต้นปีที่ 1 นท 001 และ นท 012. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันนาฏดุริยางคศิลป.
วีระชัย มีบ่อทรัพย์. ผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ไทย (โขนพระ) สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. (สัมภาษณ์, 16 ตุลาคม 2563).
เวณิกา บุนนาค. ผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ไทย (ละครพระ) สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. (สัมภาษณ์, 20 ตุลาคม 2563).
ศรีศักร วัลลิโภดม. (2535). สยามประเทศ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มติชน
ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์. (2547). การศึกษาวิเคราะห์วิธีการร่ายรำและลีลาท่ารำของโขนพระ: กรณีศึกษาตัวพระราม. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].
สมบูรณ์ บุญวงษ์ และจามรี คชเสนี. (2545). การศึกษาความสอดคล้องระหว่างเพลงเรื่องสร้อยสนกับท่ารำเพลงช้า-เพลงเร็ว. ปทุมธานี: สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.