วิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของโรงน้ำดื่มชุมชน หมู่ 1 ตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

เถกิงศักดิ์ ชัยชาญ
กรองทิพย์ ชัยชาญ
ชลิกา ศิลปอนันต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเป็นมาของโครงการน้ำดื่มของชุมชนหมู่ 1 ตำบล
มะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ตลอดจนต้นทุนและผลตอบแทนโครงการน้ำดื่มของชุมชนหมู่ 1 ตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา โดยสุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็นแบบเจาะจง จากการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ของกรรมการน้ำดื่ม 5 คน โดยผลการวิจัยพบว่า 1) จากการขยายตัวของชุมชนจากภาคการเกษตรสู่ภาคอุตสาหกรรม ความจำเป็นซื้อน้ำเพื่อบริโภคที่มีมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2559 จัดตั้งโดยโรงผลิตน้ำดื่ม
ของชุมชน ภายใต้ชื่อ “กล้าดี” ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ และสมาชิกในชุมชน  2) ผลตอบแทน โดยประมาณการว่ามียอดขายเฉลี่ยเดือนละ 100,000 บาท ระยะเวลาคืนทุนประมาณ 4  ปี 9 เดือน มูลค่าปัจจุบันสุทธิของโครงการได้ 467,463 บาท ได้อัตราผลตอบแทนที่แท้จริง ร้อยละ 17.41 และค่าดัชนีการทำกำไร ที่ได้ 1.62 เท่า จากในการวิเคราะห์ความไวของโครงการ ยอดขายมีความไวต่อค่าตัวชี้วัดต่าง ๆ ค่อนข้างสูง ดังนั้นในการดำเนินงานต้องดูแลอย่างใกล้ชิด จากการวิเคราะห์ปริมาณการผลิตจากยอดขายปัจจุบัน ใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยเพียงไม่เกิน
วันละ 1,000 ลิตร ขณะที่ความสามารถในการผลิตเต็มกำลังของโรงงานมีมากถึง 6,000 ลิตรต่อวัน จึงเสนอแนะว่าควรมีการเพิ่มการผลิตน้ำต่อวันยังสามารถทำได้อีกจำนวนมาก โดยไม่ต้องมีการลงทุนในเครื่องจักรอุปกรณ์หรือปรับปรุงโรงงานที่เป็นต้นทุนคงที่เพิ่ม ควรมีการเพิ่มจำนวนการผลิต พร้อมทั้งส่งเสริมตลาดเพื่อเพิ่มยอดขายที่จะทำให้มีกำไรมากขึ้น

Article Details

How to Cite
ชัยชาญ เ., ชัยชาญ ก., & ศิลปอนันต์ ช. (2023). วิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของโรงน้ำดื่มชุมชน หมู่ 1 ตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 2(1), 29–47. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jmsnrru/article/view/1196
บท
บทความวิจัย

References

กิ่งเทียน สนณ์ณกิตตน์กุล. (2550). การศึกษาความคิดเห็นของผู้บริโภคต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริโภคน้ำดื่มบรรจุภาชนะในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การจัดการทั่วไป) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ความสำคัญของน้ำต่อชีวิต. (2561). ความสำคัญของน้ำต่อชีวิต. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www. waternetplc.com/th/index.php?option=com_content&view=article&id=310&Itemid=345/ [5 ธันวาคม 2563].

จักร โนจากุล. (2561). การศึกษาอิทธิพลของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อน้ำดื่ม มทส.ฟาร์มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ประภาพร กิจดำรงธรรม. (2558). ความเป็นไปได้การเงินของโรงงานผลิตน้ำแร่บรรจุขวดอำเภอสันกำแพงจังหวัดเชียงใหม่. รายงานงานวิจัยคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ปัจจรัตน์ จำปาทอง. (2548). ศึกษาเรื่องความเป็นไปได้ของโครงการลงทุนผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดของการประปานครหลวง. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

พงศ์พันธุ์ แพรกทอง. (2558). การจัดตั้งและการบริหารจัดการกลุ่มน้ำดื่มชุมชนจัดการกลุ่มน้ำดื่ม

เพื่อการพึ่งตนเอง ชุมชนบ้านหนองชุมแสง ตำบลบ้างส้อง อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. รายงานค้นคว้าอิสระ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน

บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ยุทธศักดิ์ แกล้ววิทย์กิจ. (2558). การวิเคราะห์ความเป็นไปได้การลงทุนโครงการโรงผลิตน้ำประปาทรัพย์เพิ่มพูน บริษัทนวนครแอสเซสจำกัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี.

เยาวเรศ ทับพันธุ์. (2543). การประเมินโครงการตามแนวทางเศรษฐศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รัฐกาญจน์ เกิดมั่น. (2549). การวิเคราะห์ทางการเงินโครงการลงทุนผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดของการประปานครหลวง. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สุพาดา สิริกุตตา. ( 2548). การภาษีอากร. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ธรรมสาร.

เสรี ทรงชัยกุล. (2543). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตน้ำดื่ม. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

องค์การบริหารส่วนตำบลมะเกลือใหม่. (2564). รายงานประจำปีองค์การบริหารส่วนตำบลมะเกลือใหม่อำเภอ

สูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา นครราชสีมา.

อภิชาต พงศ์สุพัฒน์. (2559). การเงินธุรกิจ Business Finance. ภาควิชาการเงินคณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ .กรุงเทพฯ : อินโฟไมนิ่ง.