การประทุษร้ายบนโลกไซเบอร์

Main Article Content

ธวัชชัย ดวงไทย
สาวิตรี พรหมสิทธิ์

บทคัดย่อ

บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อนำเสนอองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการประทุษร้ายบนโลกไซเบอร์ซึ่งส่งผลกระทบต่อสังคมไทยเป็นอย่างมากโดยเฉพาะเด็กและเยาวชน ซึ่งเริ่มต้นจากการกลั่นแกล้งทางวาจาไปสู่ทางร่างกายและเมื่อสื่อสังคมเกิดขึ้นจึงทำให้เกิดการประทุษร้ายบนโลกไซเบอร์ซึ่งมีความร้ายแรงมาก เพราะสื่อดังกล่าวสามารถส่งต่อข้อมูลได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็วซึ่งส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้ที่ถูกกลั่นแกล้งจนอาจนำไปสู่ภาวะ
โรคซึมเศร้าและฆ่าตัวตาย แต่สื่อสังคมสามารถสร้างขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่เพื่อเปลี่ยนแปลงค่านิยมต่างๆ ได้ โดยเฉพาะปัญหาการประทุษร้ายบนโลกไซเบอร์ซึ่งผู้ถูกประทุษร้ายจะใช้สื่อสังคมในการทำกิจกรรมรณรงค์เพื่อกระตุ้นให้ผู้คนในสังคมเกิดความตระหนักต่อปัญหา ซึ่งควรมีการวางแผนการรณรงค์และมีการใช้ผู้นำทางความคิดในการสื่อสาร ทางด้านแนวทางการแก้ไขปัญหาการประทุษร้ายบนโลกไซเบอร์ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนควรประสานความร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหา สถาบันการศึกษาควรมีรายวิชาที่ให้ความรู้และสอนให้ผู้เรียนมีคุณธรรมเพื่อลดปัญหาการกลั่นแกล้งผู้อื่น ทางด้านกฎหมายควรมีกระบวนการในการตรวจสอบและจับกุมผู้ที่กระทำความผิด ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดควรสังเกตพฤติกรรม ให้คำปรึกษา และให้กำลังใจ ด้านผู้ถูกประทุษร้ายต้องรู้จักคิดวิเคราะห์ต่อปัญหาที่เกิดขึ้นและมีความเข้มแข็งในการดำเนินชีวิต

Article Details

How to Cite
ดวงไทย ธ., & พรหมสิทธิ์ ส. (2022). การประทุษร้ายบนโลกไซเบอร์. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 1(1), 1–15. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jmsnrru/article/view/173
บท
บทความวิชาการ

References

Adaybulletin. (2561a). น้องแพรพาเพลินเอาชนะทุกคำกล่าวหาและ cyberbully น่ารังเกียจด้วยพลังของผู้เป็นแม่และครอบครัวที่รัก. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://adaybulletin.com/talk-conversation-nongparepaplearn-2/18131. [1 มีนาคม 2562].

Adaybulletin. (2561b). น้องแพรพาเพลินหัวใจและความรู้สึกของเหยื่อความรุนแรงจากผู้ใหญ่ที่ขาดความรู้เท่าทันสื่อยุคดิจิตอล. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://adaybulletin.com/talk-conversation-nongparepaplearn/18115. [1 มีนาคม 2562].

Isranews. (2564). ติดอันดับต้นของเอเชีย! เด็กไทยกว่า 80% เคยเจอ‘การบูลลี่’ เกือบครึ่งมองเป็นเรื่องปกติ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.isranews.org/article/isranews-article/105059-isranews-bullying.html. [1 เมษายน 2565].

Komchadluek. (2561). อดีตไอดอล GNZ48 รมควันปลิดชีพตัวเองหลังถูก Cyberbullying. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.komchadluek.net/clip-vdo/348630. [1 มีนาคม 2562].

Naewna. (2564). นิโคล เทริโอ เปิดประสบการณ์ข้ามผ่าน Cyberbullying เป็นซิงเกิลมัม. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.naewna.com/entertain/594702. [1 เมษายน 2565].

NationTV. (2561). จิ๊บ BNK48 ตอกกลับนักวิจารณ์หยาบ ขอโทษนะคะที่ไม่ได้หน้าตาดี. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.nationtv.tv/main/content/378633940/?qj=. [1 มีนาคม 2562].

Positioningmag. (2558). กระแสฮิต #dontjudgechallenge ถูกบิดเบือน สะท้อนความฉาบฉวยโลกออนไลน์. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://positioningmag.com/60962. [1 เมษายน 2565].

Sdperspectives. (2562). ใน “ห้องเรียน” กลุ่ม LGBT ตกเป็นเหยื่อ Cyberbullying มากสุด. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.sdperspectives.com/next-gen/dtac-safe-internet-cyberbullying/.

เมษายน 2565].

Springnews. (2564). เขื่อน เคโอติก เผยโดนบูลลี่หนักตั้งแต่เป็นนักร้อง เป็นบาดแผลลึกในใจ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.springnews.co.th/news/811039. [1 เมษายน 2565].

