การศึกษาวิเคราะห์การสอนการแสดง กับการสื่อสารระหว่างบุคคล และการสื่อสารภายในตัวเอง

Main Article Content

เอกธิดา เสริมทอง

บทคัดย่อ

การเรียนการแสดงเป็นหนทางในการฝึกฝนทักษะความสามารถในด้านการแสดง ปัจจุบันการสอน
การแสดงได้รับความสนใจมากเนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งในการปรับบุคลิกภาพ การสอนการแสดงไม่ได้มีหลักสูตรตายตัวเนื่องจากผู้สอนส่วนใหญ่สอนจากประสบการณ์ และยังไม่มีหลักสูตรการสอนการเป็นครูสอนการแสดง
อีกด้วย บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์กระบวนการสอนการแสดงผ่านแนวคิดการสื่อสารระหว่างบุคคล และแนวคิดการสื่อสารภายในตัวเอง โดยแบ่งหัวข้อการศึกษาออกเป็น 3 ประเด็นคือ กระบวนการสอน
การแสดงการวิเคราะห์แนวคิดการสื่อสารระหว่างบุคคลระหว่างผู้สอนการแสดงและนักเรียนการแสดง และ
การวิเคราะห์แนวคิดการสื่อสารภายในตัวเองของนักเรียนการแสดง ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการสอนประกอบด้วย 1) กิจกรรมการเตรียมร่างกาย 2) กิจกรรมการสร้างความเชื่อ 3) กิจกรรมการรับส่ง 4) กิจกรรม
การแสดงภายใต้สถานการณ์ โดยบริบทการสอนมีความสอดคล้องกับแบบจำลองการสื่อสารของวิลเบอร์ แชรมม์
ในลักษณะของการสื่อสารระหว่างบุคคล รวมถึงมีลักษณะการสื่อสารตามแนวดิ่ง (Vertical Communication)
มีลักษณะของการควบคุม และสร้างอิทธิพลต่อนักเรียนตามบทบาทหน้าที่ มีการใช้วัจนภาษา (Verbal Communication) และอวัจนภาษา (Nonverbal Communication) ร่วมด้วยนักเรียนการแสดงมีการใช้การสื่อสารภายในตัวเองผ่านทฤษฎีการรับรู้ประกอบด้วยการให้ความสนใจและเลือกรับ (Attention and selection) การรวบรวมและจัดระบบ (Organization of stimuli) และการแปลความหมาย (Interpretation) ทำให้ได้คำตอบว่าเพราะเหตุใดการสวมบทบาทการแสดงของนักเรียนการแสดงต่างบุคคลกัน จึงให้อรรถรสในการรับชม
การแสดงนั้นแตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
เสริมทอง เ. (2023). การศึกษาวิเคราะห์การสอนการแสดง กับการสื่อสารระหว่างบุคคล และการสื่อสารภายในตัวเอง. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 2(1), 89–101. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jmsnrru/article/view/1227
บท
บทความวิชาการ

References

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2564). ส่อง 5 อาชีพในฝันที่เด็กและเยาวชนไทยอยากเป็นมากที่สุด. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.altv.tv/content/altv-news/6146fc88f3a5e8670b389e56. [5 ตุลาคม 2565].

ขนิษฐา จิตแสง. (กรกฎาคม-กันยายน 2564). “การสื่อสารระหว่างบุคคลในบริบทการศึกษา.” วารสารสารสนเทศศาสตร์. 39(3) : 89-107.

ชุติมา มณีวัฒนา. (2550). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการกํากับการแสดง 1. กรุงเทพมหานคร :

คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ธุรกิจเพื่อสังคม a-chieve. (2557). Acting Coach (ครูสอนการแสดง). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.

a-chieve.org/ information/detail/acting-coach. [3 ตุลาคม 2565].

ปรมะ สตะเวทิน. (2546). การสื่อสารมวลชนกระบวนการและทฤษฎี. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรวัน แพทยานนท. (กรกฎาคม-ธันวาคม 2560). “การศึกษาบทบาทและทัศนะต่อลักษณะอันพึงประสงค์ของ

ผู้ฝึกนักแสดงภาพยนตร์.” วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 5(2) : 168-175.

พิบูล ทีปะปาล. (2550). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร : อมรการพิมพ์.

ลัดดา ตั้งสุภาชัย. (2549). นักแสดงอาชีพ อาชีพนักแสดง. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://mgronline.com/ qol/detail/ 9490000077920. [3 ตุลาคม 2565].

สุรินทร์ เมทะนี. (มกราคม-มิถุนายน 2563). “แนวทางการพัฒนาแบบฝึกหัดการแสดงขั้นพื้นฐานสําหรับนักเรียนในศตวรรษที่ 21.” วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต. 15(1) : 54-67.

Finance-Rumour. (2563). อยากเป็นนักแสดง (Actor) เริ่มต้นอย่างไรดี?. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.finance-rumour.com/ lifestyle/work/being-actor/. [3 ตุลาคม 2565].

Devito, J. A. (2017). Human communication: The basic course.14th ed. Boston: Allyn & Bacon.

Gamble, T. K., & Gamble, M. (2005). Communication works. 8th ed. Boston, MA: McGraw-Hill.

Lecoq, J.. (2000). The moving body. Great Britain: Methuen Publishing.

Littlejohn, S. W., & Other. (2017). Theories of Human Communication. 11th ed. United States: Wadworth Cingage Learning.

Rogers, E. M., & Shoemaker, F. F.. (1971). Communication of Innovations : A Cross Cultural Approach. New York : The Free Press.