การพัฒนาเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านคลองม่วง ตำบลคลองม่วง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สู่การแข่งขันเชิงพาณิชย์

Main Article Content

สุชีรา ธนาวุฒิ

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพและความพร้อมของชุมชนในการยกระดับพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน พัฒนาศักยภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่การแข่งขันในเชิงพาณิชย์ 2) สร้างแนวทางการพัฒนาศักยภาพผลิตภัณฑ์สู่ความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืน มีวิธีการวิจัยดังนี้ สำรวจความต้องการและวิเคราะห์ศักยภาพของผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยการประชุมกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 14 คน เพื่อค้นหาศักยภาพของผลิตภัณฑ์ชุมชน
ในการพัฒนาเข้าสู่การแข่งขันเชิงพาณิชย์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนจากประชาชนในชุมชนที่เคยซื้อหรือบริโภคกระยาสารท จำนวน 30 คน และนำแบบสอบถามไปใช้ในการเก็บข้อมูลจากผู้บริโภคที่ร้านค้า หรือร้านขายของฝากในพื้นที่อำเภอปากช่องอีกจำนวน 150 คน จากนั้นจึงประเมินผลการนำผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ได้รับการพัฒนาเข้าสู่การแข่งขันในเชิงพาณิชย์ ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการด้านการพัฒนาศักยภาพผลิตภัณฑ์เพื่อให้สามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการรายอื่น หรือการเข้าสู่เชิงพาณิชย์ได้ อย่างเหมาะสม
เป็นความต้องการที่กลุ่มตัวอย่างต้องการมากที่สุด (= 3.65 , S.D.=0.43) แนวทางด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ กระบวนการ กรรมวิธีการผลิต และรูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ผู้แทนชุมชนเลือกกระยาสารท เป็นวัตถุดิบหลักใน
การผลิต และจะพัฒนากระยาสารท ให้มีรูปแบบที่หลากหลาย  ขยายไปสู่ตลาดผู้บริโภคให้ได้ทุกกลุ่ม ออกแบบรูปทรง บรรจุภัณฑ์ให้มีความทันสมัย พกพาง่าย  สะดวกต่อการรับประทาน โดยการออกแบบผลิตภัณฑ์แบ่งเป็น
2 รูปแบบ ได้แก่  รูปแบบที่ 1 รูปแบบ Snack bar และรูปแบบที่ 2 รูปแบบ Energy ball

Article Details

How to Cite
ธนาวุฒิ ส. (2023). การพัฒนาเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านคลองม่วง ตำบลคลองม่วง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สู่การแข่งขันเชิงพาณิชย์. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 2(1), 63–77. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jmsnrru/article/view/1713
บท
บทความวิจัย

References

ขจรศักดิ์ วงศ์วิราช และคณะ. (2554). ศักยภาพและความพร้อมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของผู้ประอบการวิสาหกิจชุมชน กลุ่มฮ่วมใจ๋ ตำบลแม่ทะ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. ในเอกสารการประชุมสัมมนาเชิงวิชาการรูปแบบพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

จิตพนธ์ ชุมเกตุ. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ทางการจัดการชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชนไทยมุสลิม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. รายงานการวิจัย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จิตรา ปั้นรูป , เอกชัย ดวงใจ และณัฐวุฒิ ปั้นรูป. (เมษายน – มิถุนายน 2565). “แนวทางการพัฒนาด้านการตลาด

ในการยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือของวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดน่าน.” วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 42(2) : 145-160.

ณัฐนัย ตรีเนตรสัมพันธ์ และสุทัศน์ รัตนเกื้อกังวาน. (กรกฎาคม - กันยายน 2559). “การพัฒนาโมเดลธุรกิจด้วยวิธีการลีนสตาร์ทอัพ.” วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ. 39(3) : 337-351.

ณรงค์ศักดิ์ วดีศิริศักดิ์. (2555). นวัตกรรมของการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อการตลาดเชิงสุนทรีย์ : กรณีศึกษาบรรจุภัณฑ์น้ำผลไม้. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมวิทยาการจัดการสื่อสาร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

พรรณิภา ซาวคำ และคณะ. (มกราคม – เมษายน 2561). “การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อเข้าสู่ตลาดธุรกิจโรงแรม จังหวัดเชียงราย.” วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 12(1) : 165 – 182.

พลชัย เพชรปลอด. (2561). 5 วิธีเพิ่มมูลค่าสินค้าด้วยเรื่องเล่า ช่วยกระตุ้นต่อมอยากซื้อของลูกค้า. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.sentangsedtee.com/career-channel/article_96344. [20 มิถุนายน 2565]

พรพิมล ศักดา. (2562). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทของใช้จากวัสดุธรรมชาติของกลุ่มอาชีพบ้านสุขเกษม ตำบลบางเลน อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ นครปฐม.

พิมพ์พิสุทธิ์ อ้วนล้ำ, ชมพูนุท โมราชาติ และกัญญา จึงวิมุติพันธ์. (2560). “การพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานกลุ่มหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร.” วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.

(2) : 207 – 238.

วรรณพรรธน์ ริมผดี. (2554). หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

วราพร โภชน์เกาะ. (2558). การพัฒนาศักยภาพการตลาดของกลุ่มชุมชนบ้านโพนสูง ตำบลหมื่นไวย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา กรณีศึกษาฟาร์มเห็ดและสวนมะนาว. ในการประชุมหาดใหญ่วิชาการ ระดับชาติ

ครั้งที่ 6. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

วารุณี สุนทรเจริญนนท์. (2556). สร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการสร้างสรรค์ไม่ยากอย่างที่คิด. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://hugepdf.com/download/5b33b6aa20fde_pdf. [20 มิถุนายน 2565]

วาสนา เจริญวิเชียรฉาย. (2552). โครงการออกแบบผลิตภัณฑ์ของตกแต่งจากเศษวัสดุเหลือใช้. คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. กรุงเทพฯ.

ศศิเพ็ญ พวงสายใจ และคณะ. (มกราคม – มิถุนายน 2554). “การประเมินผลเปรียบเทียบในมิติต่าง ๆ ของประชาชนในการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้.” วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

(1) : 14-43.

สุภางค์ จันทวานิช. (2552). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุทธิศักดิ์ กลิ่นแก้วณรงค์. (2558). “การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อผลักดันผลิตภัณฑ์ OTOP.” วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ. 63(199) : 19-21

อัจจิมา ศุภจริยวัตร. (มกราคม – มิถุนายน 2565). “แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการส่งออก กรณีศึกษา กลุ่มผ้าไหมทอมือบ้านสุขสำราญ จังหวัดสระแก้ว.” วารสารศิลปะศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ.

(1) : 429 – 444.

Argandoña., A. (2011). “The Management Case for Corporate Social Responsibility.” In Martí, J. M. R., Towards a new theory of the firm: Humanizing the firm and the management profession. 241-261. Fundación BBVA.

Freeman, R. E. (1984). Strategic management: A stakeholder approach. England : Cambridge University Press.

Osterwalder, A., et al. (2014 Value proposition design: How to create products and services customers want. New Jersey : John Wiley & Sons