การศึกษาความต้องการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของนักท่องเที่ยวชาวไทย เจเนอเรชันวายสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หลังโรคระบาดโควิด-19
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาความต้องการและแนวทางการพัฒนากิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของนักท่องเที่ยวชาวไทย
เจเนอเรชันวายสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หลังโรคระบาดโควิด-19 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลด้านความต้องการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ของนักท่องเที่ยว เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม
กับกลุ่มนักท่องเที่ยวเจเนอเรชันวายจำนวน 400 คน โดยใช้วิธีสุ่มแบบบังเอิญ พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็น
เพศหญิง อายุ 21-30 ปี สถานภาพโสด การศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี อาชีพนักเรียน/นักศึกษา มีรายได้ระหว่าง 5,001-10,000 บาท ส่วนความต้องการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ พบว่า นักท่องเที่ยวมีความต้องการรวมอยู่ในระดับมาก โดยนักท่องเที่ยวมีระดับความต้องการกิจกรรมการท่องเที่ยวในด้านการชิมอาหารพื้นบ้าน (Testing) มากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการเยี่ยมชมวิถีชุมชน (Seeing) ด้านกิจกรรมการเรียนรู้งานฝีมือท้องถิ่น (Learning) และด้านการซื้อของที่ร้านขายของที่ระลึก (Shop) ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์สมการถดถอย พบว่า แบบจำลองมีความแม่นยำในการทำนายได้ร้อยละ 69.3 อย่างไรก็ตามแนวทางการพัฒนา ควรมีสถานที่พักที่สะดวกต่อการพัก รวมถึงการจัดให้มีอาหารที่ถูกต้องตามสุขลักษณะ มีการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยว รวมถึงป้ายบอก
แหล่งท่องเที่ยวและการใช้เทคโนโลยีเพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความในวารสารเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราขสีมา
บทความที่ปรากฎในวารสารเป็นความคิดเห็นของผู้แต่งเพียงอย่างเดียวซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวารสาร
References
กรมการท่องเที่ยว. (2562). คู่มือการประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย. (2561). ระบบสถิติทางทะเบียน ประจำเดือนธันวาคม 2661. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age_disp.php. [25 ธันวาคม 2561].
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. กรุงเทพฯ :
บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
นนทวรรณ ส่งเสริม. (2561). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. คณะมนุษย์ศาสตร์และการจัดการการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2557). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน : การวางแผนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน.
พิมพ์ครั้งที่ 2. [ฉบับปรับปรุง]. กรุงเทพฯ : ธรรมสาร.
ภัทรพงศ์ อินทรกำเนิด และคณะ. (2553). รายงานการวิจัยเรื่อง ระบบนวัตกรรมรายสาขาเพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจฐานความรู้และเชิงสร้างสรรค์. กรณีศึกษาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
วนิดา เลิศพิพัฒนานนท์. (2561). “รูปแบบพฤติกรรมและแรงจูงใจในการท่องเที่ยวของคนไทย Gen Y.”
วารสารดุสิตธานี. 12(Special) : 134-149.
สมเดช รุ่งศรีสวัสดิ์. (2558). รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวบนฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์และการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างยั่งยืนกรณีศึกษา ต.คลองโคน อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม. สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สาธิญา รุ่งพิพัฒนพงศ์. (2557). องค์ประกอบของความยั่งยืนของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ : กรณีศึกษาชุมชนอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักนโยบายและแผน สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้. (2559). New gen is now: คนรุ่นใหม่คือพลัง
แห่งอนาคต. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักนโยบายและแผน สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้.
สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ และคณะ. (2554). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการต้นแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism Model). องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน).
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. (2561). คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : บริษัท บุ๊คพลัส พับลิชชิ่ง จำกัด.
Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. 3rd ed. New York : John Wiley and Sons Inc.
Likert, R. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale”. In Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement. (pp. 90-95). New York: Wiley & Son.
Richards, G. and Wilson, J. (2006) “Developing creativity in tourist experiences : a solution to the serial reproduction of culture?” Tourism Management. 27 (6) : 1408-1413. อ้างถึงใน สาธิญา รุ่งพิพัฒนพงศ์. (2558). “องค์ประกอบของความยั่งยืนสําหรับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ : กรณีศึกษา ชุมชนอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม.” วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 11(2) :
-140.
Tourism Authority of Thailand. (2016). “Keep Calm and Understand Gen Y”. TAT Review. : 32 – 37.
World Tourism Organization. (2017). UNWTO Annual Report 2016. UNWTO. Madrid. DOI [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://doi.org/10.18111/9789284418725. [20 ธันวาคม 2561].