ห่วงโซ่อุปทานปลานิลในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
โครงการวิจัยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน โดยเครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก
และการสนทนากลุ่ม ผลการศึกษาห่วงโซ่อุปทานในระดับต้นน้ำ พบว่า การจัดหาพันธุ์มาจากผู้ประกอบการ
พันธุ์ปลาร้อยละ 81.67 และจากเกษตรกรเพาะลูกพันธุ์ปลา ร้อยละ 18.33 ในระดับกลางน้ำ พบว่า เกษตรกร
ผู้เลี้ยงปลาจัดส่งผลผลิตไปยังผู้รวบรวมร้อยละ 70 และจะจำหน่ายผลผลิตให้กับกลุ่มเกษตรกรพันธะสัญญา
ร้อยละ 30 และสำหรับในระดับปลายน้ำ พบว่า กลุ่มเกษตรกรพันธะสัญญาจะส่งต่อไปยังผู้ค้าส่งร้อยละ 13
ผู้ค้าปลีกร้อยละ 12 และผู้แปรรูปร้อยละ 5 นอกจากนี้ยังพบว่าส่วนของผู้รวบรวมเมื่อรับผลผลิตมาจะจัดส่งไปยังผู้ค้าส่งร้อยละ 29.17 ผู้ค้าปลีกร้อยละ 22.17 และผู้แปรรูปร้อยละ 18.67 สำหรับปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการห่วงโซ่ธุรกิจปลานิล พบว่า ส่วนใหญ่เกษตรกรพบปัญหาเรื่องการขนส่ง เช่น ระยะเวลาการขนส่งที่ไม่ทันท่วงที ต้นทุนการขนส่งที่สูงเป็นต้น อีกทั้งเกษตรยังมีปัญหาด้านตลาด เช่น ราคาที่ไม่คงที่ ขาดความสามารถในการแข่งขัน และไม่สามารถหาตลาดเพื่อรองรับผลผลิตที่เพียงพอ สำหรับปัญหาด้านภาครัฐ เช่น ขาดการการสนับสนุนจากภาครัฐ นอกจากนี้แนวทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการห่วงโซ่ธุรกิจปลานิล พบว่า ประเด็นที่เกษตรอยากให้แก้ไขมากที่สุด คือ การสร้างความร่วมมือเป็นเครือข่ายหรือกลุ่มของเกษตรกร
การลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิตโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนการแปรรูปปลานิลเพื่อสร้างมูลค่าให้ผลผลิตอย่างมีคุณภาพ โดยมีการเสนอให้การทำตลาดเชิงรุก และเพิ่มการประชาสัมพันธ์เพื่อหาตลาดใหม่
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความในวารสารเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราขสีมา
บทความที่ปรากฎในวารสารเป็นความคิดเห็นของผู้แต่งเพียงอย่างเดียวซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวารสาร
References
กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2557. การเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา :
http:// agrimedia.agritech.doae.go.th/book/book-others/OU018.pdf. [20 พฤษภาคม 2565]
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2558). สถิติสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์หาวิทยาลัย.
เกวลิน หนูฤทธิ์. (2564). สถานการณ์การผลิต ตลาดและการค้าปลานิลโลก ปี 2563. วารสารการประมงอิเล็กทรอนิกส์. 4 (1) : 188-190.
สุจิตตา หงษ์ทอง และคณะ. (2562). โซ่อุปทานปลานิลของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลและต้นทุนต่อหน่วย กรณีศึกษา อำเภอพาน จังหวัด เชียงราย. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร. 16(1) : 180-199.
สานิตย์ ศรีชูเกียรติ และคณะ. (มกราคม-มิถุนายน 2564). การศึกษาการดำเนินงานโซ่อุปทานสินค้าอาหารทะเลปลอดภัย : กรณีศึกษาวิสาหกิจเพื่อสังคมร้านคนจับปลาสตูล. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 13(1) : 15-34.
สำนักงานประมงจังหวัดสุราษฎร์ธานี. 2559. ครัวเรือนที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด จำแนกตามประเภทการเลี้ยงและผลผลิตการเลี้ยงสัตวน้ำจืด เป็นรายอำเภอ พ.ศ. 2559. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www4. fisheries.go.th/local/index.php/main/view_blog/1261/148933. [20 พฤษภาคม 2565]
พิชา วิสิทธิ์พานิช และคณะ. (กรกฎาคม-ธันวาคม 2562). ห่วงโซ่คุณค่าในการผลิตและการตลาดผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปลาเชิงพาณิชย์ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน.
(2) : 89-100.
สำนักโลจิสติกส์ (2558). SC การไหลเวียนในระบบโซ่อุปทาน (Supply Chain Flow). กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http:// www.logistics.go.th. [20 พฤษภาคม 2565]
อติญา วงศ์วิทย์วิโชติ, กุลภา กุลดิลก และเดชรัต สุขกำเนิด. (มีนาคม-เมษายน 2564). การประเมินความคุ้มค่า
ทางเศรษฐกิจของโครงการระบบส่งเสริมการเลี้ยงปลานิลแบบแปลงใหญ่ในจังหวัดชลบุรี. วารสาร
แก่นเกษตร. 49(2) : 430-441
เอกชัย เกิดสวัสดิ์. 2562. สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจของสหกรณ์ประมงกับทิศทางแนวโน้มปี 2562. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.cad.go.th/ewt_news.php?nid=40060. [20 พฤษภาคม 2565]
Anane-Taabeah, G., Quagrainie, K., & Amisah, S. (August 2016). Assessment of farmed tilapia value chain in Ghana. Aquaculture international. 24(4) : 903-919. [20 พฤษภาคม 2565]
Islam, I., Nielsen, M., Ehlers, B. S., Zaman, B., & Theilade, I. (2020). Are trade credits a gain or a drain? Power in the sale of feed to pangasius and tilapia farmers in Bangladesh. Aquaculture Economics & Management. 24(3) : 338-354. [20 พฤษภาคม 2565]
Jamandre, W. E., Hatch, U., Bolivar, R. B., & Borski, R. (2011). Improving the supply chain of tilapia industry in the Philippines. In Better science, better fish, better life. 9 th international symposium on Tilapia in aquaculture, Shanghai. (pp. 22-24).
Vivanco-Aranda, M., Mojica, F. J., & Martínez-Cordero, F. J. (March 2011). Foresight analysis of tilapia supply chains (Sistema Producto) in four states in Mexico: Scenarios and strategies for 2018. Technological Forecasting and Social Change. 78(3) : 481-497.
Zhang, X., Feng, J., Xu, M., & Hu, J. (May 2011). Modeling traceability information and functionality requirement in export‐oriented tilapia chain. Journal of the Science of Food and Agriculture. 91(7) : 1316-1325.