Springnews. (2565). แอนชิลี ส่งสัญญาณบอกความเจ็บปวด หลังโดนไซเบอร์บูลลี่อย่างหนักหน่วง. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.springnews.co.th/news/820530. [5 เมษายน 2565].

Springnews. 2564. เผยสถิติ Facebook และ Instagram มีโพสต์กลั่นแกล้ง-ล่วงละเมิดเท่าไหร่?. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.springnews.co.th/news/818013. [3 เมษายน 2565].

The Standard team. (2564). มาร่วมปลุกความกล้า เปล่งเสียง และปล่อยความคิดเห็น เพื่อ #ให้ไซเบอร์

บูลลี่จบที่รุ่นเรา. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://thestandard.co/safeinternetlab/. [3 เมษายน 2565].

Thematter. (2559). Cyber Bully เมื่ออินเทอร์เน็ตเปลี่ยนการกลั่นแกล้งให้เจ็บกว่า. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://thematter.co/byte/cyber-bully-and-public-humiliation/8225. [1 มีนาคม 2562].

เดลินิวส์. (2564). ชาวเน็ตแห่ติดแฮชแท็กส่งกำลังใจ 'แอนชิลี' พาปลดล็อกก้าวข้าม 'Real Size Beauty'. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://today.line.me/th/v2/article/yzJDrGz. [12 มิถุนายน 2565].

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย. (2560). Social Movement คืออะไร? ทำไมถึงสำคัญ?. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.amnesty.or.th/latest/blog/47/. [1 เมษายน 2565]

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2561). อำนาจไร้พรหมแดน : ภาษา วาทกรรม ชีวิตประจำวันและโลกที่เปลี่ยนแปลง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิภาษา.

กฤษฎา แสงเจริญทรัพย์. (2558). โลกใหม่ใครกำกับกรณีศึกษาเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : มูลนิธิเพื่ออินเทอร์เน็ตและวัฒนธรรมพลเมือง.

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์. (2563). ผู้ใหญ่เอ็นดูแต่ทำร้ายหนูไม่รู้ตัว. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.thaimediafund.or.th/wp-content/uploads/2021/04/จดหมายข่าวคณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์-ฉบ_c.pdf. [5 เมษายน 2565].

ชาญวิทย์ พรนภดล. (2561). ป้องภัยใกล้ตัวลูกจาก Cyber bullying. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=27717. [1 มีนาคม 2562].

ณัฐกานต์ จันทรศิริพุทธ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างความถี่ของการรังแกในพื้นที่ไซเบอร์กับการเผชิญปัญหาของเหยื่อ : อิทธิพลส่งผ่านของการประเมินทางปัญญาโดยมีความเป็นนิรนามของผู้กระทําเป็นตัวแปรกํากับ. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทรงเกียรติ จรัสสันติจิต. (2559). Cyberbullying: ถ้ารักฉัน อย่ารังแกฉัน. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://so06.tci-thaijo.org/index.php/cjwu/article/view/109110/85940. [1 มีนาคม 2562].

นภาวรรณ อาชาเพ็ชร. (มกราคม 2560). “การรังแกผ่านโลกไซเบอร์ ความรุนแรงที่ต้องแก้ไข และนวัตกรรมการจัดการปัญหา.” วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 5(1) : 100-106.

พรชนก ดาวประดับ. (2560). รูปแบบและลักษณะการมีส่วนร่วมในการกลั่นแกล้งบนพื้นที่สาธารณะ. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ราชบัณฑิตสภา. (2563). พจนานุกรมศัพท์นิเทศศาสตร์ฉบับราชบัณฑิตสภา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ :

กองธรรมศาสตร์และการเมือง.

ฤทัยชนนี สิทธิชัย. (2562). พฤติกรรมการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่น. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลักษมี คงลาภ และคณะ. (2561). การจัดทํา Fact Sheet ความฉลาดทางดิจิตอล (Digital Intelligence: DQ) และการศึกษาการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่น. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://

cclickthailand.com/contents/research/งานวิจัยDQ_CBสสย.-final.pdf?fbclid=

IwAR0I7N0xZ0o_vWh4uF_F4g88UN0aWvZ7vKTR30qmCaE0xIKKDZoak0osN8Y.

มีนาคม 2562].

วลัยลักษณ์ อมรสิริพงศ์ และคณะ. (กรกฎาคม 2564). “แนวทางการแก้ไขปัญหาการระรานทางไซเบอร์.”

การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. 13(1) : 1676-1684.

ศรีดา ตันทะอธิพานิช. (2563). การสำรวจสถานการณ์เด็กไทยกับภัยออนไลน์ 2563. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://inetfoundation.or.th/Welcome/media_download?id=158. [1 เมษายน 2565].

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2565). คำศัพท์ทางมานุษยวิทยา. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.

sac.or.th/databases/anthropology-concepts/glossary/137. [5 เมษายน 2565].

สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน. (2562). การกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://

www.thaihealth.or.th/Content/48139-การกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์.html. [1 เมษายน 2565].

สุธีรา ลิ่มสกุล. (2562). ทัศนะของผู้ใช้งานทวิตเตอร์ในเขตกรุงเทพมหานครที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการประทุษร้ายบนโลกไซเบอร์. การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารกลยุทธ์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