ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อการเลือกใช้บริการสปาชุมชนน้ำพุร้อนโป่งบัวบาน ตำบลแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อการเลือกใช้บริการสปาชุมชนน้ำพุร้อนโป่งบัวบาน ตำบลแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างคือการเก็บรวบรวมข้อมูลนักท่องเที่ยว
407 ชุด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามนักท่องเที่ยวแบบปลายปิดและปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่คือ เจ้าของธุรกิจเพศหญิงและสถานะโสด อายุ 21-30 ปี การศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ปวส. มีรายได้น้อยกว่า
20,000 บาทต่อเดือน
ในความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการพบว่าปัจจัยด้านบุคลากรเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการสปาชุมชนอยู่ในระดับมากที่สุด พนักงานนวดที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญ ซึ่งสามารถพัฒนาการต้อนรับด้วยใบหน้ายิ้มแย้มและมีใจรักบริการ ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการที่มีคะแนนน้อยที่สุด คือด้านการส่งเสริมการตลาด ซึ่งควรปรับปรุงด้านแผ่นพับ ใบปลิว สำหรับลูกค้าประจำหรือลูกค้า
ในท้องถิ่น สำหรับความคิดเห็นต่อองค์ประกอบทางการท่องเที่ยวด้านสิ่งดึงดูดใจ เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการสปาชุมชน
อยู่ในระดับมากที่สุด โดยน้ำพุร้อนมีความสวยงาม ความสะอาด และควรปรับปรุงด้านกิจกรรมทางการท่องเที่ยวรวมถึงบริการเสริมมากที่สุด ข้อเสนอแนะคือควรมีกิจกรรมเชิงสุขภาพในแหล่งน้ำพุร้อนเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง รวมทั้งมีการบริการด้านความปลอดภัย
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความในวารสารเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราขสีมา
บทความที่ปรากฎในวารสารเป็นความคิดเห็นของผู้แต่งเพียงอย่างเดียวซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวารสาร
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). สถิตินักท่องเที่ยว. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=411. [1 พฤษภาคม 2564].
ธีระพงษ์ อาญาเมือง. (2563). การส่งเสริมสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพในการเป็นศูนยก์ลางการท่องเที่ยว
เชิงสุขภาพในภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคมคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป และคณะ. (2558). แนวทางการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยว
น้ำพุร้อนเค็มคลองท่อมจังหวัดกระบี่. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
ราชกิจจานุเบกษา. (2558). แผนปฏิบัติการพัฒนาการท่องเที่ยว ภายใต้เขตพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=7120. [15 พฤษภาคม 2564].
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ : ธรรมสาร.
สุดาดวง เรืองรุจิระ. (2543). หลักการตลาด. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : ยงพลเทรดดิ้ง.
เสรี วงษ์มณฑา. (2542). การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : ไดมอนด์อินบิสซิเนส เวิร์ด.
Buhalis, D. (2000). “Marketing the competitive destination of the future.” Tourism Management. 21(1) : 97-116.
Cochran, W. G. (1953). “Matching in analytical studies.” American Journal of Public Health and the Nations Health. 43(61), : 684-691
Kotler, P. (1997). Marketing Management: Analysis, Planning, Implementation and Control. 14th Global ed Upper Saddle River. NJ : Prentice-Hall.
Leruksa, C., Chaigasem, T. and Suephakdee, D. N. (2019). “An innovation model for international sport events city of Buriram Province, Thailand.” Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts). 12(2) : 672-686.
Parasuraman, A., Zeithaml, V. A. and Berry, L. L. (1985). “A conceptual model of service quality and its implications for future research.” The Journal of Marketing. 49(4) : 41-50.