ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานของเจ้าหน้าที่สรรพากร พื้นที่สาขา ในสังกัดสำนักงานสรรพากรภาค 9
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานของเจ้าหน้าที่สรรพากรพื้นที่สาขา ในสังกัดสำนักงานสรรพากรภาค 9 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการทำงาน 2) เพื่อศึกษาระดับความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการทำงานที่ส่งผลต่อความสมดุลระหว่างชีวิต
และการทำงาน เก็บรวบรวมข้อมูลจากเจ้าหน้าที่สรรพากรในสังกัดสำนักงานสรรพากรภาค 9 จำนวน 300 คน
โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีอายุระหว่าง 31-40 ปี สถานภาพโสด
เป็นข้าราชการที่มีอายุการปฏิบัติงาน 1-10 ปี การศึกษาปัจจัยด้านการทำงาน พบว่า ด้านรายได้ต่อเดือน
ด้านความมั่นคงในการทำงานและด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงานมากที่สุด คือความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ส่วนความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการทำงาน ด้านครอบครัว ด้านเวลาชีวิต ด้านการเงิน และด้านการพัฒนาความรู้ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก
โดยด้านการทำงาน มีความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานมากที่สุด และพบว่าปัจจัยด้านการทำงานทั้ง 3 ด้านส่งผลต่อความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความในวารสารเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราขสีมา
บทความที่ปรากฎในวารสารเป็นความคิดเห็นของผู้แต่งเพียงอย่างเดียวซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวารสาร
References
กรมสรรพากร. (2564). “RD SMART TEAM Citizen-Centric Prestigious Awards Sustainable Nation” รายงานประจำปี 2564. [ออนไลน์]. หน้า 7-26. แหล่งที่มา: https://www.rd.go.th/fileadmin/
download/annual_report/annual_report64. Pdf. [20 พฤษภาคม 2565].
กรมสรรพากร. (2565). กองบริหารทรัพยากรบุคคล. กรุงเทพฯ : กองบริหารทรัพยากรบุคคล กรมสรรพากร.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2561). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for windows. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์. (2556). ระเบียบวิธีวิจัย Research Methodology. กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท.
นรินทร์ทิพย์ ประศรีรเตสัง และดุษฎี อายุวัฒน์. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อสมดุลชีวิตกับงานของแรงงานในภาคอุตสาหกรรมและภาคการบริการ: กรณีงานและชีวิตส่วนตัวส่งเสริมซึ่งกันและกัน.
วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ปัทมาวรรณ จินดารักษ์ และ สายสุนีย์ เกษม (มกราคม-มิถุนายน 2562). “สมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานกับความหลากหลายของกลุ่มวัย Work-Life Balance and Generations Diversity.” วารสารนักบริหาร 39(1) : 3-11.
เรียม นมรักษ์. (กันยายน-ธันวาคม 2564). “สมดุลชีวิตและการทำงานในพยาบาลวิชาชีพ.” วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 11(3) : 176-186.
สิริลักษณ์ มงคล. เจ้าพนักงานสรรพากรชำนาญงาน. สัมภาษณ์. 28 พฤษภาคม 2565.
สุภา เข็มแข็งปรีชานนท์, ระวี สัจจโสภณ และศุภรักษ์ อธิคมสุวรรณ. (มกราคม-มิถุนายน 2563). “ปัจจัยที่มีผลต่อความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน ของบุคลากรสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย.” วารสารสังคมศาสตร์วิจัย. 11(1) : 169-190.
Herzberg, F. (1959). The Motivation to Work. 2nd ed. New York : John Wiley.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). “Determining sample size for research activities.” Educational and Psychological Measurement. 30(3) : 607-610.
Merrill, A. R. & Merrill, R. R. (1961). Life matter: Crating a dynamic balance of work, family, time and money. New York : McGraw-Hill.
Mondy, R. W. (1996). Human Resource Management. 6th ed. New Jersey : Prentice-Hall.
Steers, R. M. & Porter, L. W. (1991). Motivation and work behavior. 5th ed. New York : McGraw-Hill.
Subramaniam, A. G., Overton, B. J. & Maniam, C. B. (January 2015). “Flexible working arrangements, work life balance and women in Malaysia.” International Journal of Social Science and Humanity. 5(1) : 34-38.